ลายรดน้ำมณฑป วัดพระขาว จ. พระนครศรีอยุธยา

ลายรดน้ำมณฑป วัดพระขาว จ. พระนครศรีอยุธยา

ลายรดน้ำมณฑป วัดพระขาว จ. พระนครศรีอยุธยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเขียนลายรดน้ำภายในมณฑป วัดพระขาว (หลวงปู่ทิม) จ. พระนครศรีอยุธยา เริ่มต้นจากแนวคิดของท่าน พระครูสมุห์สุนทร สุนทโร. ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เห็นความสำคัญของศิลปะแขนงนี้

โดยท่านเดินทางไปดูงานที่วัดจุฬามณี จ. สมุทรสงคราม ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ ของผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต อินทร์คง หัวหน้าสาขาวิชาศิลปะไทย ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ทั้งนี้ด้วยการแนะนำของพระครูอาทรวิริยานุวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี ได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของศิลปะลายรดน้ำยิ่งขึ้น

  การดำเนินการที่วัดพระขาว เริ่มวางแผนและออกแบบร่างเบื้องต้นเมื่อต้นเดือนมกราคม 2551 

 

โดยการนำเสนอแนวความคิด และเรื่องราวของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต อินทร์คง การวางแผนดำเนินงานคาดว่าเริ่มเขียนภาพในเดือนกุมภาพันธ์ และควรให้แล้วเสร็จในเดือน ธันวาคม 2551 ใช้ระยะเวลา 1 ปี ใช้งบประมาณ 5 ล้านบาทเศษ

แนวความคิดในการออกแบบ

  ผู้ออกแบบมณฑป ได้ศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมแบบศิลปะสมัยอยุธยา โดยการผสมผสานความคิดจากการค้นคว้าของพระเลขาพระมณฑปหลังนี้มีจุดเด่นหลายประการตามแบบแนวคิดสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาแบบประยุกต์ เช่นการทำมุขประเจิด ลวดลายองค์ประกอบภายนอก

เมื่อสถาปัตยกรรมมีลักษณะศิลปะอยุธยาซึ่งหาดูได้ยากจึงส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบศิลปะลายรดน้ำภายใน

ผู้ออกแบบจึงได้ศึกษาลวดลายสมัยอยุธยาตอนปลายที่ยังหลงเหลืออยู่ นำมาออกแบบให้สวยงาม บนพื้นที่ของฝาลูกฟักภายในโดยกำหนดเรื่องราวดังนี้


 1.  ฝาผนังในช่องลูกฟัก เขียนภาพมงคล 108 ประการเรียงตามแบบทักษิณาวัตร
 2.  เชิงผนังด้านบนเขียนภาพเทพชุมนุม
 3.  เชิงผนังด้านล่างเขียนภาพสัตว์หิมพานต์
 4.  เพดานผนังด้านหลังเขียนภาพ เรื่องภูมิจักรวาล โดยเสนอแนวคิด เรื่องแผ่นดินธรรมราชา หมายถึง ภูมิแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีธรรมะในพุทธศาสนาเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจให้อยู่เย็นเป็นสุข  ทั้งนี้ ได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์ ภปร. ประดิษฐานในภาพกิจกรรมด้วย ในภาพยังได้แฝงคติเรื่อง พระมหากษัตริย์ในมหาจักรวาลด้วย
 5.  เพดานด้านข้างเขียนภาพเรื่องชาดก และพุทธประวัติเรียงตามลำดับ
 6.  เพดานด้านข้างเขียนภาพมารผจญ
 ทั้งนี้จุดเด่นของศิลปะลายรดน้ำในมณฑปนี้ได้ออกแบบลวดลายต่างๆ ไม่ให้ซ้ำกัน เพื่อแสดงความหลากหลายให้น่าสนใจ

การดำเนินงานได้แบ่งกลุ่มในการทำงานดังนี้

1.ผู้ออกแบและควบคุมงาน
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต อินทร์คง 081-433-0018

2.งานวางแผนและบริหารบุคคล
 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปานฉัตท์ อินทร์คง 085-121-2434

3. งานเขียนน้ำยาหรดาน
 1.   นายเกรียงศักดิ์     ทองใสพร
 2.   นายทรงฤทธิ์    เหมือยพรหม
 3.   นายถนอมศักดิ์     สมเหมาะ
 4.   นายสาโรจน์     ฟักเขียว
 5.   นายสุกิจ    อินเดช     (ช่างศิลปะ)
 6.   นายนพรัตน์     แซ่อึ่ง
 7.   นายสุวิทย์    ตะเพียนทอง
 8.   นายวิรัยพร     จริตไวทย์
 9.   น.ส. ณัฐณิชา     บัวคลี
 10. น.ส. ศรีแพร    สราวุธ
 11. น.ส. ขวัญหทัย    ซึ้งพานิช
 12. น.ส. อาภรณ์     ฉิมมี

 ทีมงานทั้งหมดที่เป็นช่างเขียน ล้วนเป็นผลผลิตจากภาควิชาศิลปะประจำชาติ วิชาเอกศิลปะไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (ปัจจุบันภาควิชาได้รวบรวมเป็นภาควิชาทัศนศิลป์) ช่างเขียนเหล่านี้ ต่างมีความภาคภูมิใจที่ได้จบการศึกษาจากสาขาวิชานี้ และได้ทำงานตรงกับที่เรียน ได้ใช้ฝีมืออย่างเต็มที่ เมื่อผลงานสำเร็จจะเป็นประวัติศาสตร์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้เกิดความภาคภูมิใจต่อรุ่นต่อๆไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook