พระที่นั่งบรมพิมาน

พระที่นั่งบรมพิมาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 นับตั้งแต่ที่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระปฐมบรมราชจักรีวงศ์ในปี พ.ศ. 2325 นั้น พระองค์ ทรงตั้งพระราชหฤทัยมาหลายเพลาแล้วว่า จะสร้างพระบรมมหาราชวัง ในสมัยพระองค์ขึ้น ให้ใกล้เคียงกับ พระบรมมหาราชวังเดิม ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งจำลองการแบบ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม อันเป็นวัดในพระราชฐาน ให้คล้ายกับ วัด พระศรีสรรเพชร ตามแบบกรุงเก่าด้วยดังนั้น เมื่อเริ่มมีการลงเสาสร้างวังขึ้นนั้น พระที่นั่งต่างๆ ในยุค รัตนโกสินทร์ตอนต้น ล้วนแล้วแต่สร้างให้ใกล้เคียงกับพระนครเก่า ด้วยช่างฝีมือแบบ วังหลวงเก่ามากมายมานาน เมื่อล่วงเข้าสู่ ยุค รัตนโกสินทร์ตอนกลางในสมัย พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ชาติตะวันตกทะลักทลายเข้าสู่ สยามประเทศมากขึ้น ซึ่งตรงกับ ยุค ล่าอาณานิคมของโลก พอดี แต่กระนั้น ในหลวง รัชกาลที่ 4 ก็ยังทรงมีพระราชดำริ ให้สร้างพระที่นั่งขึ้น ตามแบบประเพณีนิยม ดังที่อดีตกษัตราธิราชเจ้า ทรงดำเนินการมาจวบจนกระทั่ง พระราชโอรส คือ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสันตติวงศ์ ต่อพระราชบิดา ทรงเริ่มประเพณีโบราณ ด้วยการสร้าง พระที่นั่งประจำพระองค์ขึ้นก่อน เป็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ด้วยลักษณะทาง สถาปัตยกรรมผสมผสาน แบบวิคตอเรียนเรอเนสซองของอังกฤษ และ ยอดพระมหาปราสาท แบบไทยเดิม ดังนั้น พระที่นั่งจักรีนี้ จึงเป็นสิ่งปลูกสร้างแบบ ลูกครึ่งแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง จากนั้นมาในช่วง พ.ศ.2440-2446 รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ ให้สร้าง พระที่นั่งเพิ่มอีกแห่ง ในพระราชฐาน เพื่อใช้เป็นลานเทียบ พระราชยาน สำหรับ พระราชอาคันตุกะ และ ใช้เป็นทางเสด็จ พระราชดำเนินของพระมเหสีเทวี และ ข้าราชบริพารฝ่ายใน เมื่อดำริเช่นนี้แล้ว จึงโปรดให้ใช้พื้นที่ว่าง ด้านขวามือ ของ พระที่นั่งจักรี ปลูกสร้างพระที่นั่งแห่งใหม่ ด้วยลักษณะทางสถาปัตยกรรม แบบเรอเนสซองซ์ ที่พระองค์โปรดปรานเป็นพิเศษล้วนๆ พระที่นั่งบรมพิมานนี้ เป็นพระที่นั่งเดียวที่ไม่อนุญาติให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook