สะพานมอญ

สะพานมอญ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 3 ที่ดินบนเกาะรัตนโกสินทร์นั้น แม้ว่าแต่เดิมพื้นที่บางส่วนจะเป็นพื้นที่เดิมของชาวจีนที่มาตั้งรกรากอยู่กันตั้งแต่สมัยก่อนยุคกรุงธนบุรี แต่ก็ยังมีชนต่างด้าวกลุ่มน้อยบางส่วนอยู่เหมือนกันที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่บนเกาะ รัตนโกสินทร์มาช้านาน และหนึ่งในกลุ่มชนกลุ่มน้อยนี้ก็มีชาวมอญรวมอยู่ด้วย ชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบนเกาะรัตนโกสินทร์นั้น เขามีบรรพบุรุษมอญที่เข้ามาอยู่ในสยามประเทศนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อถึงคราวเสียกรุง มอญกลุ่มนี้ก็อพยพตามชาวไทยที่ยังเหลืออยู่มาสมทบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน และเมื่อสมเด็จฯพระเจ้าตากสินทรงสถาปนาองค์เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ชาวมอญกลุ่มนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมบริเวณคลองคูเมืองเดิม ใกล้ๆ กับป้อมวิชัยประสิทธิ์ได้กาลร่วงมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ผู้นำกลุ่มชุมชนชาวมอญได้ขออาศัยชาวมอญในบริเวณคูเมืองเดิมนี้มาช่วยสร้างสะพานข้ามคลองเส้นใหม่ที่ใช้เชื่อมถนนเจริญกรุงแทนสะพานไม้เดิมที่ผุผังจนแทบจะใช้การไม่ได้ ดังนั้นสะพานใหม่ที่สร้างจากหยาดเหงื่อแรงงานของชาวมอญนี้จึงออกมาเป็นสะพานไม้สักหนาใหญ่ที่เชิงสะพานทั้ง 2 ข้างนั้นก็อิฐถือปูนเป็นกำแพงแนวรับ นับแต่นั้นมาสะพานนี้ก็ได้ชื่อที่เรียกกันง่ายๆ ว่า สะพานมอญ สะพานมอญไม้สักนี้เป็นสะพานยาวที่ให้ผู้คนได้สัญจรไปมามาเกือบ 100 ปีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับสั่งให้รื้อโครงสะพานเดิมออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ให้ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยที่ราวสะพานที่แต่เดิมเป็นราวไม้สักหนาธรรมดาๆ ก็เปลี่ยนให้เป็นราวสะพานลูกกรงเหล็กดัดลวดลายแบบอาร์ตนูโว ตามที่กำลังเป็นที่นิยมใน ยุโรปในสมัยนั้น ปัจจุบันสะพานมอญก็ยังเป็นสะพานที่ผู้คนใช้สัญจรไปมา และยังตั้งอวดความงามในศิลปะแบบอาร์ตนูโวให้เราได้ชื่นชมกันอยู่เสมอสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook