วัด พนัญเชิง

วัด พนัญเชิง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : พ.ศ.1893 ชาวจีนเข้ามายังชีพในประเทศไทยมาช้านาน อีกทั้งยังมีบทบาทอย่างสูงในราชสำนัก สิ่งหนึ่งที่เราจะสังเกตได้ถึงบทบาท และ รากฐานวัฒนธรรมของชาวจีน นั่นก็คือ การสร้างสถานศักดิ์สิทธิ์ และ ในสมัยอยุธยานั้น มีอารามแห่งหนึ่งที่มี ตำนานเก่าแก่ของชาวจีนบอกเล่าผ่านสิ่งปลูกสร้างภายในวัดออกมามากมาย วัดที่ว่านั้นก็คือ วัดพนัญเชิงวัดพนัญเชิงนี้ ต้องนับเป็นวัดแบบพุทธศาสนา ที่มีที่มาอันน่าเหลือเชื่อบรรจุอยู่ภายในวัดมากมาย เพราะนอกจากวัดนี้ จะดำเนินการตามแบบพุทธศาสนานิกายเถรวาท แล้ว อีกส่วนของวัดก็ยังเป็นศาลเจ้าอันเป็นพุทธแบบมหายานอีกด้วย ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่านั้น กลับเป็นพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์มหึมา ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดนั้น เป็นพระพุทธรูปแบบเถรวาท ตามสร้างลีลาตามแบบฉบับของอโยธยาแท้ๆ นั้น มีชื่อเรียกกันติดปากมาตั้งแต่องค์นี้ ถูกตั้งเป็นพระประธานว่า ซำปอกง คำว่าซำปอกงนั้น เป็นภาษาจีนที่แปลได้ควาไทยตามที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้ว่า พระไตรรัตนนายก ซำปอกงนั้นมิใช่เป็นนามที่เราเรียกขานกัน เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเท่านั้น หากแต่เป็นคำเรียกรวมของอดีตบรรพบุรุษจีนท่านหนึ่งกับพระพุทธรูปใหญ่ ด้วยเชื่อว่าทั้ง 2 นี้มีที่มาที่เดียวกันนั้นคือมาจาก นายพลเรือ ผู้หญิงใหญ่ของกษัตริย์ราชวงศ์หมิงของจีนนามว่า เจ็งโหว เจ็งโหวเป็นผู้บัญชาการทัพเรือที่มีเชื้อสายมงโกล ที่แล่นเรือสำรวจเส้นทางครอบคลุมมาจนทั่วอุษาคเนย์ จรด มาดากัสการ์ไปจนถึงทางตะวันตกของทวีปอาฟริกาจากจดหมายเหตุของไทยนั้นระบุว่าเจ็งโหวมาถึงเมืองไทยในปี พ.ศ. 1953 ดังนั้นเจ็งโหว จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของชนหลายกลุ่ม ทั้งในประเทศจีน และ ประเทศในแถบอุษาคเนย์ อีกทั้งยังเชื่อกันด้วยว่าตนนั้นสืบเชื่อสายมาจาก เจ็งโหวผู้พิชิต ทั้งๆ ที่จริงแล้วตัวเจ็งโหว นับถือศาสนาอิสลาม ตามเผ่าพันธุ์มองโกลของตน ที่สำคัญตามหลักฐานจีนที่บัไว้กลับบอกว่านายพลเจ็งโหวเป็น ขันที เพื่อเข้ารับราชการในแผ่นดินจีน และทำความดีความชอบจนได้รับพระราชทานตำแหน่งสูงสุดเป็นทั้งขันทีใหญ่และนายพลเรือในเวลาเดียวกัน ชาวจีนที่แต่เดิมนับถือบูชา นายพลเจ็งโหว ประดุจเทพ และ มหาบรรพบุรุษของตนอยู่แล้ว จึงได้พร้อมใจเรียก เจ็งโหว และ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ในความหลายระคนกันว่า ท่านผู้มีนามอันอันยิ่งใหญ่ที่ถึงพร้อมด้วย ความรู้ คุณธรรม และวายุวัฒน์ หรือที่เรียกตามภาษาจีนว่า ซำปอกง มาจนถึงปัจจุบันสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook