วัด มหาธาตุ

วัด มหาธาตุ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว) เมืองไทยนั้นมีกระแส ตื่นสมบัติ มานานแล้ว มิใช่เพียงแค่จะมาตื่นเอา เมื่อทราบข่าวลือเกี่ยวกับ ถ้ำลิเจีย ที่กาญจนบุรีเท่านั้น และ ใน ยุค รัตนโกสินทร์นี้ ก็เหมือนกันที่เกิดอาการตื่นสมบัติ และ เรื่องตื่นสมบัติที่ชื่อดังที่สุด และ โกลาหลที่สุด เคยเกิดขึ้นแล้วใน สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเกิดการค้นพบกรุสมบัติขึ้นในวัดโบราณแห่งหนึ่งในพระนครเก่า วัดที่ว่านั้นชื่อ วัด มหาธาตุ อันเป็นวัดหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับ วัด ราชบูรณะ กลาง พระนครศรีอยุธยานั่นเอง วัด มหาธาตุ อันเคยมีมหาสมบัติอัดแน่นอยู่ในวัดนั้น ถูกสถาปนาขึ้นเป็นวัดครั้งแรกในรัชสมัยของขุนหลวงพระงั่ว พ.ศ. 1917 แต่มาสร้างจนแล้วเสร็จในอีก 14 ปีต่อมา ในสมัยสมเด็จพระราเมศวร วัดนี้แม้ว่าจะใช้เวลาสร้างนานมาก แต่ก็มิใช่วัดที่แข็งแกร่งอย่างที่พึงจะเป็น เพราะ หลังจากที่วัดเปิดให้มีการทำสังฆกรรมมาราว 240 ปี ยอดของพระปราง ก็เกิดทรุดตัวลงมา ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง อันเป็นพระมหากษัตริย์ไทย ที่ขึ้นชื่อเรื่องการสร้างวัดวาอาราม มากที่สุดพระองค์หนึ่งนั้น ก็โปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่ ตามแบบสมัยนิยมในยุคของพระองค์ และ วัดนี้ใช้เวลาบูรณะอยู่กว่า 6 ปีจึงจะเสร็จ แต่แล้วอารามหลวงนี้ก็มาเสียหายยับเยินอีกครั้ง เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ทำให้วัดนี้กลายสภาพมาเป็นวัดร้างอย่างสมบูรณ์แบบมาจนกระทั่งปัจจุบันวัด มหาธาตุ ณ กรุงเก่านี้ เมื่อครั้งยังเป็นอารามหลวง ที่ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมแก่เจ้าแผ่นดิน สงฆ์ และ ไพร่ฟ้านั้น วัดนี้จัดว่าเป็นวัดที่มั่งคั่งไปด้วย พระบรมสารีริกธาตุ และ แก้วแหวนเงินทองมากมาย และ สมบัติทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็ไม่ปรากฏว่า ถูกแตะต้องจากมือมนุษย์ผู้ใด จวบจนกระทั่งเข้าสู่ ยุครัตนโกสินทร์นั่นแหละ ที่ปรางค์ประธานวัดก็พังทลายลงมาอีกครั้ง คราวนี้จึงได้มีผู้ละโมบมากมาย ลักลอบกันเข้าไปขุดหาสมบัติ และ จากหลักฐานที่ระบุไว้ในเอกสารกรมศิลปากรก็ระบุชัดว่า วัดมีร่องรอย การถูกรื้อขุดหาสมบัติกันมาตลอด ในปีพ.ศ. 2499 กรมศิลปากรก็ดำเนินการขุดหาสมบัติ ที่บริเวณปรางค์ประธาน ตามรอยเจาะที่มิจฉาชีพใช้เจาะลงไปหาสมบัติ ก็พบว่ากรุสมบัตินี้มีจริง อีกทั้งยังมีการฝังกรุสมบัติไว้ถึง 7 ชั้นย่อยด้วยกัน สิ่งที่ถูกค้นพบมากที่สุด ในการขุดคราวนั้นคือพระบรมสารีริกธาตุ ตามด้วยแผ่นทอง แผ่นเงิน และ ที่ใหญ่ที่สุดคือ โต๊ะสำริด สมบัติแห่งอารามนี้จึงถือว่ามีค่าเกินประมาณ และ ปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สามพระยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยาสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook