เสาชิงช้า

เสาชิงช้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : 8 เมษายน 2327(ร.1)

เมื่อพูดถึงกรุงเทพมหานคร หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ คนไทยและชาวต่างชาติน่าจะนึกถึง โดยเฉพาะโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็น พระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ฯลฯ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่ง ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เมื่อนึกถึงกรุงเทพ นั่นก็คือ เสาชิงช้าปฏิมากรรมยักษ์สีแดงก่ำ ที่ตั้งอยู่ ระหว่าง ศาลาว่าการกรุงเทพฯ และ วัด สุทัศน์เทพวรารามนั้น เราเรียกกันสั้นๆว่า เสาชิงช้า มากว่า 2 ศตวรรษ และ แม้ว่าในปัจจุบันเราจะได้เห็นแต่ เสาแดงที่ตั้งสงบนิ่งโดยปราศจากกระดานหรือที่ยืนชิงช้า แต่ในอดีตนั้น ชิงช้ายักษ์นี้ เป็นที่ประกอบพระราชพิธีอันสำคัญ มาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 และ มาสิ้นสุดเอาในสมัย รัชกาลที่ 7 ก่อนจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ประชาธิปไตย ได้เพียงปีเดียวเป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสนาฮินดูนั้นเป็น ศาสนาที่มีบทบาทในสังคมไทย เทียบคู่มากับ พุทธศาสนามาเนิ่นนาน เมื่อมาถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ทรงพระราชทานที่ให้กับเหล่านักบวชพราหมณ์ ในเขตพระนครที่ไม่ห่างจาก พระบรมมหาราชวังมากนัก นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้าง เทวสถาน เพื่อให้เป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าฮินดู พร้อมทั้งเสาชิงช้ายักษ์ เหมือนกับ สมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เหตุที่เชื่อกันว่า ควรมีการโล้ชิงช้านั้น สมเด็จพระกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะมีไว้แก้บน และการแก้บนนี้จะต้องทำต่อหน้ากษัตริย์ เนื่องจาก กษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ( ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช) แต่เนื่องจากกษัตริย์เองก็มีพระราชกรณียกิจที่ต้องทำมาก จึงได้ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นผู้แทนพระองค์ และตัวแทนที่ว่านี้เรียกว่า พระยายืนชิงช้าพิธีกรรมอันน่าหวาดเสียวนี้มาสิ้นสุดลงเมื่อปีพ.ศ.2474 ในสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเศรษฐกิจในสมัยนั้นตกต่ำถึงขีดสุด จำต้องมีการลดค่าใช้จ่ายลงไปเป็นอันมาก และพิธีนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook