วัด บวรนิเวศนิเวศวิหาร

วัด บวรนิเวศนิเวศวิหาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ชาวไทยมีพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ มาตั้งแต่เริ่มสร้างชาติ ดังนั้นที่ที่เป็นที่ประชุมชนของคนไทย นับตั้งแต่สมัยโบราณก็ย่อมต้องเป็น วัด สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ใช้สำหรับ ทำพิธีทางศาสนาด้วย เมื่อมีสถานอันศักดิ์สิทธิ์ สำหรับทำพิธีแล้ว ก็ย่อมต้องมี ผู้ทำพิธีเป็นแม่นมั่น และ พระสงฆ์อันเป็นสาวก ของ พระพุทธองค์ ก็เป็นผู้ดำเนินการเหล่านี้ โดยมีหัวหน้าสงฆ์ เป็นเจ้าอาวาส และ มีสมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุขสูงสุดของพุทธศาสนาในประเทศไทยวัดดังแห่งนี้ สร้างขึ้นใน รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เดิมนั้น ชาวบ้านในแถบบางลำพู เรียกกันว่า วัดใหม่ เป็นวัดที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ ในช่วงปี พ.ศ. 2367 - 2375 คาดว่าที่เรียกเช่นนี้ เพราะสร้างขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 เพราะ ในบริเวณนั้น มีวัดที่สร้างขึ้นอยู่ก่อนแล้ว คือ วัด รังสีสุทธาวาส แต่ในที่สุด วัดนี้ ก็ถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ วัดใหม่ เมื่อพูดถึง สมเด็จพระสังฆราชของไทยแล้ว หลายคนมักจะนึกถึง วัดที่พระองค์ทรงพำนักอยู่ อย่างเช่นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จสังฆราลมหาสังฆปรินายก ซึ่งเป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ วัด บวรนิเวศวิหาร วัดหลวง อันเป็นที่ที่น่าจะมี พระสังฆราชของไทย ทรงเคยประทับที่ วัดนี้ มากที่สุดภายหลังจากที่ เจ้าฟ้ามงกุฏ หรือมีชื่อทางบรรพชิตว่า เจ้าฟ้าวชิรญาณวงศ์ (รัชกาลที่ 4) เสด็จมาประทับจึงทรงได้ชื่อเสียใหม่ว่า วัด บวรนิเวศวิหาร และแม้ว่าวัดนี้จะได้สร้างในสมัยของรัชกาลที่ 3 แต่ผู้สร้างนั้น กลับเป็นพระอนุชาคือ เจ้าฟ้ามงกุฏ และที่วัดนี้เองที่ เจ้าฟ้าวชิรญาณวงศ์ ทรงสถาปนานิกายทาง ศาสนาพุทธใหม่ เป็น ธรรมยุติกนิกาย โดยที่พระองค์ดำริให้เป็น นิกายที่เคร่งศีล และ ดำเนินชีวิต ให้ใกล้เคียงกับ สมัยพุทธองค์ให้มากที่สุด และ เมื่อสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้ามงกุฏจึงได้สืบราชสมบัติต่อ ทำให้พระองค์ต้องทรงลาสิกขา และ ทรงแต่งตั้งอธิบดีสงฆ์องค์ใหม่ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แทน นับแต่นั้นมา วัดบวรฯนี้ จึงกลายเป็นที่พำนักของ สมเด็จพระสังฆราชทุกองค์ มาจนบัดนี้ วัดนี้แม้จะเปิดให้ พุทธศาสนิกชน และ บุคคลทวไปเข้าเยี่ยมชม และ ทำพิธีทางพุทธศาสนาได้ แต่ด้วยเหตุที่มีสมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน เสด็จประทับอยู่ จึงเปิดให้ใช้วัดได้เพียงบางส่วน ดังนั้นพระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองอย่าง พระพุทธชินสีห์ ที่ประดิษฐาน อยู่เบื้องพระพักต์พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ในอุโบสถนั้น ก็จะเปิดให้บุคคลภายนอก ได้เข้ามาสักการะ ได้เพียงบางคราวเท่านั้น แต่พระเจดีย์ใหญ่ ที่มองเห็นได้แต่ไกลนั้น เป็นที่เก็บ พระบรมสารีริกธาตุ และ มีพระไพรีพินาศประดับเคียงอยู่ ตรงซุ้มเก๋งด้วยนั้น เปิดให้บุคคลทั่วไป เข้าชม และ สักการ ได้ตามอัธยาศัยสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook