ถนน ราชดำเนิน (ตอนที่ 1)

ถนน ราชดำเนิน (ตอนที่ 1)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเริ่มมีเส้นทางสัญจรที่เรียกว่า ถนน เป็นครั้งแรกร้อยกว่าปีที่แล้ว เรามีถนนสายแรกที่ชื่อถนน เจริญกรุง ซึ่งสร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามคำกราบบังคมทูลขอของเหล่าราชทูตในสยาม ที่หวังจะมีเส้นทางสัญจรที่ราบเรียบสายยาว เพื่อจะได้เป็นที่ที่รถม้า และยานพาหนะแบบตะวันตกเดินทางได้โดยสะดวก และนับแต่นั้นมา สยามของเราจึงมีเส้นทางคมนาคมตามแบบตะวันตกเรื่อยมา ครั้นมาถึงรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสานต่อพระราชดำริจากรัชกาลที่ 4 ในแผนการขยายประเทศ ให้สอดรับกับนานาประเทศ ด้วยการสร้างเส้นทางคมนาคมเพิ่มมากขึ้น และในแผ่นดินของพระองค์นี่เอง ที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้งถนนสายสำคัญที่สุดสายหนึ่งในกรุงเทพขึ้น ถนนสายนี้เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินจากพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังดุสิต ดังนั้นถนนสายนี้จึงเป็นถนนเส้นยาวที่สุดที่กินเนื้อที่ถึง 2 เขต คือเขตพระนครและเขตดุสิต และแบ่งเส้นทางเป็น 3 ช่วงคือช่วง ถนนราชดำเนินนอก คือ เนื้อที่จากสะพานผ่านฟ้าลีลาศ มาจนถึง ราชดำเนินกลาง คือ ท้องสนามหลวง ไปจนถึง ราชดำเนินใน คือ ถนนหน้าพระลาน จรด สะพานผ่านพิภพลีลาศ ซึ่งถนนหลวงสายนี้ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2446 เป็นถนนที่ชาวไทยภูมิใจว่าเป็น Avenue แห่งแรก และแห่งเดียวของไทย

สิริลักษณ์ ินตนะดิลกกุล

สถานที่สำคัญที่อยู่บนถนนนี้ โดยสังเขป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

แยกคอกวัว

อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย

ศูนย์สังคีตศิลป์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook