เทศกาล "มหาสงกรานต์เบิกบานวิถีไทย"

เทศกาล "มหาสงกรานต์เบิกบานวิถีไทย"

เทศกาล "มหาสงกรานต์เบิกบานวิถีไทย"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จากความสำเร็จจากการจัด "เทศกาลเย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ " ภายใต้โครงการเที่ยวทั่วไทยไปได้ทุกเดือน เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ในปีนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหลายหน่วยงาน พร้อมแล้วที่จะนำความสนุก ความประทับใจของมหาเทศกาลครั้ง สำคัญของไทย กลับมาให้คนไทยได้สนุกสนานชุ่มฉ่ำ เต็มอิ่มกับกิจกรรมเพื่อความบันเทิงรับหน้าร้อนกันอีกครั้ง ตลอด 9 วัน 9 คืน นอกจากนี้ยังรณรงค์ให้มีการเล่นน้ำสงกรานต์อย่างถูกต้องตามประเพณีในฐานะเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาร่วมสนุก และเฉลิมฉลองไปพร้อมๆ กับคนไทยสมกับที่เป็นเทศกาลงานประเพณีท่องเที่ยวระดับโลก (World Festival) กิจกรรมไฮไลต์ในกรุงเทพมหานคร - พิธีเปิดเทศกาลมหาสงกรานต์เบิกบานวิถีไทย ในวันที่ 7 เมษายน 2546 เวลา 16.00 - 20.00 น. ณ บริเวณหน้าลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ และถนนราชดำเนินกลาง ตลอดทั้งสาย โดย เรียนเชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีทำพิธีเปิดงาน พบกับขบวนแห่ตำนานมหาสงกรานต์ 5 ขบวนหลักจากสถาบันการศึกษาในกรุงเทพฯ ประกอบด้วย - ขบวน สรงน้ำพระเย็นฉ่ำทั่วหล้า เป็นขบวนแห่ที่เกี่ยวกับการสรงน้ำพระในวันขึ้นปีใหม่ไทย เพื่อความเป็นสิริมงคลร่มเย็นเป็นสุข โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง - ขบวน เริงร่ามหาสงกรานต์ เป็นขบวนแห่ที่บอกเล่าถึงตำนานนางสงกรานต์ประจำปี 2546 โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง - ขบวน สืบสานวัฒนธรรมประเพณี เป็นขบวนแห่ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ 4 ภูมิภาค โดย สถาบันราชภัฏสวนดุสิต - ขบวน บำรุงรักษ์วิถีสิ่งแวดล้อม เป็นขบวนแห่ที่แสดงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่อวเที่ยว โดย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - ขบวน นอบน้อมพร้อมเพราเยาวชนไทย เป็นขบวนแห่ที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยและการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทย โดย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นอกจากนี้ ยังพบกับการประชันความยิ่งใหญ่ของขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์จาก 76 จังหวัด พร้อมการประกาศผลการประกวดขบวนแห่ และพิธีมอบรางวัลมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท - การตกแต่งและประดับประดาถนนราชดำเนินกลาง บริเวณเกาะกลางถนนและทั้งสองฟากฝั่งถนน ระหว่างวันที่ 7-15 เมษายน 2546 เพื่อเฉลิมฉลองตอนรับเทศกาลสงกรานต์ ให้มีความวิจิตรงดงามตระการตา และสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย ด้วยการประดับโคมไฟ และริ้วธง ให้มีความสวยงามทั้งกลางวันและกลางคืน รวมทั้งกิจกรรมสรงน้ำพระ โดยอัญเชิญพระพุทธรูปบูชามาเพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ การจัดซุ้มและป้ายให้ความรู้เกี่ยวกับงกรานต์ ทั้ง 7 นาง - การแสดงน้ำพุ ประกอบ แสง เสียง บนเกาะกลางถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่สะพานผ่านฟ้า จนถึงโรงแรมรัตนโกสินทร์ โดยนำเสนอตำนานสงกรานต์ ด้วยเทคนิคน้ำพุตลอดสาย ระหว่างวันที่ 7-15 เมษายน 2546 พบกับความตระการตาของการแสดงน้ำพุเต้นระบำ ด้วยการสร้างสรรค์น้ำพุสุดอลังการ ความยาวกว่า 1000 เมตร ดังนี้ บริเวณต้นถนนราชดำเนินกลางเชิงสะพานผ่านฟ้า-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พบกับความอลังการของ "ซุ้มประตูแก้วแห่งสงกรานต์" ซุ้มประตูน้ำที่มีความสูงกว่า 6 เมตร ต่อเนื่องด้วยการเล่าขานตำนานของท้าวกบิลพรหม ประกอบน้ำพุเต้นระบำ ด้วยการจำลองฉากพระราชวังแห่งกบิลพรหม ป่าหิมพานต์ และเขาพระสุเมรุที่มีความสูงกว่า 8 เมตร บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย - สี่แยกคอกวัว จัดแสดงน้ำพุเต้นรำประกอบดนตรี Thai Contemporary ประกอบแสง เสียง สวยงาม ชุด นางสงกรานต์ทั้ง 7 นาง ประทับอยู่บนสัตว์พาหนะบนแท่นน้ำที่มีความสูงกว่า 4 เมตร บริเวณสี่แยกคอกวัว - โรงแรมรัตนโกสินทร์ สนุกสนานกับน้ำพุ ชุด ละอองดาวดึงส์ (Heaven Mist) ที่สร้างบรรยากาศความสนุกสนานแบบ Siam Water Festival ด้วยพญานาคา พ่นละอองน้ำเป็นระยะๆ ครอบคลุมพื้นที่ความยาวกว่า 100 เมตร ด้วยเทคนิค Water Bomb บริเวณต้นคลองคูเมือง เป็นการแสดงบนจอม่านน้ำ (Water Screen) ตำนานประเพณีสงกรานต์ The Legend of Songkran Festival โดยแบ่งการแสดงเป็น 23 รอบ รอบละ 10 นาที คือ 19.30 น., 20.30 น. และ 21.30 น. ตามลำดับ กำหนดการแสดงน้ำพุชุด ตำนานประเพณีสงกรานต์ The Legend of Songkran Festival -7 เม.ย. 46 มีการแสดงน้ำพุตั้งแต่เวลาเปิดงาน คือ 16.00 น. - 22.00 น. โดยหยุดพักทุกครึ่งชั่วโมง -8-15 เม.ย. 46 การแสดงน้ำพุจะแบ่งเป็นรอบๆ ดังนี้ 12.00-13.00 น., 15.00-16.00 น., 19.30-20.30 น., 21.00-22.00 น., และ 22.30-23.00 น. (ตรวจสอบเวลาที่แน่นอนอีกครั้งที่ โทร.1672) กิจกรรมอื่นๆ - ไหว้พระขอพร 9 สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ วัดสุทัศน์ ศาลเจ้าพ่อเสือ วัดชนะสงคราม ศาลหลักเมือง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดพระเซตุพน (วัดโพธิ์) วัดกัลยาณมิตร วัดอรุณ และวัดระฆัง โดย ททท. ขอความร่วมมือวัดและสถานที่ต่าง ๆ ดังกล่าวในการจัดกิจกรรม เช่น การนำพระพุทธรูปออกมาให้ประชาชน สรงน้ำพระ การจัดกิจกรรม ตามประเพณี เช่น ก่อเจดีย์ทราย การละเล่นไทย เป็นต้น - การจัดงานเทศกาลสงกรานต์ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ -กรุงเทพมหานคร จัดระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2546 -ภาคเอกชน จัดระหว่างวันที่ 11,15 เมษายน 2546 -สำนักงานเขตบางพลัด จัดระหว่างวันที่ 8-12 เมษายน 2546 ณ ใต้สะพานพระราม 8 (ฝั่งธนบุรี) -ประชาคมต่าง ๆ ในเขตพระนคร ณ สวนสันติชัยปราการ ถนนพระอาทิตย์ ถนนข้าวสาร ฯลฯ ในจัดระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน 2546 ภาพน้ำพุสงกรานต์ที่ถนนราชดำเนิน ตำนานสงกรานต์ 8 สถานที่คัดสรรแล้วเพื่อสงกรานต์ของชาวกรุง E-Card วันสงกรานต์ วันสงกรานต์ เล่นปืนฉีดน้ำ ระวังติดคุกฟรี ห้ามสาวนุ่งสั้น-สายเดี่ยวเล่นน้ำสงกรานต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook