พระราชวังบางปะอิน ตอน พระที่นั่งเวหาสจำรูญ

พระราชวังบางปะอิน ตอน พระที่นั่งเวหาสจำรูญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : พ.ศ.2432 พระราชวังของไทยในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง เป็นต้นมานั้น โดยปกติแล้ว พระมหากษัตริย์ไทย และ เจ้าฟ้ากรุงสยามทั้งหลาย โปรดที่จะสร้างพระราชวัง หรือที่ประทับส่วนพระองค์ เป็นแบบตะวันตก จะมีเพียงไม่กี่แห่ง ที่สร้างตามแบบศิลปะอุษาคเนย์หรือของเอเชียชาติอื่น ดังที่เราจะได้เห็นร่องรอยอยู่บ้างจาก พระนครคีรี หอเหมมณเทียรเทวราช หรือ วังสวนผักกาด เป็นต้น ที่ บางปะอินเองก็เป็นวังที่มีหมู่พระที่นั่ง และ อาคารอื่นๆ อันมีความหลากหลาย คือมีตั้งแต่แบบขอม แบบกรีก แบบยุโรป ไปจนถึงแบบจีน ซึ่งตามปกติแล้ว พระราชวังของไทยแบ่งรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมออกเป็นเพียง 2 แบบหยาบๆ คือแบบขอม และ แบบตะวันตก แต่ที่ บางปะอินนี้มี พระที่นั่งพิเศษที่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะจีนชั้นสูง และ เป็นพระที่นั่งที่พระเจ้าอยู่หัว มิได้ดำริให้สร้างขึ้น หากแต่พระที่นั่งแบบจีนนี้ ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มพ่อค้าชาวจีนที่พำนักอยู่ ณ กรุงสยาม พ่อค้ากลุ่มนี้ขอพระราชทานพื้นที่ใน พระราชวังบางปะอินนี้ สร้างพระที่นั่งหลังใหม่ขึ้น เพื่อสนองพระกรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าหลวงที่มีต่อ ชาวจีนโพ้นทะเลในไทยดยหวังจะให้พระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประทับในช่วงหน้าหนาว เทียนหมิงเตี้ยน หรือแปลเป็นชื่อไทยว่า พระที่นั่งเวหาสจำรูญนั้น เป็นชื่อที่กลุ่มพ่อค้าชาวจีนทูลเกล้าถวาย พร้อมพระที่นั่งนั้นเป็น ตึกทรงจีนทาสีแดงสดสูง 2 ชั้น ตกแต่งด้วยเครื่องเรือนแบบจีนใน ราชวงศ์ ชิง ภายในมีห้องใหญ่น้อย แยกย่อยมากมายห้องที่สำคัญที่สุด อยู่ที่ชั้นบนตอนกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระป้ายจารึกอักษรจีนพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนามาภิไธยสมเด็จพระสิรินทรามาตย์ พระป้ายจารึกทั้ง 2 องค์นี้รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2433 และป้ายที่ 3 ก็ตามมาในอีก 37 ปีถัดไป ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดให้สร้างเป็นคู่ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ มาในปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บำเพ็ญพระป้ายทั้ง 4 ทุกวันตรุษจีน พระที่นั่งเวหาสจำรูญนี้ เป็นพระตำหนักที่กลุ่มพ่อค้าชาวจีนคัดสรรสิ่งดีๆ อันเป็นมงคลนำมาประดับประดาไว้ในที่นี้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้สักลงรักปิดทอง การเลือกเครื่องเรือนตามแบบอันเป็นที่นิยมในประเทศจีนสมัยนั้น การเลือกเอาสัญลักษณ์ อันเป็นมงคลของจีนทั้งสัตว์ชั้นสูงในวรรณคดี รวมทั้งผลไม้มงคลตามแบบประเพณีนิยมของชาวจีน ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ เราจะเห็นได้ตั้งแต่หลังคาไปจนถึงพื้นพระที่นั่ง ปัจจุบันพระที่นั่งเวหาสจำรูญ เปิดให้ชมเฉพาะชั้นล่าง และ ชั้นบนเพียงบางส่วน ส่วนห้องที่เก็บพระป้ายนั้นไม่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชมแต่อย่างใด และที่วังนี้ แม้ว่าจะจ่ายค่าผ่านประตูในชั้นแรกแล้ว แต่เมื่อต้องการเดินชมพระที่นั่งแห่งนี้จะต้องเสียค่าเข้าเพิ่มอีก 20 บาท ต่างหากสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลLEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook