สีสัน ละครกรุงเทพฯ

สีสัน ละครกรุงเทพฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ปรากฏการณ์ทางศิลปะครั้งสำคัญ ของคนกรุงเทพฯ กำลังจะเกิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่คณะละครเวทีร่วมสมัย คณะละครรุ่นใหม่ๆ และภาควิชา การละครในสถาบันการศึกษาต่างๆ กว่า 30 คณะ ร่วมมือกันแสดงผลงาน ละครเวทีหลากหลายให้ชมกันอย่างอิ่มตา อิ่มใจ อิ่มสมอง ตลอดเดือน พฤศจิกายน ปรากฎการณ์เชื่อมโยงอดีต ถ่ายทอดปัจจุบัน ต่อยอดอนาคต ด้วยพลังของคนรุ่นใหม่ เมื่อตึกโบราณ บ้านละครเก่า อาคารประวัติศาสตร์ ตลอดสาย ถนนพระอาทิตย์ ได้กลับมามีชีวิต และต้อนรับผู้มาเยือนจาก ปัจจุบันอีกครั้ง ในฐานะเวทีขนาดใหญ่ รองรับความหลากหลายของงานสร้างสรรค์ละคร เวทีร่วมสมัย ปรากฎการณ์ครั้งสำคัญที่จะมีการแลกเปลี่ยน ทัศนะ เสวนา ปะทะ สังสรรค์ ระหว่างผู้สร้างสรรค์งานละคร รุ่นเก่าและรุ่นใหม่ อย่างไม่แบ่งแยกค่าย ตลอดช่วงเทศกาล อันเป็นพลวัตสำคัญ ในการขับเคลื่อนให้เกิด การ พัฒนา และการบริหารจัดการทรัพยากรทางศิลปวัฒนธรรม อย่างมีระบบ และประสิทธิภาพ นี่คือสัญญาณแห่งการเติบโตทางศิลปะวัฒนธรรมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ที่ควร จับตามอง.ไม่เพียงแต่ คนกรุงเทพฯ เท่านั้นที่จะได้ชมแต่ปรากฎการณ์ครั้งนี้ จะเป็นประสบการณ์ทางศิลปะครั้งยิ่งใหญ่ สำหรับ คนไทย และผู้มาเยือน จากทั่วทุกมุมโลกโดยตลอดเดือนพฤศจิกายน คณะละครเวทีร่วมสมัยกว่า 40 กลุ่ม จัดการแสดงละครกว่า 50 เรื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาคม บางลำพู ทำให้ละครสามารถจัดหมุนเวียน ไปตามสถานที่ต่างๆ เช่น ตึกโบราณที่มีประวัติ ศาสตร์อันยาวนานมาคู่กับกรุงเทพฯ เช่น บ้านมะลิวัลย์ ซึ่งเคยเป็นตำหนักของ เจ้าฟ้ากฤษดาภินิหาร ต้นตระกูลกฤษดากร โดยตำหนักนี้รัชกาลที่ 6 เป็นผู้สร้าง ถวายให้กับเจ้าฟ้ากฤษดาภินิหาร พระราช โอรสในรัชกาลที่ 5 และปัจจุบัน บ้านมะลิวัลย์เป็นสำนักงานขององค์การ เอฟเอโอ หรือ องค์การอาหารโลก นอกจากตึกโบราณแล้ว ละคร ยังจัดตามสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านเฮมล็อค บีชบาร์ กอมเม่ บาร์บาหลี บ้านคุณหญิงเต็มสิริ บุนยสิงห์ ศิลปินเก่าแก่ รวมทั้งที่ บริเวณชุมชนและตลอดถนนพระอาทิตย์ เวทีกลางที่สวนสาธารณะสันติชัยปราการ และสองฟากถนนพระอาทิตย์ นอกจากนี้แล้วยังมีคณละครและกลุ่มละคร ที่เข้าร่วมงานนี้อย่างคับคั่ง อาทิ ฐานการละคร,Dream Masks ,ดอกไม้การบันเทิง, กลุ่ม Cherry Theatre, theatre BOX,กลุ่ม Tracks,บางกอกการละคร,B-Floor, Blue Box, 8X8 11.มันตา, มรดกใหม่, ภัทราวดีเธียเตอร์, Wow Company, เสาสูง, X-Studio, โอมเพี้ยง, T'DODGE และกลุ่มละครเพื่อสังคม, ละครชุมชน อย่างพระจันทร์เสี้ยว หรือ มะขามป้อม, กลุ่มละครสำหรับเด็ก อย่าง กลุ่มยายหุ่น ที่ขาดไม่ได้เห็นจะเป็น ภาควิชาการละครในสถาบันการศึกษาต่างๆ อย่างศรีนครินทรวิโรฒน์ ประสานมิตร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง ฯลฯ ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียด โปรแกรมการแสดงได้ จากทาง เวปไซด์ http://www.lakorn.org ซึ่งจะมีตารางการแสดงและรายการแสดง รวมไปถึงราคาบัตรเข้าชมการแสดงแต่ละชุดไว้อย่างละเอียด ข้อมูลจาก http://www.lakorn.org
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook