ถนนสายวัฒนธรรม ท่าช้างวังหลวง

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าช้างวังหลวง

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าช้างวังหลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ท่าช้างวังหลวง พื้นที่บริเวณท่าช้างวังหน้านี้เป็น พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติ ศาสตร์เป็น อย่างยิ่ง เพราะแต่เดิมนั้นเป็น สถานที่ตั้งของ พระราชวัง บวรสถานมงคล ที่ประทับ ของผู้ดำรงตำแหน่ง "วังหน้า " หรือก็คือ พระมหาอุปราช จนกระทั่งยกเลิกไปในสมัย รัชกาลที่ ๕ ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นสถาน ที่ตั้งของสถาบันและหน่วย งานการศึกษา ต่างๆ เช่น สนามหลวง อนุสาวรีย์ ทหารอาสา โรงละครแห่งชาติ วิทยาลัยนาฏศิลป์ พิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ พระนคร และ ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร สนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า สนามหลวง มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างกรุง รัตนโกสินทร์ เดิมยังมีพื้นที่ไม่ กว้างขวางเท่าปัจจุบัน ซึ่งมี ขนาดเนื้อที่ประมาณ ๗๘ ไร่ จนกระทั่งมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้รื้อป้อมปราการต่างๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น และใช้พื้นที่ ของวังหน้าบางส่วน แบ่งมาเพื่อ ขยายและตกแต่ง บริเวณท้องสนามหลวงจนเป็นรูปร่าง อย่างในปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ยังโปรดให้ปลูกต้น มะขามจำนวน ๓๖๕ ต้นรอบท้องสนามหลวง ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีต้นมะขาม อยู่จนทุกวันนี้ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของทหารอาสาที่ไป ร่วมรบในสมรภูมิยุโรป ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ประเทศ ไทยได้ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ประกาศสงครามกับเยอรมัน และส่งทหารอาสาไปรบ ในสมรภูมิยุโรป เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ได้เดินทางกลับ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๒ และได้นำอัฐิของทหารอาสาที่เสียชีวิตมาบรรจุ ณ อนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๖๒ โรงละครแห่งชาติ ตัวโรงละครเดิมนั้นเป็นเรือนไม้ข้างพระที่นั่งศิวโมกข์ พิมานในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ต่อมารัฐบาลได้มีมติจัดสร้างโรงละครแห่ง ชาติขึ้น เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ เช่น โขน ละคร ฟ้อนรำ และดนตรีวิทยาลัยนาฏศิลป ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๗ โดย ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อธิบดีคนแรกของกรมศิลปากร เดิมมีชื่อเรียกว่า "โรง เรียนนาฏดุริยางคศาสตร์" เป็นสถาบันศึกษานาฏศิลป์ ศิลปวัฒนธรรม และดนตรี แห่งแรกของประเทศไทย วัดบวรสถานสุทธาวาสหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ววังหน้า สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ที่เรียก ว่าวัดพระแก้ววังหน้า เพราะเป็นวัดที่อยู่ในวังเหมือนกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรด เกล้าฯ ให้ใช้ศาลาสหทัยสมาคม หรือหอคองคอเดียในพระบรมมหาราชวังจัดตั้ง "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร " ขึ้น จากนั้นพิพิธภัณฑ์ได้ย้ายมายังพระที่นั่ง ๓ องค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ ๗ พระราชทานพระ ที่นั่งและหมู่พระวิมานทั้งหมดในวังหน้าให้เป็น "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" การเดินทาง ถนนสายนี้มีเส้นทางรถประจำทางผ่านหลายสาย ได้แก่ ๓ ,๖, ๙, ๑๕, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๖๕, ๘๒, ปอ.๖, ปอ.๑๑, ปอ.๓๙ และ ปอ.พ.๘
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook