งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด ประจำปี 2552

งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด ประจำปี 2552

งานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด ประจำปี 2552
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเพณีบุญผะเหวดของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการฟื้นฟูให้เป็นประเพณีประจำจังหวัด โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2534 จัดขึ้น ณ บึงผลาญชัย สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ กำหนดจัดวันเสาร์และอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี โดยกำหนดการไว้ว่า วันศุกร์ แห่พระอุปคุต / วันเสาร์ ขบวนแห่ 13 กัณฑ์ / วันอาทิตย์ ฟังเทศน์มหาชาติและ แห่กัณฑ์หลอน ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ชาวบ้านร่วมกันทำเป็นขบวน ถวายแด่พระที่กำลังเทศน์อยู่ในขณะนั้น และ แห่กัณฑ์จอบ ซึ่งหมายถึง จตุปัจจัยที่ร่วมกันทำขึ้น เพื่อเจาะจงถวายแด่พระที่ศรัทธาซึ่งเทศน์ในวันนั้น ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ สำหรับในปีนี้กำหนดจัดงานขึ้นในวันที่ 6-8 มีนาคม โดยวันแรก จะมีการอัญเชิญพระอุปคุตแห่รอบเมืองร้อยเอ็ด เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดภัยพิบัติและให้ทำมาค้าขึ้น

จากนั้นจะมีพิธี “มหามงคลพุทธมนต์ พระอุปคุตเสริมบารมี” ในวันที่สองของงานคือ เริ่มเวลา 9.00 น. มีการแจกสัตสดกมหาทาน (การบริจาคสิ่งของแก่ผู้ยากไร้) และชมขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ พร้อมจัดบริการขนมจีน (ข้าวปุ้น) ให้รับประทานฟรีตลอดงาน ส่วนวันสุดท้ายของงาน มีพิธีแห่ข้าวพันก้อน (ข้าวเหนียวปั้นเล็กๆ จำนวน 1,000 ก้อน) และเทศน์สังกาด (เป็นการพรรณนาอายุกาลของพระพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นจนถึงอันตรธาน) การทำบุญตักบาตร ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ จากนั้นจะเป็นการรับฟังการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ตลอดทั้งวัน ช่วงสายๆ จะมีขบวนแห่ถวายต้นเงินหรือ ต้นกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน ของมหาชนทั่วสารทิศเพื่อนำมาถวายพระภิกษุภายในบึงผลาญชัย นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเสริมระหว่างงานอีกมากมายเช่น การจัดประกวดธงผะเหวด การประกวดภาพวาด ภาพถ่ายประเพณีบุญผะเหวด การแข่งกินขนมจีน เป็นต้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 0 4324 4498-9 ประชาสัมพันธ์จังหวัดร้อยเอ็ด 0 4351 5374

ข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับบุญผะเหวด ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ งานบุญผะเหวดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวอีสาน เป็น 1 ในประเพณี ฮีต 12 ซึ่งนิยมทำกันทุกหมู่บ้าน ด้วยความเชื่อกันว่าหากได้ฟังเทศน์บุญผะเหวดครบ 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวและจัดพิธีตั้งเครื่องคาย (บูชา) ได้ถูกต้อง อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข สงบ แต่ในทางกลับกันหากตั้งเครื่องคายไม่ถูกต้อง ก็จะดลบันดาลให้เกิดอาเพศต่าง ๆ นานา ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ การจัดงานบุญผะเหวดแต่ละครั้งเป็นงานบุญสำคัญที่ทุกคนในหมู่บ้านต้องมาร่วมกัน นอกจากการฟังเทศน์มหาชาติแล้ว ประเพณีนี้ยังแฝงด้วยความเชื่อหลายประการเข้าไว้ด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ ความเชื่อเรื่องพระอุปคุต ซึ่งเป็นพระผู้รักษาพิธีให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีพญามารมารบกวน มูลเหตุที่ทำให้เกิดเทศน์มหาชาติ มีเรื่องเล่าในพระมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า ครั้งหนึ่งพระมาลัยเถรเจ้าได้ขึ้นไหว้พระธาตุเกตแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้พบและสนทนาธรรมกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ถัดจากพระสมณะโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ ตอนหนึ่งของพระมาลัยเถระกล่าวกับพระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ว่าประชาชนชาวโลกมีความปรารถนา ใคร่อยากเกิดร่วมในศาสนาของพระองค์ จะให้ชาวโลกประพฤติปฏิบัติอย่างไร พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์เมื่อทราบความประสงค์ของมนุษย์ในโลกแล้ว ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ จึงได้สั่งความกับพระมาลัยเถระเจ้าว่า ถ้ามนุษย์ทั้งหลายปรารถนาจะได้พบและเกิดร่วมศาสนากับพระองค์แล้ว จงรักษาศีลอย่าให้ขาด ให้ทานสม่ำเสมอแก่สมณะชีพราหมณ์ ยาจกเข็ญใจ ผู้ยากไร้ทั้งหลาย จงอย่าได้ด่าว่า ฆ่าพ่อ ตีแม่ สมณะชีพราหมณาจารย์ อย่ายุยงพระสงฆ์หมู่คณะให้แตกสามัคคีกัน ท่องเที่ยว , ข่าวสาร , ร้อยเอ็ด ,กินข้าวปุ้น , เอาบุญผะเหวด , ฟังเทศน์มหาชาติ ให้ตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดกให้จบสั้นภายในวันเดียวโดยความเคารพ จึงจะได้เกิดร่วมศาสนาและพบเห็นพระองค์ การเทศน์มหาชาติมี 13 กัณฑ์ ได้แก่ 1. กัณฑ์ที่ 1 ทศพร 79 พระคาถา 2. กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ 134 พระคาถา 3. กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ 209 พระคาถา 4. กัณฑ์ที่ 4 วนปเวสน์ 57 พระคาถา 5. กัณฑ์ที่ 5 ชูชก 79 พระคาถา 6. กัณฑ์ที่ 6 จุลพน 35 พระคาถา 7. กัณฑ์ที่ 7 มหาพน 80 พระคาถา 8. กัณฑ์ที่ 8 กุมาร 101 พระคาถา 9. กัณฑ์ที่ 9 มัทรี 90 พระคาถา 10. กัณฑ์ที่ 10 สักบรรพ์ 43 พระคาถา 11. กัณฑ์ที่ 11 มหาราช 69 พระคาถา 12. กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ 36 พระคาถา 13. กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ 48 พระคาถา ฮีต 12 คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง ...ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดีและพูดจนติด ปากว่า "ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่" ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต มาจากคำภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียม แบบแผนความประพฤติ ที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี ฮีต นั้นมี 12 ประการ เท่ากับ 12 เดือนใน 1 ปี ตามระบบจันทรคติหรือพูดอีกนัยคือ การทำบุญ 12 เดือนนั้นเอง

ฮีตที่ 1. บุญเข้ากรรม ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่าบุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ เพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่าบุญเดือนเจียง

ฮีตที่ 2. บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน ลานคือ ที่สำหรับตีหรือนวดข้าว การเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่า คูนลาน หรือที่เรียกกันว่าคูนข้าว ชาวนาที่ทำนาได้ผลดี อยากได้กุศล ให้ทานรักษาศีล เป็นต้น ก็จัดเอาลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่า บุญคูนลาน ซึ่งกำหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึงเรียกว่าบุญเดือนยี่

ฮีตที่ 3. บุญข้าวจี่ ข้าวจี่คือ ข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก การทำบุญมีให้ทานข้าวจี่เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าวจี่ นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ ทำในช่วงเดือนสาม เรียกว่า บุญเดือนสาม

ฮีตที่ 4. บุญผะเหวด หรือ บุญเดือนสี่ บุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่าบุญเผวส(ผะ-เหวด) หนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของ พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก บุญผะเหวด นิยมทำกันในช่วงเดือนสี่

ฮีตที่ 5. บุญสรงน้ำ หรือ บุญเดือนห้า เมื่อเดือนห้ามาถึงอากาศก็ร้อนอบอ้าวทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยการอาบน้ำชำระเนื้อกายเป็นวิธีการแก้ร้อนผ่อนให้เป็นเย็น ให้ได้รับความ สุขกายสบายใจ อีกอย่างหนึ่งมี เรื่องเล่าว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีลูก จึงไปบนบาลพระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอลูก เวลาล่วงเลยมาสามปี ก็ยังไม่ได้ลูกจึงไปขอลูกกับต้นไทรใหญ่ เทวดาประจำต้นไทรใหญ่ มีความกรุณาได้ไปขอลูกต่อพระยาอินทร์ พระยาอินทร์ให้ธรรมะปาละกุมาร (ท้าวธรรมบาล) มาเกิดในท้องภรรยาเศรษฐี เมื่อธรรมะปาละประสูติ เจริญวัยใหญ่ขึ้นได้เรียนจบไตรเภท เป็นอาจารย์สอนการทำมงคลแก่คนทั้งหลาย กบิลพรหมลงมาถามปัญหาธรรมะปาละกุมาร (ถามปัญหาสามข้อคือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ มีศรีอยู่ที่ไหนบ้าง ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสียดผลัดให้เจ็ดวันในชั้นแรก ธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหก ธรรมบาลเดินเข้าไปในป่าบังเอิญได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบให้กันฟัง ตอนเช้าศรี อยู่ ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า ตอนกลางวันศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาน้ำหมดประพรหมหน้าอกตอนกลางวันและตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าตอนเย็น ธรรมบาลจึงสามารถตอบคำถามนี้ได้) สัญญาว่าถ้าธรรมบาลตอบปัญหาถูกจะตัดหัวของตนบูชา ธรรมบาลแก้ได้ เพราะศีรษะของกบิลพรหมมีความศักดิสิทธ์มาก ถ้าตกใส่แผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งขึ้นไปในอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ก่อนตัดศีรษะ กบิลพรหมเรียกลูกสาวทั้งเจ็ดคน เอาขันมารองรับแห่รอบเขาพระสุเมรุ หกสิบนาที แล้วนำไปไว้ที่เขาไกรลาสเมื่อถึงกำหนดปี นางเทพธิดาทั้งเจ็ดผลัดเปลี่ยนกันมาเชิญเอาศีรษะท้าวกบิลพรหมมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้ว กลับไปเทวะโลก

ฮีตที่ 6. บุญบั้งไฟ คือ การเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหกเรียกว่าบุญเดือนหก เพื่อขอฟ้าขอฝนจากเทวดาเมื่อถึงฤดูแห่งการเพาะปลูก ทำไร่ทำนา

ฮีตที่ 7.บุญซำฮะ การชำฮะ(ชำระ) สะสางสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทินโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะ สิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอกได้แก่ ร่างกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่ จิตใจเกิดความโลภมากโลภา โกรธหลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่าบุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด

ฮีตที่ 8.บุญเข้าวัดสา (เข้าพรรษา) การอยู่ประจำวัดวัดเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝนเรียกว่าเข้าวัดสาโดยปกติกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปดเป็นวันเริ่มต้น เรียกว่าบุญเดือนแปด

ฮีตที่ 9. บุญข้าวห่อประดับดิน หรือบุญเดือนเก้า การห่อข้าวปลาอาหารและของเคี้ยวของกินเป็นห่อ ๆ แล้วเอาไปถวายทานบ้าง ไปแขวนตามกิ่งไม้ในวัดบ้าง เรียกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะมีกำหนดทำบุญในเดือนก้าวจึงเรียกว่า บุญเดือนเก้า

ฮีตที่ 10.บุญข้าวสาก การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกษุและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชนะข้าวถวายตามสลากนั้นและทำบุญอย่าอื่นมีรักษาศีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก ) เพราะกำหนดให้ทำในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ

ฮีตที่ 11. บุญออกวัดสา (ออกพรรษา) การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกว่า ออกวัดสา คำว่าวัดสาหมายถึงฤดูฝน ในปีหนึ่งมี 4 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรมสี่ค่ำเดือนแปดถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ในระยะ สี่เดือนสามเดือนต้น ให้เข้าวัดก่อน เข้าครบกำหนดสามเดือนแล้วให้ออก อีกเดือนที่เหลือให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยนการทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เรียกว่าการทำบุญเดือนสิบเอ็ด

ฮีตที่ 12. บุญกฐิน ผ้าที่ใช้ไม้สะดึงทำเป็นขอบซึ่งเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผ้ากฐินนี้มีกำหนดเวลาในการถวายเพียงหนึ่งเดือนคือตั้งแต่ แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึง เพ็ญสิบสอง เพราะกำหนดเวลาทำในเดือน 12 จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบสอง คลอง 14 คลองสิบสี่ หมายถึง ข้อกติกาของสังคม 14 ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้ 1. เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศีลแล้วตนจึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย 2. อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้ากล้าแข็ง 3. ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ(มุม)บ้านหรือแจเฮือน 4. ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน 5 เมื่อถึงวันศีล 7-8 ค่ำ 14-15 ค่ำ ให้สมมาก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู (ประตู) เฮือนที่ตนอาศัยอยู่ 6. ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน 7. ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาเอาดอกไม้ไปถวายสังฆเจ้า 8. ถึงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตัก บาตร 9. เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน (แตะ) บาตร อย่าซูนภิกษุสามเณร 10. เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายเพิ่ม 11.เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา 12. อย่าเงียบเงาพระสงฆ์ 13. อย่าเอาอาการเงื่อน (อาหารที่เหลือจากการบริโภค) ทานแก่สังฆเจ้าและอย่าเอาอาหารเงื่อนให้สามีตัวเองกิน 14. อย่าเสพกามคุณในวันศีล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต์และวันเกิดของตน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook