ห้ามพลาด!! รวมสถานที่จัดงาน "มหาสงกรานต์ 2558" ทั่วประเทศ

ห้ามพลาด!! รวมสถานที่จัดงาน "มหาสงกรานต์ 2558" ทั่วประเทศ

ห้ามพลาด!! รวมสถานที่จัดงาน "มหาสงกรานต์ 2558"  ทั่วประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข้อมูลการจัดประเพณีสงกรานต์  “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” ทั่วประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๘

๑. สงกรานต์กรุงเทพ

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๒ - ๑๕  เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน ณ บริเวณต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

๑.๑  ประเพณีสงกรานต์วิสุทธิกษัตริย์ 

เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘   ซึ่งถือเป็น “สงกรานต์แห่งตำนาน งามตระการคู่พระนคร” ที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในชุมชน และเป็นงานสงกรานต์ในตำนานที่เป็นต้นแบบของการประกวดเทพีสงกรานต์  ซึ่งมีการจัดงานมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า ๗๐ ปี 

สถานที่จัดงาน   บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ (สี่แยกบางขุนพรหม) ใต้สะพานพระราม ๘ 

ข้อมูลเพิ่มเติม  

ประธานประชาคมชาววิสุทธิกษัตริย์ โทร.  ๐๘ ๖๓๔๕ ๕๘๓๖

สำนักงานเขตพระนคร โทร.  ๐ ๒๖๒๘ ๙๐๖๘

๑.๒ ประเพณีสงกรานต์บางลำพู      

เป็นการอนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์ให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป ภายในงานมีพิธีอัญเชิญพระพุทธบางลำพูประชานาถจากวัดบวรนิเวศวรวิหารมาประดิษฐาน ณ สวนสันติชัยปราการ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล เจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ พิธีรดน้ำอวยพรผู้สูงอายุ และการแสดงนาฏศิลป์ 

สถานที่จัดงาน ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพฯ 

ข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานเขตพระนคร โทร.  ๐ ๒๖๒๘ ๙๐๖๘

๑.๓ งานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร

๑๒ เมษายน ๒๕๕๘ ช่วงเช้า พิธีอันเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ และพิธีเปิดงานเวลา ๑๙.๐๐ น.  ชมกิจกรรมการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมบนเวที โขนกรมศิลปากร หุ่นละครเล็ก ลานวัฒนธรรม นิมรรศการการประเพณีสงกรานต์ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของดี ๕๐ เขต จนถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๕๐๐ น. ทั้งนี้ วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๘ เชิญร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์ ๑๘๙ รูป  พิธีรดน้ำขอพรผู้สูงอายุ และพิธีปล่อยขบวนรถกิจกรรมไหว้พระ ๙ วัด

สถานที่จัดงาน  สนามหลวง

ข้อมูลเพิ่มเติม  กองการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร  โทร. ๐ ๒๒๒๕ ๗๖๑๒ - ๔

๒. สงกรานต์พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๗ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน บริเวณที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง หรือเดิมเรียกว่า “สงกรานต์ปากลัด” เป็นรูปแบบสงกรานต์ที่คงรักษาวัฒนธรรมของชาวรามัญ – ไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณเอกลักษณ์ของสงกรานต์พระประแดงโดยเฉพาะในวันท้ายของสงกรานต์ (ถัดจากวันที่ ๑๓ เมษายน อีกหนึ่งอาทิตย์) ทุกหมู่บ้านจะรวมใจกันจัดขบวนแห่ที่มีความยิ่งใหญ่และความสวยงามตระการตาของขบวนแห่นางสงกรานต์ ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนสาวรามัญ–หนุ่มลอยชาย ที่ยังคงรักษาประเพณีเก่าๆ ไว้อย่างมั่นคงตลอดถึงเอกลักษณ์การแต่งกายด้วยชุดไทยรามัญ และชุดลอยชาย  เพื่อแห่นก – แห่ปลาไปทำพิธีปล่อยนก – ปล่อยปลา ณ พระอารามหลวงวัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้อายุยืน ยาว  เมื่อเสร็จสิ้นพิธีแล้วระหว่างเดินทางกลับบ้านก็จะมีหนุ่มในหมู่บ้านต่าง ๆ ออกมาเล่นสาดน้ำกับสาว ๆ ด้วยกิริยาท่าทีที่สุภาพรดแต่พองาม ซึ่งท่านผู้สนใจควรจะได้ไปชมด้วยตนเอง ซึ่งชาวพระประแดงได้รักษาประเพณีไว้โดยเคร่งครัดตลอดมา จนถึงทุกวันนี้

กิจกรรมหลัก

- ชมการประกวดนางสงกรานต์พระประแดงและหนุ่มลอยชาย

- ขบวนแห่นก- แห่ปลา

- ชมขบวนแห่นางสงกรานต์และขบวนรถบุปผชาติ

- การละเล่นพื้นบ้านตามวัฒนธรรมชาวรามัญแต่ดั้งเดิม (การละเล่นสะบ้า) 

- ประเพณีการกวนกาละแม  (กวันฮะกอ) 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  เทศบาลเมืองพระประแดง โทร.  ๐ ๒๔๖๓ ๔๘๔๑  

ททท. สำนักงาน. กรุงเทพมหานคร โทร.  ๐ ๒๒๗๖ ๒๗๒๐ – ๒๑

๓. เทศกาลวันสงกรานต์ ชุมชนมอญสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๓ - ๑๘  เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน ณ วัดวังก์วิเวการาม และลานหน้าเจดีย์พุทธคยา อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี   

"สะพานแห่งศรัทธา  พระเดินบนหลังคน  สงกรานต์สังขละบุรี" สัมผัสกับประเพณีสงกรานต์อันงดงาม    

ของชาวมอญ ในช่วงเช้ามีการทำบุญใส่บาตร โดยจะเห็นภาพชาวมอญที่เดินทูนถาดอาหารไว้บนศีรษะเพื่อนำไปถวายพระ ช่วงเย็นชมการขนน้ำไปอาบน้ำให้พ่อแม่ และผู้สูงอายุที่ไปถือศีลอยู่ประจำที่วัด และการขนทรายใส่ถุง หรือภาชนะเทินไปบนศีรษะ เพื่อนำไปก่อพระเจดีย์ทรายที่ลานหน้าเจดีย์พุทธคยา โดยในวันสรงน้ำพระ (ปี ๒๕๕๘ ตรงกับวันที่ ๑๗ เม.ย.) ชมการสรงน้ำพระตามแบบประเพณีของชาวมอญ ซึ่งเป็นการสรงน้ำผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ที่นำมามัดรวมต่อ ๆ กัน  เมื่อถึงเวลาสรงน้ำพระในพิธี ชาวบ้านผู้ชายจะพร้อมใจกันนอนเรียงต่อ ๆ กันเป็นสะพานมนุษย์ เพื่อให้พระเถระเดินย่ำไปบนหลังจนถึงบริเวณที่นั่งสรงน้ำ และหลังจากสรงน้ำเสร็จ ชาวบ้านผู้ชายก็จะช่วยกันอุ้มพระไปส่งที่บันได สำหรับในช่วงเช้าวันที่ ๑๘ เม.ย. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ยังมีพิธีแห่กองผ้าป่า และพิธียกฉัตรเจดีย์ทราย ความยาวนับกิโลเมตร ที่น่าตื่นตาตื่นใจให้ชมอีกด้วย            

กิจกรรมหลัก  

-ศึกษาความเชื่อเรื่องพิธีหม้อมงคล, การเข้าวัดถือศีล, อาบน้ำพ่อแม่ผู้สูงอายุยามเย็นที่วัด และการขนทรายไปร่วมก่อเจดีย์ของชาวมอญ 

-พิธีสรงน้ำพระ ผ่านรางกระบอกไม้ไผ่ ชมขบวนพระสงฆ์เดินเหยียบไปบนหลังคน 

-พิธีแห่กองผ้าป่า ยกฉัตรเจดีย์ทราย  และทำบุญกรวดน้ำ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  เลขาสภาวัฒนธรรมตำบลหนองลู  โทร.  ๐๘ ๙๐๙๒ ๕๑๔๐, ๐๘ ๙๕๑๔ ๒๓๙๘               

เทศบาลตำบลวังกะ โทร.  ๐ ๓๔๕๙ ๕๐๙๓     

ททท. สำนักงานกาญจนบุรี โทร.  ๐ ๓๔๕๑ ๑๒๐๐, ๐ ๓๔๕๑ ๒๕๐๐

๔. งานประเพณี สรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และงานสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไท

วันที่จัดงาน วันที่ ๘ – ๑๒ เมษายน  ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน ณ  บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไท และอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

“คนสุโขทัยมักทรงศีล มักโอยทาน”คำที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ ซึ่งบ่งบอกถึงวิถีของคนสุโขทัยราชธานีแห่งแรกของชนชาติไทย และนั่นจึงเป็นที่มาของงาน“สรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย”ประเพณีที่ชาวศรีสัชนาลัยสืบทอดต่อกันมาในช่วงสง-กรานต์ หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย  โดยคำว่า “โอย”หมายถึงทำ เมื่อร่วมกับคำว่า “ทาน” จึงหมายความถึงการ “ทำทาน” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิถีของคนสุโขทัยโบราณที่ถูกจารึกไว้ ดังนั้นสงกรานต์สรงน้ำโอยทาน ศรีสัชนาลัย จึงเป็นเทศกาลสงกรานต์ที่ควรค่าต่อการร่วมงานอีกพื้นที่หนึ่ง  และเป็นสงกรานต์ที่ชาวศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยได้ร่วมรักษาและสืบทอดรูปแบบทางวัฒนธรรมอันดีงามจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมหลัก    

-ร่วมกิจกรรมถวายสลากภัตรแด่พระภิกษุสงฆ์ 

-ร่วมพิธีบวงสรวงพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระยาลิไท

-ร่วมพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง

-ชมการแข่งขันประกวดว่าวพระร่วง 

-ชมขบวนแห่ช้างพ่อเมือง และขบวนวัฒนธรรมของอำเภอศรีสัชนาลัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงานสุโขทัย  โทร.  ๐ ๕๕๑ ๖๒๒๘ – ๙

๕. สงกรานต์ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่

วันที่จัดงาน ๑๒ – ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่   

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ หรือที่เรียกว่า "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง" เริ่มโดยในวันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า "วันสังขานต์ล่อง" วันนี้ถือเป็นวันสิ้นสุดศักราชเก่าของชาวภาคเหนือ ซึ่งจะมีการจุดประทัดในช่วงเช้า เพราะมีความเชื่อแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายในปีก่อนให้พ้นไป และในช่วงเย็นจะมีงานบุญขนาดใหญ่ นั่นคือการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย  ในช่วงนี้จะมีทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ มารวมตัวกันอย่างหนาแน่นเพื่อร่วมชมที่ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน  จากนั้นในวันที่  ๑๔ เมษายน  ที่เรียกกันว่า "วันเนา"  หรือ "วันเน่า" จะเป็นวันที่ห้ามด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนในวันที่ ๑๕ เมษายน "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" เป็นวันที่ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม จากนั้นจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย พอถึงวันที่วันที่ ๑๖ เมษายน "วันปากปี"  ทุกคนก็จะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่าง ๆ และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา โดยในวันที่ ๑๗ เมษายน  "วันปากเดือน"  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำการปัดตัว เพื่อส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไป  อันเป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางภาคเหนือ หรือแผ่นดินล้านนาเท่านั้น

กิจกรรมหลัก

-ร่วมขบวนแห่และสรงน้ำ “พระพุทธสิหิงค์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่ และแผ่นดินล้านนาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน รวมทั้งขบวนแห่ขนทรายเข้าวัด–ไม้ค้ำสะหลี (สะหลี หมายถึง ต้นโพธิ์) 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงาน เชียงใหม่  โทร. ๐ ๕๓๒ ๔๘๖๐๔-๕

๖. สงกรานต์ รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว  จังหวัดนครพนม

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๒ – ๑๕  เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน บริเวณลานกันเกราหน้าตลาดอินโดจีน เขตเทศบาลเมืองนครพนม และเขตเทศบาลตำบล เรณูนคร จังหวัดนครพนม

สงกรานต์รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทย- ลาว ตามแบบวัฒนธรรม ๗ ชนเผ่าของชาวนครพนม ที่ยังคงหลงเหลือกลิ่นอายของวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการรักษารูปแบบของประเพณีที่แสดงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวนครพนม ร่วมตักบาตรข้าวเหนียววันปีใหม่ไทย กิจกรรมแข่งขันสะบ้าทอย พิธีตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด ๗ วัน ๘ พระธาตุ อิ่มอร่อยกับตลาดโบราณย้อนยุค และเล่นน้ำสงกรานต์ ๗ ชนเผ่า พร้อมชมการแสดงวัฒนธรรม นอกจากนี้ที่ อำเภอเรณูนคร จะมีการฟ้อนรำผู้ไทที่มีความอ่อนช้อยงดงาม และความมีมนต์ขลังของพิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน เพื่อต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยือน รวมทั้งขบวนแห่นางสงกรานต์ที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างยิ่งใหญ่งดงาม

กิจกรรมหลัก- อ.เมืองนครพนม ร่วมตักบาตรข้าวเหนียววันปีใหม่ไทย การแข่งขันสะบ้าทอย พิธีตบปะทาย (ก่อเจดีย์ทราย) ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด ๗ วัน ๘ พระธาตุ อิ่มอร่อยกับตลาดโบราณย้อนยุค และเล่นน้ำสงกรานต์ ๗ ชนเผ่า พร้อมชมการแสดงวัฒนธรรม

-อ.เรณูนคร ร่วมชมการฟ้อนผู้ไท พิธีบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน ขบวนแห่นางสงกรานต์สาวผู้ไทเรณูนครชมการละเล่นพื้นบ้านชาวผู้ไท ชิมอาหารพื้นเมือง การจำลองวิถีชีวิตของชาวผู้ไท และการประกวดสาวงามเรณูนคร ณ บริเวณถนนวัฒนธรรม เทศบาลตำบลเรณูนคร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงานนครพนม โทร.  ๐ ๔๒๕๑ ๓๔๙๐ – ๑ 

๗.  สงกรานต์แห่นางดาน จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๒ – ๑๔ เมษายน ๒๕๕๘ 

สถานที่จัดงาน  บริเวณสวนศรีธรรมมาโศกราชและหอพระอิศวร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประเพณีแห่นางดาน เป็นประเพณีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีตรียัมปวายหรือประเพณีโล้ชิงช้า ถือเป็นการอัญเชิญเทพชั้นรอง ๓ องค์ มารอรับเสด็จพระอิศวรที่จะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ในช่วงเดือนยี่ของทุกปี เชื่อกันว่าเป็นการประสาทพรให้มีความสุขสบาย คุ้มครองบ้านเมืองให้ปลอดภัย   ดังนั้นในเทศกาลสงกรานต์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงมีรูปแบบแตกต่าง  เนื่องจาก เป็นศูนย์กลางศาสนาและวัฒนธรรม  ทั้งทางศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต  โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองมีพระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญเมืองชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ในวันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีปฎิบัติที่สืบเนื่องมาแต่โบราณเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่มีคุณค่าต่อสังคม ครอบครัว ศาสนาและวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การสานต่อเพื่อคงไว้ซึ่งประเพณีที่ดีงาม

กิจกรรมหลัก   

- ขบวนแห่นางดาน    

ข้อมูลเพิ่มเติม  

เทศบาลนครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๔ ๒๘๘๐-๒ 

ททท. สำนักงานนครศรีธรรมราช โทร. ๐ ๗๕๓๔ ๖๕๑๕-๖

๘. สงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา วิหารพระมงคลบพิตร และบริเวณโดยรอบเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ในอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เป็นสงกรานต์แห่งเดียวในโลกที่นักท่องเที่ยวได้ร่วมเล่นน้ำร่วมกับช้าง (นักท่องเที่ยวสามารถมาเล่นน้ำกับช้าง ณ บริเวณด้านหน้าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา) 

กิจกรรมหลัก  

-ทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร 

-สรงน้ำพระพุทธรูปและพระนเรศวรมหาราช  

ข้อมูลเพิ่มเติม    

ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา  โทร. ๐ ๓๕๒๔ ๖๐๗๖-๗

๙. เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ สุพรรณบุรี ประจำปี  ๒๕๕๘ 

วันที่จัดงาน  วันที่  ๑๓ – ๑๔  เมษายน  ๒๕๕๘ 

สถานที่จัดงาน ณ  บริเวณเวทีกลางน้ำ หน้าสถานีขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภอเมืองสุพรรณบุรี รูปแบบงานสงกรานต์ตามแบบฉบับของสงกรานต์ภาคกลางที่ควรสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่  เพื่อให้ชาวสุพรรณบุรีและนักท่องเที่ยวได้มีความสุขและร่วมรักษาสืบสานประเพณีไทย  

กิจกรรมหลัก

การแต่งชุดไทยเล่นน้ำสงกรานต์ ชมการประกวดขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์เอกลักษณ์ชนพื้นถิ่นของแต่ละอำเภอ จำนวน ๑๐  อำเภอ ขบวนแห่หลวงพ่อโตทองคำ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี การประกวดเทพีสงกรานต์ การแสดงดนตรีจากนักร้องชื่อดังของไทย การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และการแสดงวงดนตรีจากนักเรียนโรงเรียนต่างๆ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดเวทีต่างๆ ฯลฯ

ข้อมูลเพิ่มเติ่ม

ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. ๐ ๓๕๕๓ ๕๓๘๐ ,  

ททท. สำนักงานสุพรรณบุรี โทร. ๐ ๓๕๕๒ ๕๘๘๐, ๐ ๓๕๕๒ ๕๘๖๗,  ๐ ๓๕๕๒ ๕๘๖๓-๔  

๑๐. มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย จังหวัดหนองคาย

วันที่จัดงาน วันที่ ๖ – ๑๘ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน ณ วัดโพธิ์ชัย ถนนประจักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

เป็นรูปแบบสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ ที่ผู้ร่วมงานสามารถร่วมแรงศรัทธาสรงน้ำพระหลวงพ่อพระใส พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคาย โดยขบวนแห่หลวงพ่อพระใสที่ยิ่งใหญ่และแห่ทั่วเมืองหนองคาย นั้นจะปฏิบัติเพียงปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทย-ชาวลาวได้ร่วมสรงน้ำพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเองในเทศกาลสงกรานต์      

กิจกรรมหลัก  

- ขบวนแห่หลวงพ่อพระใส

- การทำบุญตักบาตร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ททท. สำนักงานอุดรธานี โทร.  ๐ ๔๒๓๒ ๕๔๐๖-๗ 

๑๑. งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี

วันที่จัดงาน วันที่ ๑๖-๑๗ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่จัดงาน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน จังหวัดชลบุรี เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิมเรียกว่า งานทำบุญวันไหล คือ การที่สมาชิกในชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ได้มาทำบุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทย แต่ในปัจจุบันการละเล่นและประเพณี  ดั้งเดิมบางอย่างเริ่มจะสูญหายไปเทศบาลเมืองแสนสุขจึงได้อนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี และการละเล่นพื้นบ้านอันดีงามไว้ให้คงอยู่และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย

กิจกรรมหลัก การประกวดและก่อพระทรายตลอดชายหาดบางแสน การแข่งขันมวยทะเล การละเล่นพื้นบ้านและการเล่นน้ำสงกรานต์วันไหล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เทศบาลเมืองแสนสุข โทร. ๐ ๓๘๑๙ ๓๕๐๙, 

ททท. สำนักงานพัทยา (ชลบุรี) ๐ ๓๘๔๒ ๗๖๖๗, ๐ ๓๘๔๒ ๘๗๕๐,๐ ๓๘๔๒ ๓๙๙๐                    

ชุ่มฉ่ำทั่วหล้า  มหาสงกรานต์

ตามปัจจุบันตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไปมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้าร่วมงานในเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะการเล่นน้ำมากยิ่งขึ้น หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จึงกำหนดจัดงานสงกรานต์กระจายในหลายพื้นที่ เพื่อเป็นตัวเลือกที่แตกต่างสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และส่วนสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ ร่วมมือกัน คือ การช่วยรณรงค์การเล่นน้ำสนุกสนาน และปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศในเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” และปีใหม่ของไทยอย่างแท้จริง 

๑.พื้นที่ถนนข้าวสาร กรุงเทพฯ 

วัน-เวลา วันที่ ๑๓ –๑๕ เมษายน ๒๕๕๘ 

สถานที่ ณ บริเวณถนนข้าวสาร กรุงเทพฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   สำนักงานเขตพระนคร โทร.  ๐ ๒๖๒๘ ๙๐๖๘

๒.พื้นที่ถนนสีลม กรุงเทพฯ

วัน-เวลา วันที่ ๑๓ –๑๕ เมษายน ๒๕๕๘ เวลา 

สถานที่  ณ บริเวณถนนสีลม กรุงเทพฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   สำนักงานเขตบางรัก โทร.  ๐ ๒๒๓๖ ๑๓๙๕ ต่อ ๖๒๑๑

๓.พื้นที่รอบคูเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วัน-เวลา วันที่ ๑๒ – ๑๖ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่ ณ บริเวณรอบคูเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงานเชียงใหม่  โทร.  ๐ ๕๓๒๗ ๖๑๔๐-๑

๔.พื้นที่จังหวัดชลบุรี

วัน-เวลา วันที่ ๑๑ - ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘   

สถานที่ ณ หอพระพุทธสิหิงค์ เกาะสีชัง ชายหาดบางพระ อำเภอสัตหีบ ชายหาดพัทยา และบริเวณ   พัทยาเหนือ-กลาง-ใต้ สวนสาธารณะลานโพธิ์ (นาเกลือ) และสวนสาธารณะเทศบาลเมืองศรีราชา 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  ททท. สำนักงานชลบุรี  โทร.  ๐ ๓๘๔๒ ๗๖๖๗, ๐ ๓๘๔๒ ๘๗๕๐,๐ ๓๘๔๒ ๓๙๙๐๕

๕.พื้นที่ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น

วัน-เวลา วันที่ ๕ – ๑๕ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่ ณ บริเวณถนนข้าวเหนียว (ถนนศรีจันทร์) และบริเวณบึ่งแก่นนคร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ททท. สำนักงานขอนแก่น โทร. ๐ ๔๓๒๒ ๗๗๑๔-๖

๖.พื้นที่บริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

วัน-เวลา วันที่ ๑๑ – ๑๓ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่ ณ บริเวณหาดป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงานภูเก็ต โทร.  ๐ ๗๖๒๑ ๑๐๓๖, ๐ ๗๖๒๑ ๒๒๑๓,๐ ๗๖๒๑ ๗๑๓๘

๗.พื้นที่บริเวณรอบเมืองหาดใหญ่ (งานหาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์) จังหวัดสงขลา 

วัน-เวลา วันที่ ๑๑ – ๑๕ เมษายน ๒๕๕๘  

สถานที่ ณ บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศ ๓ , ถนนเสน่หานุสรณ์ , ถนนธรรมนูญวิถี และวัดมหัตตมังคลาราม (วัดหาดใหญ่) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม   ททท. สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา)  โทร.  ๐ ๗๔๒๓ ๑๐๕๕

๘.พื้นที่เกาะสมุย  “สงกรานต์เกาะสมุย” จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัน-เวลา วันที่ ๑๒ - ๑๔ เมษายน ๒๕๕๘

สถานที่ ณ บริเวณชายหาดเฉวง อำเภอเกาะสุมย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  เทศบาลนครเกาะสมุย โทร.  ๐ ๗๗๔๒ ๑๔๒๑-๒ 

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวเกาะสมุย  โทร.  ๐ ๗๗๔๒ ๐๕๐๔ 

สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย โทร.  ๐ ๗๗๔๒ ๖๙๓๒ 

ข้อควรปฏิบัติ วันสงกรานต์

•ทำบุญตักบาตรในตอนเช้าและเข้าวัดฟังเทศน์ในวันขึ้นปีใหม่ไทยเพื่อเป็นการสร้างสิริมงคลให้กับชีวิต

•การสรงน้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำรดตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า

•การรดน้ำผู้ใหญ่ (ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดงความเคารพและขอพรจากท่านในวันปีใหม่ไทย  

•การเล่นสาดน้ำ ควรใช้น้ำสะอาดหรือน้ำอบไทย ไม่ควรใช้น้ำสกปรก น้ำเย็น น้ำแข็ง น้ำผสมเม็ดแมงลัก เม็ดสาคู หรือน้ำผสมสีย้อมผ้าลงในน้ำอย่างเด็ดขาด 

•ไม่ควรเล่นสาดน้ำอย่างรุนแรง หลีกเลี่ยงการใช้กระบอกฉีดน้ำที่มีแรงดันสูง

•สำหรับการแต่งกายของสุภาพสตรี ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าในลักษณะแนบเนื้อ สายเดี่ยว หรือโทนสีอ่อน เช่น สีขาว สีเนื้อ เพราะเมื่อโดนสาดน้ำจะทำให้เห็นรูปร่างที่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ถูกลวนลามได้ง่าย

*โปรดโทรสอบถามเพิ่มเติมก่อนการเดินทางจริง* 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook