ถ่ายนกกระเต็นปักหลัก...ที่อยุธยา

ถ่ายนกกระเต็นปักหลัก...ที่อยุธยา

ถ่ายนกกระเต็นปักหลัก...ที่อยุธยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

  นกกระเต็นปักหลัก Pied Kingfisher เป็น 1 ใน 16 ชนิดของนกกระเต็น Kingfisher ที่พบในเมืองไทย เป็นนกประจำถิ่นพบได้บ่อยในบางพื้นที่ แต่หาถ่ายภาพไม่ง่ายนัก ได้แต่มองเห็นไกลๆ เพราะมีลักษณะพิเศษไม่เหมือนกับนกกระเต็นชนิดอื่นๆ

เช่นเดียวกับนกกระเต็นลาย Banded Kingfisher ที่มีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากนกกระเต็นอื่นๆ ในเมืองไทย คือ ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความสูงร่วม 1,000 เมตร กินแมลงเป็นอาหาร และทำรังอยู่ในกองดินจอมปลวกบนต้นไม้

 ส่วนนกกระเต็นปักหลักมีลักษณะพิเศษตรงที่สามารถกระพือปีกอยู่กับที่ (hop) เพื่อเล็งมองหาเหยื่อที่เป็นปลาอยู่ในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงต่างๆ ก่อนทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่งทำให้เหยื่อมองไม่เห็น

และถูกคาบไปในที่สุด จึงเป็นลีลาการหาเหยื่อที่สวยงามตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้ที่พบเห็น และอยากได้ภาพถ่ายนกชนิดนี้กันมาก

จากประสบการณ์ครั้งแรกในการถ่ายนกกระเต็นปักหลักที่บางบาล หลังจากได้หมายจากเพื่อนนักถ่ายภาพนกด้วยกัน ทำให้ทราบว่า บางบาล เป็นอำเภอเล็กๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก

  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง การเดินทางจึงเริ่มต้นจากถนนสายเอเซียผ่านรังสิต ไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปตรงไปเรื่อยๆ จนถึงถนนทางหลวง เส้น 347 ปทุมธานี-บางปะหัน เลี้ยวขวาไปตามเส้นนี้

จนถึงทางแยกเข้าบางบาล แล้วเลี้ยวซ้าย ถึงวัดขนอน เลี้ยวขวาอีกรอบ ผ่านวัดขนอนไปตามถนนเลียบแม่น้ำ ไปสัก 3-4 กิโลเมตร

 ก็จะถึงบ้านผู้ใหญ่สุนทรด้านขวามือ เข้าไปทักทายสวัสดีผู้ใหญ่ แจ้งความจำนงว่าขออนุญาตเข้ามาถ่ายนกกระเต็นปักหลักที่ริมแม่น้ำหลังบ้านผู้ใหญ่

 

เราก็จะได้รับการต้อนรับที่ดีอย่างมีน้ำใจ ผู้ใหญ่สุนทรจะให้ผู้ที่มาลงบันทึกสมุดเยี่ยมในการมาขอถ่ายภาพนก ปรากฏรายชื่อนักถ่ายภาพหลายท่านเข้ามากันมาก รวมทั้งทีมงานถ่ายภาพสารคดีดังๆ ก็มี

เห็นได้ว่าการถ่ายนกกระเต็นปักหลักที่นี่ได้รับความสนใจจากนักถ่ายภาพนกกันเป็นจำนวนมาก จนผู้ใหญ่มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี

ให้การต้อนรับและพาไปยังจุดถ่ายภาพที่สามารถถ่ายภาพนกได้ง่ายและพบเห็นได้ในระยะที่พอดี สำหรับเลนส์กล้อง DSLR ทั้งขนาด 300 มม. และ 500 มม. หรือมากกว่านั้น.........

การถ่ายภาพนกกระเต็นปักหลักที่บางบาลครั้งนี้ ทำให้ได้แนวทางในการปฏิบัติที่สามารถนำมาเป็นข้อคิดในการถ่ายภาพ ครั้งต่อไป หรือแก้มืออีกครั้ง ได้ว่า.......ติดตามต่อได้ใน iPhotoplay Magazine

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook