ทางเลือกใหม่สู่..นครวัต

ทางเลือกใหม่สู่..นครวัต

ทางเลือกใหม่สู่..นครวัต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทางเลือกใหม่สู่..นครวัต  โดย...โจ๋ย บางจาก

    ปราสาทนครวัต คือแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศกัมพูชา ตั้งอยู่ในอำเภอนครหลวงของจังหวัดเสียมเรียบ(เสียมราฐ) โดยมีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดกัมปงทม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จังหวัดพระวิหาร ทางทิศตะวันออก จังหวัดอุดรมีชัย ทางทิศเหนือ จังหวัดบันเตยเมียนเจย ทางทิศตะวันตก และจังหวัดพระตะบองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 

    "นครวัตและนครธม เป็นแหล่งโบราณสถานที่สำคัญมีชื่อเสียงติดอันดับโลก จึงเป็นที่สนใจของนักเดินทางทั่วไป แต่สำหรับคนไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับกัมพูชา เราจึงเห็นว่านครวัตอยู่ใกล้ชายแดนไทยเรามาก ยิ่งเมื่อดูจากแผนที่แล้ว ท่านคงคิดว่า..นครวัตนั้นอยู่ใกล้แค่คืบเท่านั้น!! เพราะมีระยะทางห่างจากไทยไม่เกิน 150 กิโลเมตร 
    ความใกล้ชิดติดกันนี้เอง จึงทำให้คนไทยส่วนหนึ่ง คิดหาหนทางพาตนเองไปสู่นครวัตด้วยรถยนต์ เนื่องจากเส้นทางเชื่อมต่อกับชายแดนไทย ที่มีการค้าขายเกิดขึ้นนั้นมีอยู่ด้วยการหลายสาย ปัจจุบันด่านพรมแดนถาวรด้านอำเภอปอยเปต เป็นเส้นทางคมนาคมทางบกในการเดินทางไปสู่นครวัตที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากมีระยะทางจากพรมแดนไปถึงแหล่งท่องเที่ยวห่างกันเพียง 151 กิโลเมตรเท่านั้น 

    ในความต้องการของผู้ชื่นชอบ ตะลอนเที่ยวต่างแดนแบบผจญภัยของนักเดินทางชาวไทย ทางเลือกใหม่ของการทัวร์นครวัตทางรถยนต์ คือการร่วมทางไปกับกองคาราวานรถยนต์แบบท่องเที่ยว ซึ่งจัดเป็นประจำเกือบทุกสัปดาห์ ในยุคที่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน กำลังพัฒนาเข้าสู่ยุคที่ไร้พรมแดนมากขึ้น 

    แต่การขับรถเกาะกลุ่มเดินทางจากชายแดนไทย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองทางด้านจังหวัดอรัญประเทศ เพื่อเข้าสู่ประเทศกัมพูชาโดยใช้เส้นทาง ปอตเปต ผ่านจังหวัดบันเตยเมียนเจย ก่อนตัดตรงเข้าสู่จังหวัดเสียมเรียบนั้น ในความหมายแท้จริง ทางสายนี้อาจดูเหมือนเป็นเส้นทางคมนาคม ที่อำนวยความสะดวกรวดเร็วต่อการขับขี่ยวดยานในกัมพูชา เพราะมีระยะทางห่างกันเพียง 151 กิโลเมตร เท่านั้น
    เพียงแต่คิด..และดูอย่างผิวเผินจากแผนที่แล้ว ท่านคงเห็นพ้องว่า เส้นทางสายดังกล่าวเป็นการเดินทางระยะสั้น ซึ่งคงใช้เวลาในการไปมาไม่นานนัก เพราะท่านอาจขาดประสบการณ์ และไม่ทราบข้อมูลแท้จริงบางประการ ที่ควรนำมาเปิดเผยเกี่ยวกับเส้นทางเดินรถสายสั้นๆ สายนี้มาก่อน  เพราะเบื้องหลังแล้ว ยังมีปัญหาอีกสารพัดที่จะติดตามตัวท่านไปตลอดการเดินทาง ซึ่งนักท่องเที่ยวทางรถยนต์ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ ว่าท่านจะต้องผจญอุปสรรคมากมายเพียงใด ในระหว่างการติดต่อประสานงาน และตลอดเส้นทางน่าลุ้นของการผ่านพื้นที่แต่ละอำเภอในกัมพูชา 
    สิ่งที่น่ารำคาญใจเรื่องแรกๆ คือ ท่านจะต้องใช้เวลานานเกินจำเป็น สำหรับเส้นทางเพียง 151 กิโลเมตรนี้ เนื่องจากถนนหนทาง เป็นหลุมเป็นบ่อขนาดใหญ่ไปตลอด  และมีสะพานข้ามคลอง(เกือบทุกแห่ง) ที่ขาดการซ่อมบำรุง(โดยเจตนา) ซึ่งจะทำให้ขบวนรถเสียเวลาไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยที่สุด 
     แต่บางครั้ง ท่านอาจเสียอารมณ์มากไปกว่านั้น เพราะท่านจะต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หลังเสร็จสิ้นช่วงเวลาท่องเที่ยวอันสำราญ  เนื่องจากพาหนะที่ใช้ในการเดินทางของท่าน เกือบทุกชนิดจะต้องได้รับความเสียหายก่อนเวลาอันควร  ด้วยเหตุมาจากสภาพถนนของประเทศกัมพูชานั้น ชำรุดทรุดโทรมเกินกว่าจะเรียกมันได้เต็มปากว่าเป็นเส้นทางสัญจรของคนทั่วไป 

     ปัญหาส่วนใหญ่ และอุปสรรค์กับความเอาแน่เอานอนไม่ได้ คือ หามาตราฐานที่ผู้จัดโปรแกรม คาราวานท่องเที่ยวทางรถยนต์ ส่วนใหญ่ทราบดี แต่ไม่ยอมอธิบายให้แก่นักเดินทางได้ทำใจกันล่วงหน้า  ซึ่งจะสร้างความผิดหวังช้ำใจแก่นักท่องเที่ยวโดยส่วนรวม 

     ด้วยเหตุนี้.. จึงมีผู้คิดบุกเบิกเส้นทางสายใหม่ เพื่อใช้เดินทางเจาะเข้าสู่ใจกลางจังหวัดเสียมเรียบ โดยไม่ต้องผ่านถนนหนทางที่ย่ำแย่แบบเดียวกับ เส้นทางสาย..ปอยเปตไปจังหวัดบันเตยเมียนเจย และจากบันเตยเมียนเจยต่อไปยังจังหวัดเสียมเรียบขึ้นมาทดแทน  ทางสายนี้คือ เส้นทางยุทธศาสตร์หมายเลข 68 ของ กัมพูชา ซึ่งเขมรแดงเคยใช้เป็นทางลำเลียงกำพล ในสมัยสงครามภายใน  ซึ่งเป็นทางลูกรังตัดตรงจากชายแดนไทยที่ ช่องสะงำ มาเชื่อมกับเส้นทางของกรมโยธาหมายเลข 2201ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ 
     ทางสายดังกล่าวนี้ เคยใช้ลำเลียงสินค้าบางอย่างจากเมืองเขตเมือง อัลลองเวง ซึ่งเคยเป็นฐานบัญชาการของกองกำลังเขมรแดง มาส่งชายแดนไทยที่อยู่ห่างกันเพียง 28.8 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เมื่อวัดระยะทางจาก ช่องสะงำ ฝั่งไทยไปถึงตัวเมือง นครหลวง  ที่ตั้งของแหล่งโบราณสถานในกลุ่ม นครวัต-นครธม  เส้นทางหมายเลข68จะมีระยะทางจากชายแดนไทยไปถึงใจกลาง นครวัต-นครธม เพียงไม่ถึง100กิโลเมตร และสภาพโดยรวมของถนนหมายเลข68 กว่าร้อยละ80 มีผิวทางลูกรังที่ราบเรียบสมบูรณ์ จะมีบ่อโคลนอุปสรรค์ต่อการเดินทางอยู่เพียง 20 % ของเส้นทางโดยเฉลี่ยทั้งหมด 

    แต่สิ่งสำคัญที่เป็นจุดเด่นของเส้นทางสายนี้คือ ทิวทัศน์สองฝั่งทางนั้น ปกคลุมไปดูด้วยป่าไม้และภูเขา สภาพป่าก็สมบูรณ์มีสัตว์ป่าหนาแน่นชุกชุม และเป็นทางคมนาคมที่ปลอดภัย ไม่เคยปรากฏการปล้นสะดมใดๆ มาก่อน  นอกจากนี้..สะพานที่ใช้ข้ามคูคลองทุกแห่งนั้น สมบูรณ์มาก เพราะไม่เคยเฉียดใกล้ภัยสงครามมาก่อนเลย

     ในการสำรวจเส้นทาง(สายใหม่) เมื่อวันที่ 25-28 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยทีมงาน ส่องโลก รถยนต์ในคณะสามารถเดินทางผ่านถนนหมายเลข 68 โดยใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง โดยใช้ความเร็วในการเดินทางแบบสบายๆ หยุดบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ไปตลอดอยู่ราว 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ซึ่งนับเป็นการเดินทางไปยังจังหวัดเสียมเรียบที่รวดเร็วที่สุด เท่าที่เคยผ่านเส้นทางต่างๆ มาทั่วดินแดนเขมร
     ปัจจุบัน..ได้มีการเจรจากันระหว่างฝ่ายปกครองของรัฐบาลทั้งสองชาติ เพื่อหารือเรื่องเปิดด่านช่องสะงำเป็นด่านผ่านแดนชั่วคราว เพื่อทดลองว่าจะเกิดผลดีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวของสองประเทศมากน้อยเพียงใดภายในต้นปีหน้า  จึงเป็นข่าวใหม่และข่าวดีสำหรับ นักผจญภัยที่ต้องการมาหาประสบการณ์ขับรถท่องเที่ยวในดินแดนกัมพูชาด้วยตนเอง หรือร่วมไปกับหมู่คณะคาราวานที่จะจัดการเดินทางขึ้นในอนาคต 
     ซึ่งในเดือนมกราคมศกหน้า ทางรายการส่องโลกได้มีความคิดที่จะจัดโปรแกรมทดลองเดินรถ พาท่านผู้ชมไปท่องเที่ยว และชมความงดงามขององค์ปราสาทนครวัต-นครธม โดยความร่วมมือระหว่าง ไทย-กัมพูชา และกองทัพภาค4 ของกัมพูชา  เพื่อหยั่งเชิงดูว่า..เส้นทางสายใหม่(สายอีสาน) เพื่อนำคนไทยไปสู่นครวัตสายนี้ จะได้รับความนิยมต่อไปหรือไม่..รายละเอียดของเส้นทาง สำหรับผู้สนใจโปรดแจ้งความประสงค์มายังทีมงานส่องโลก โดยเขียนจดหมายสมัครร่วมเดินทางผ่านมายัง  webmaster@songloke.com ทางเว็บไซด์นี้ได้ครับ

"โจ๋ย  บางจาก"

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook