งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

กำหนดจัดงาน วันที่ 19 – 30 มกราคม 2552 สถานที่จัดงาน ภายในตัวเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

กิจกรรมภายในงาน 19 ม.ค. 52 - พิธีเปิดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี พ.ศ. 2552 ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

19 - 30 ม.ค. 52 - สักการะองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ และเทพเจ้าทุกองค์ ณ ศาลเจ้าจำลอง - มหกรรมงานแสดงสินค้าของดีเมืองปากน้ำโพ ณ วัดโพธาราม - มหกรรมอาหารจีนรสเลิศปากน้ำโพ ณ ไชน่าทาวน์ (ตรอกชุนหงส์) - สักการะเสริมสิริมงคลกับสวน 12 นักษัตร,สวนเฮ่งเจีย, องค์เจ้าแม่กวนอิม ณ หาดสวรรค์ลานบุญ - การแสดงนาฏศิลป์ดนตรีไทย-จีน “ปากน้ำโพ” พร้อมแสง สี เสียง ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ - ชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ ตำนานมีชีวิต “สายเลือดมังกร...สายน้ำแห่งศรัทธา” ณ เวทีหาดสวรรค์ลานบุญ

งานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2552

28 ม.ค. 52 (กลางคืน) - ขบวนแห่ประเพณีอันยิ่งใหญ่อลังการ กว่า 24 ขบวน ณ ถนนสายสำคัญในเมือง

องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมปี 2549

29 ม.ค. 52 (กลางวัน) - ขบวนแห่เจ้าและขบวนแห่ประเพณีอันยิ่งใหญ่ ณ ถนนสายสำคัญในเมืองอลังการกว่า 24 ขบวน ในบริเวณหาดสวรรค์ลานบุญ ยังประกอบไปด้วยซุ้มต่าง ๆ เพื่อเติมเต็มความเป็นสิริมงคล ต้อนรับปีใหม่ ดังนี้ - ซุ้มประตูฮกลกซิ่ว/ศาลาระบายสีภาพการ์ตูนและปูนปั้น 12 นักษัตร - ต้นส้มมงคล/ศาลา 8 เซียนบูชาโคมสวรรค์/ซุ้มมังกรทะยานฟ้า - ประติมากรรมองค์เจ้าแม่กวนอิม และศาลาบูชาเครื่องสักการะ - สวนสวรรค์เทพเฮ้งเจีย/มังกรสวรรค์ และประติมากรรม 12 นักษัตร - แท่นบูชาเจ้าพ่อกวนอู/โคมจีน (ริมน้ำ)/ธงและโคมจีน (กำแพงเมืองจีน) - โคมพระจันทร์ และโคมพระอาทิตย์

 

ตรุษจีนในประเทศไทย

ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

- วันจ่าย หรือ ตื่อเส็ก คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ หรือ ตี่จู๋เอี๊ย ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการะบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว

- วันไหว้ คือ วันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ ตอนเช้ามืดจะไหว้ ไป๊เล่าเอี๊ย เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์ 3 อย่าง (ซาแซ ได้แก่ หมูสามชั้นต้ม ไก่ เป็ด ปรับเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นได้ หรือมากกว่านั้นได้จนเป็นเนื้อสัตว์ห้าชนิด) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง

ตอนสาย จะไหว้ไป๊เป้บ๊อ คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว

ตอนบ่าย จะไหว้ ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเป็นสิริมงคล วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันที่หนึ่งของเดือนที่หนึ่งของปี (ชิวอิก) วันนี้ ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน คือ ไป๊เจีย คือ การไปไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กา" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำโชคดีไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่ 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย) แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่

恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย) เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน

''ตำนานงานตรุษจีนปากน้ำโพ''

นครสวรรค์ เมืองต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่ออีกชื่อที่คนทั่วไปรู้จักคือ 'ปากน้ำโพ' เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นครสวรรค์นับว่าเป็นประตูสู่ภาคเหนือ ส่วนปากน้ำโพจัดเป็นศูนย์ลางทางการค้า เป้นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

ชาวจีนหลายเชื้อสายที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินจะอาศัยอยู่ตามริมแม้น้ำน่าน เรียกว่า 'แควใหญ่' และบริเวณ 'ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา' คือตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก

บริเวณตลาดปากน้ำโพในอดีต บรรพบุรุษของชาวจีนนับถือเทพเจ้า เมื่อมาตั้งรกรากที่ใด ได้อัญเชิญเอาเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาด้วย ชาวจีนในตลาดปากน้ำโพก็เช่นกัน พากันนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าพ่อกวนอู-เจ้าแม่ทับทิม-เจ้าแม่สวรรค์ เมื่อมาอยู่ได้จัดตั้งศาลเพียงตาสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าพ่อ-เจ้าแม่เพื่อกราบไหว้บูชา โดยตั้งขึ้น 2 ศาล คือ ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกของตลาดปากน้ำโพ และศาลเจ้าแม่หน้าผา ริมฝั่งแม่น้ำปิงที่บ้านหน้าผา ขึ้นไปทางเหนือของตลาดปากน้ำโพ

เมื่ออดีตประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพได้เกิดโรคอหิวาตกโรค ระบาดครั้งใหญ่ ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บรรดาชาวจีนในปากน้ำโพ ได้นำเอา 'กระดาษฮู้' (กระดาษยันต์) จากศาลเจ้าไปเผาไฟแล้วเอาเถ้ากระดาษมาชงน้ำดื่มทำให้หายจากโรคระบาด เป็นที่เลื่องลือกันไปทั่ว

ตั้งแต่นั้นมาชาวจีนในปากน้ำโพจึงได้อัญเชิญองค์เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ทุกองค์แห่รอบตลาดปากน้ำโพ ในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปีจนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า 80 ปี เพื่อเป็นศิริมงคล และความเจริญก้าวหน้าด้านการค้า การเคารพกราบไหว้เปรียบเสมือนเทพเจ้าได้มาอวยชัยให้พรยังร้านค้าอันเป็นแหล่งทำกิน ในพิธีจะมีขบวนแห่มากมาย อาทิ เช่น สิงโต จากคณะเชื้อสายจีนต่าง ๆ เอ็งกอ ล่อโก้ว มังกรทอง ขบวนสาวงาม นางฟ้า ขบวนเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น

ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม(แควใหญ่) ตั้งอยู่บนถนนสาย นครสวรรค์-ชุมแสง หันหน้าลงสู่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่มีแม่น้ำสองสี สี่สายมารวมกันเรียกว่าปากน้ำโผล่ หรือปากน้ำโพ ศาลเดิมเป็นอาคารไม้ใต้ถุนสูง จากจารึกในระฆังโบราณคู่ศาล ระบุปีที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายใน ค.ศ. 1870 (พ.ศ. 2413) แสดงให้ทราบว่าศาลเจ้าแห่งนี้มีอายุนานกว่า 130 ปี จึงมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง จากป้ายไม้กลางศาลเขียนว่า บุ๊นเถ่ากงเบียว ระบุปีที่สร้างศาลใหม่เป็นภาษาจีน หรือ ค.ศ. 1909 (พ.ศ.2412) ปัจจุบันลักษณะศาลเจ้าเป็นครั้งตึกครึ่งไม้ แบ่งเป็น ๓ ส่วน หน้าสุดคือส่วนที่สร้างใหม่ประดิษฐานแท่นบูชาเทพยดาฟ้าดิน ตอนกลางเป็นอาคารไม้ดั่งเดิม ตอนในสุดเป็นส่วนที่สร้างใหม่มีแท่นที่ประดิษฐานองค์เทพเจ้าบุ๊นเถ่ากง เป็นองค์ประธานอยู่กลางเทพเจ้ากวนอู อยู่ด้านขวา เจ้าแม่ทับทิม- เจ้าแม่สวรรค์ อยู่ด้านซ้าย หลังคาศาลประดับด้วยมังกรคู่ชูลูกแก้ว ปลายสันหลังทอดยาวลงมาเป็นหัวหงายที่สวยงามตระการตา เด่นตระหง่านคู่เมืองนครสวรรค์''ประวัติมังกรทอง เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ''

มังกรทอง ของชาวจีนเป็นตัวแทนขององค์จักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรืองและความมีอำนาจ ดังนั้นจึงถือเป็นสัตว์ที่เป็นมงคล ถ้าได้พบเห็น หรือเยี่ยมกรายผ่านบ้านใคร ถือได้ว่าเสมือนได้รับพรจากมังกร คนจีนเชื่อกันว่า ฝูชี บรรพบุรุษของชาวฮั่นในตำนานเป็นลูกของมังกร คนจีนจึงถือว่าตนเป็นลูกหลานของมังกร ถ้ามองอีกแง่หนึ่งตามตำนานมังกรเป็นผู้ให้น้ำแก่โลกมนุษย์ ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ จึงอาจถือได้ว่ามังกรเป็นผู้ที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ก็ได้ การจัดแห่มังกรทองจะทำได้ต่อเมื่อท้องถิ่นนั้นมีแม่น้ำมีภูเขา และเป็นเมืองใหญ่เท่านั้น

การแห่มังกร ของชาวปากน้ำโพได้ริเริ่มขึ้นในสมัยนายหม่งแจ๋ แซ่เล้า เป็นประธานจัดงานในปี พ.ศ. 2506 - 2517 โดยได้ปรึกษา นายเป็งไฮ้ แซ่ตั้ง และ นายเต็งลิ้ม แซ่เอ็ง ไปติดต่อให้อาจารย์ เล่งจุ้ย แซ่ลิ้ม เป็นครูสอน และมีนาย ตงฮั่ง แซ่ตั้ง เป็นผู้ทำมังกรตัวแรก ซึ่งได้ใช้จนปี 2535

ปัจจุบันได้จำลองแบบออกมาเป็นหัวมังกรที่มีความงดงามมาก มังกรทองเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพมีลีลา การเชิดที่เข้มแข็งสง่างาม ด้วยลำตัวที่ยาว 52 เมตร และผู้เล่น 180 คน ทำให้ผู้ชมสามารถสัมผัสถึงพลังแห่งอำนาจแห่งพญามังกรได้อย่างประทับใจไม่รู้ลืม ลีลาการเชิดมังกรทองนี้เป็นลีลาเฉพาะตัวที่แตกต่างจากที่มีการเชิดมังกรในประเทศจีนและญี่ปุ่น และถือได้ว่าเป็นต้นตำรับการเชิดมังกรในประเทศไทยซึ่งมีการแสดงเป็นที่เลื่องลือไปทั่วเอเซีย

 

การเดินทางสู่ จ.นครสวรรค์ รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท-อุทัยธานี-นครสวรรค์ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 240 กิโลเมตร

รถไฟ มีขบวนรถไฟออกเดินทางจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ - สถานีนครสวรรค์ ทุกวัน รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 0 2223 7010, 0 2223 7020, 1690 สถานีรถไฟนครสวรรค์ โทร. 0 5628 5544  www.railway.co.th

รถโดยสารประจำทาง บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ทุกวัน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ หมอชิต 2 ทุกวัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร โทร. 0 2936 2852-66 บริษัทเอกชน เช่น บริษัท วิริยะทัวร์ โทร. 0 2936 2827 บริษัท ถาวรฟาร์ม โทร. 0 2936 2945 บริษัท ทันจิตต์ โทร. 0 2936 3210 หากต้องการเดินทางไปอำเภอต่าง ๆ สามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ตรงข้ามโรงแรมพิมาน โทร.0 5622 2169 หรือ  www.transport.co.th  

ที่พักในจังหวัดนครสวรรค์ , ร้านอาหารใน จ.นครสวรรค์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย http://thai.tourismthailand.org

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ กองกิจการพาณิชย์ โทรศัพท์ 0 5680 3567 - 70 ต่อ 701

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบึงบอระเพ็ด โทรศัพท์ 0 5627 4525

www.chinesenewyear.in.th

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook