มหกรรมศิลปะการแสดง และ ดนตรีนานาชาติครั้งที่ 4

มหกรรมศิลปะการแสดง และ ดนตรีนานาชาติครั้งที่ 4

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในแต่ละปี ที่ผ่านพ้น "มหกรรมศิลปะ การแสดงและดนตรี นานาชาติ" ได้มีวิวัฒนาการขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง และทุกๆปีที่ผ่านไป การแสดงแต่ละชุด ก็ยิ่งใหญ่อลังการขึ้นเป็น ลำดับจนถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่า กรุงเทพฯ เป็น อีกเมืองหนึ่งที่ควรคู่กับสมญานาม "เมืองแห่งวัฒนธรรม" มหกรรมศิลปะการ แสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 4 จะเปิด ตัวขึ้นอย่างเร้าใจเช่นเดียวกับ ทุกครั้ง ซึ่งปีนี้ จะเปิดม่านมหกรรมการแสดง ขึ้นมาอย่างตระการตาจาก "ไอดา" (Aida) โอเปรา 4 องก์ 7 ฉาก โดย จูเซปเป แวร์ดี (Guiseppe Verdi) ต่อจากนั้นในวันศุกร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน เป็นการแสดงโอเปรา ฉบับดั้งเดิมสองเรื่องซ้อน นั่นคือ โอเปราเรื่อง "คาวัลเลเรีย รุสตีคานา" (Cavalleria Rusticana) ของ Pietro Mascagni และ "ปาลียัชชี" (Pagliacci) ของ Ruggiero Leoncaral โอเปราทั้งสองเรื่องนี้เคย จัดแสดงครั้งแรก ณ โคเวนต์การ์ เดน ใจกลางมหานครลอนดอน การแสดง ในครั้งนี้นำเสนอโดย Franco Zefferli การแสดงลำดับต่อไปคือ บัลเลต์ซึ่งปีนี้จะมาประชันกันถึง 5 เรื่อง เริ่มจากอังคารที่ 17 กันยายน คณะบัลเลต์นาชิยงนัลเดอมาร์เซย์ ที่มี Marie - Claude Pietragalla อดีตดาราของ Paris Opera Ballet เป็นผู้นำมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) จะเปิดการแสดงบัลเลต์โรแมนติกคลาสสิกเรื่อง "จิเซล" ในแง่มุมร่วมสมัย บัลเลต์เรื่องนี้โด่งดังที่สุดในยุคโรแมนติก โดยมี Jean Coralli และ Jules Perrot ออกแบบลีลา และปรับปรุงแก้ไขใหม่ ภายหลังโดย Marius Petipa การผูกเรื่อง Coralli และ Jules Perrot ออกแบบ ลีลาและปรับปรุงแก้ไขใหม่ภายหลังโดย Marius Petipa การผูกเรื่องของ Theophile Gautier ได้เค้าโครงเรื่องมาจากนิยาย ปรัมปราของเยอรมนี ซึ่งเล่าเรื่องหญิงสาวชนบทนาม จีเซล ผู้ไปหลงรัก อัลเบิร์ต โดยไม่ได้ระแคะระรายเลยว่า เขาคือขุนนางคู่หมั้นคู่หมายของบุตรสาวเจ้าเมือง ผู้รักษาสัตว์ป่าสงวนผู้หนึ่งรู้สึกอิจฉาริษยา จึงเปิดโปงสถานะอันแท้จริงของ อัลเบิร์ต จนทำให้จีเซลคลุ้มคลั่งและสิ้นใจตายในที่สุด มิใช่เพียงแค่นั้นหากแต่เรื่องราวจะยัง คงดำเนินต่อไปตามครรลองของละครยุคโรแมนติก ที่แท้จริง การแสดงเรื่องนี้เกิดขึ้น ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1841) ณ กรุงปารีสนโปเลียน โบนาปาต จะมีการแสดงในวันศุกร์ที่ 20 กันยายน โดยนักเต้นและนักดนตรี 150 ชีวิต ของเครมลิน บัลเลต์เธียเตอร์ ประพันธ์ดนตรี โดย Tikhon Khrennikov ศิลปินแห่งชาติของอดีตสหภาพโซเวียต ทประพันธ์ชิ้น นี้บ่งบอกถึงพลัง ภายในซึ่งผู้ประพันธ์ นำมาเชื่อมโยงกับบุคลิกภาพภายนอกอัน เด่นชัดทั้งในด้านบวกและลบ ขณะที่เขาอยู่ในช่วงเวลาปรับเปลี่ยนประวัติศาสตร์ บัลเลต์เรื่องนี้รังสรรค์ท่าเต้นโดย Andery Petrov ศิลปินแห่งชาติอีกคนหนึ่งของ รัสเซีย ซึ่งเป็นผู้กำกับศิลป์ รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้งเครมลิน บัลเลต์เธียเตอร์ด้วย การแสดงอีกชุดหนึ่งของเครมลินบัลเลต์เธียเตอร์ ได้แก่ "ซินเดอเรลลา" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21-22 กันยายน การแสดงชุดนี้มีเค้าโครงเดิมมาจากเรื่องของ Nikolay Volkov ประพันธ์เพลงโด Sergey Prokofiev และมี นีนา ริชชี ( Nina Ricci) แบรนด์เนมดังของฝรั่งเศสรับผิดชอบเครื่องแต่ง กายซินเดอเรลลา ตามแบบฉบับ ของเครมลิน บัลเลต์เธียเตอร์ แสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ.1991) และได้จัดแสดงอย่างต่อเนื่องมากว่า 180 ครั้ง จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าคณะละครอื่นๆ ก็เปิดการแสดงในเรื่องเดียวกันนี้ หากแต่ซินเดอเรลลา ของเครมลินฯ ก็ยังได้รับ ความนิยมชื่นชมสูงสุด บัลเลต์ลำดับต่อไป เวสต์ออสเตรเลียน บัลเลต์นำเสนอ "ดอน กิโอเต" และ คาร์เมนสวีต" ในวันที่ 24 กันยายน โดยนักเต้นและนักดนตรี 90 ชีวิต เวสต์ออสเตรเลียนบัลเลต์ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2495 (ค.ศ 1925) โดย Kira Bousloff ซึ่งเคยเป็น Ballets Russes เวสต์ออสเตรเลียนบัลเลต์เป็นหนึ่งในคณะแสดง ระดับแนวหน้าของออสเตรเลียตะวันตก และได้พัฒนาเรื่อยมาทั้งทางด้านบัลเลต์ คลาสสิกและร่วมสมัยจนมีชื่อเสียง การแสดงของคณะนี้มีความหลากหลาย มากครอบคลุมตั้งแต่บัลเลต์ที่มีความยาว สมบูรณ์จนถึงผลงานที่สั้นลง และด้วย ฝีมือของผู้กำกับศิลป์ Judy Maelor - Thomas การแสดงในค่ำคืนนี้จะตราตรึงใจ ผู้ชมทุกท่านแน่นอน บัลเลต์จะเป็สะพานเชื่อมโยงสู่รายการถัดไปซึ่งก็คือเพลงคาลลสิก ได้เป็นอย่างดี โดยในวันที่ 18 กันยายน "บูคาเรสตซิมโฟนีออร์เคสตรา" (Bucharest Symphony Orchestra) จะเปิดการแสดงโดยการนำของ โรเบิร์ต ลูเธอร์ วาทยกรผู้ไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับชาวไทย อีกต่อไป เขา ดำรงตำแหน่งผู้กำกับดนตรีให้กับอเมริกันโอเปรามิวสิกเธียเตอร์ เป็นวาทยกร รับเชิญประจำของอเมริกันบัลเลต์เธียเตอร์เมโทรโปลิแทนโอเปราเฮาส์ และ ซานฟรานซิสโกบัลเลต์และมารินสกีเธียเตอร์ นอกจากนี้ ลูเธอร์ ยังเป็นวาทยกร ให้กับคิรอฟ (มารินสกี) เธียเตอร์อยู่แปดปี นอกเหนือไปจากการร่วมงานกับ เวียนนาโอเปราเฮาส์อีกสามปี การควบคุมวงของลูเธอร์ในครั้งนี้วงออร์เคสตราจะบรรเลงเพลง Edvard Griegคือ Peer Gynt Suite หมายเลข 1และหมายเลข 20 ผลงานของนัก ประพันธ์ตอนปลายศตวรรษที่ 19 เช่น Grieg นั้น เต็มเปี่ยมไปด้วยท่วงทำนอง ที่สดชื่นสดใสผสมผสานกับความรู้สึกละห้อยโหยหาได้อย่างกลมกลืน ดนตรีคลาสสิกอีกชุดหนึ่งได้แก่ "Musica Antiqua" จากเมืองโคโลญน์ ซึ่งจะจัดการแสดงในวันที่ 26 กันยายน Musica Antiqua ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) โดย Reinhard Goebel และเพื่อนนักเรียนจากสถาบัน ดนตรีโคโลญน์ ปิดท้ายด้วยดนตรีแจ็สซึ่งมีรายละเอียดดังนี้คือ วันที่ 28 กันยายน เป็นการ แสดงของ Alex Wilson'Anglo Cubano จากสหราชอาณาจักร วันที่ 29 กันยายนเป็นคราวของ Hiroko Kokubu Qartet และ Taikoz การแสดงที่ ผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกวันที่ 11 ตุลาคม พบกับWDR Big Band วันที่ 12 ตุลาคม เป็นเวลาของดนตรีแจ๊สแบบ ดัชต์Eric Vloeimans Quintet และ Hans Ulrik Jazz Group สำหรับการแสดงของ ไทยในมหกรรมศิลปะการแสดง และดนตรี นานาชาติครั้งนี้คือ "ลิเก" ที่เลือกเรื่อง "เฟาสท์" (Faust) ของโจฮัน วูล์ฟกัง (Johann Wolfgan) มาถ่าย ทอดในรูปแบบลิเกแบดั้งเดิมซึ่ง เป็นลีลาการ แสดงที่จะไปกันได้ดีกับเรื่องราวการ ต่อรองของซานตาน การแสดงนี้นำ แสดงโดย ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง โดยมีบรูซ แกสตัน รับผิด ชอบด้านดนตรี และวงฟองน้ำ บรรเลงเพลงประกอบ การแสดงชุด นี้จะเปลี่ยนให้วันที่ 4-5 ตุลาคม เป็นอีกค่ำคืน ที่น่าประทับใจ มหกรรมศิลปะการแสดง และดนตรี นานาชาติครั้งนี้จะปิดฉากใน วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคมด้วยการแสดง "ระบำฟลามิงโก" ของ Compania Andaluza De Denza จากอันดาลูเซีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการเต้น ฟลาเมนโกคณะนักแสดงชุดนี้ประกอบ ไปด้วยนักแสดงที่ดีที่สุดของสเปน ท่านที่ชื่นชอบการแสดงที่มี เอกลักษณ์ และ แฝงด้วยวัฒนธรรม สามารถซื้อ บัตร เข้าชมได้ตามจุดจำหน่ายที่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ โทร 02-631-1100 สมาชิกบัตรอเมริกัน เอ็กซ์เพรส ติดต่อได้ที่ Applause Ticketing Service โทร 02-273-5200 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท อินเตอร์ เนชั่นแนล คัลเจอรัล โปรโมชั่นส์ จำกัด โทร 02-661-6835-7 Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook