เวียงกุมกาม...ตำนานที่เป็นจริง

เวียงกุมกาม...ตำนานที่เป็นจริง

เวียงกุมกาม...ตำนานที่เป็นจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

  เมื่อกว่า 700 ปีก่อน พญามังราย กษัตริย์แห่งโยนกนคร ผู้สืบเชื้อสายมาจากลวจักราช ได้แผ่อำนาจมายังลุ่มแม่น้ำกกและเข้ายึดครองเมืองหริภุญไชย อันเป็นเมืองที่มีชัยภูมิดีเป็นศูนย์กลางการค้าและความเจริญ แต่แล้วในปี พ.ศ.1837 ก็ทรงย้ายไปสถาปนา เวียงกุมกาม ในบริเวณที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำปิง(สายเดิม) ให้เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของล้านนา

แต่ด้วยความที่เป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมถึง เมืองหลวงแห่งนี้จึงประสบอุทกภัยในทุกๆปี พญามังรายเห็นดังนี้ จึงเชิญพญางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ผู้เป็นพระสหายมาร่วมหารือ แล้วโปรดให้สร้าง นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ที่มีชัยภูมิดีกว่า เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่

เวียงกุมกาม ถูกลดความสำคัญลงเป็นเพียงเมืองบริวาร แต่กระนั้นก็ยังคงความใกล้ชิดกับเวียงเชียงใหม่จนสิ้นราชวงศ์มังราย ก่อนจะล่มสลายจากเหตุ น้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อครั้งที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เวียงกุมกามจึงถูกฝังจมอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากจะฟื้นฟู

และเมื่อแม่น้ำปิงได้เปลี่ยนร่องน้ำ [จากแม่น้ำปิง สายเดิม (ที่นักวิชาการสันนิษฐานกัน) มาเป็นแม่น้ำปิงสายที่ไหลเรื่อยในปัจจุบัน] เวียงกุมกามจึงถูกทิ้งร้างใต้ตะกอนดินมานับร้อยๆปี นับแต่นั้น ชื่อของเวียงกุมกามจึงได้เลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ และเชื่อกันไปว่า เวียงกุมกาม เป็นเพียงเมืองในตำนาน ที่ไม่มีอยู่จริง

  จนกระทั่งความจริงเริ่มเปิดเผยเมื่อมีการขุดแต่งวิหารโดยหน่วยศิลปากรที่ 4 ในปีพ.ศ.2527 เรื่องราวของเมืองในตำนาน จึงปรากฏเป็นเรื่องจริงทุกวันนี้โบราณสถาน ณ ดินแดนแห่งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่และหลายๆหน่วยงาน

   ในการปรับปรุงดูแลโบราณสถานที่ขุดพบทั้ง 28 แห่ง (จากทั้งหมดที่คาดว่ามี 42 แห่ง) ในพื้นที่ 650 ไร่ และพร้อมเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาศิลปกรรมสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของล้านนา และพร้อมรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยวที่สนใจอีกด้วย

น้องเมย์...เรื่อง/ภาพ ออนไลน์วันที่ 22 พฤศจิกายน 2550
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook