โรงเรียนเพาะช่าง

โรงเรียนเพาะช่าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โรงเรียนเพาะช่าง ที่อยู่ : ถนนตรีเพชร เขตพระนคร สร้างเมื่อ : รัชกาลที่ 5 วิชาช่างฝีมือที่เปิดสอนกันในสถาน ศึกษาต่างๆ ในบ้านเรานั้น มีมานานหลายร้อยปี และถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่ผลิตช่างฝีมือออก มาได้น้อย ดังนั้น ในสมัยโบราณช่างศิลป์ หรือช่างสิบหมู่จึงมีรายได้ ที่งดงามและเป็นที่ต้องการจากวังหลวงมาโดยตลอด และบนเกาะรัตนโกสินทร์ ย่านปากคลองตลาด อันเป็นย่านที่มีโรง เรียนการช่างฝีมือหลวงตั้งติดกันถึง 2 แห่ง แห่งแรกนั้นคือโรงเรียนเสาวภา ที่ปัจจุบันมีชื่อใหม่ว่าเป็นสถาบันราชภัฐเสาวภา และแห่งที่ 2 คือโรงเรียน เพาะช่าง แม้ว่าโรงเรียนเพาะช่างกับโรงเรียนเสาวภาจะเปิดทำการสอนใน หลักสูตรที่คล้ายกัน แต่ด้วยเหตุที่โรงเรียนเพาะช่างยังคงชื่อเดิมไว้โดยมิได้ เปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฐเหมือนโรงเรียนเพื่อนบ้านนั้น เป็นเพาะโรงเรียนนี้ ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง โรงเรียนศิลปะอย่างเพาะช่าง หรือที่เรียกชื่อแปลตรงตัวเป็น ภาษาอังกฤษว่า School of Arts and Crafts นั้น แต่เดิมก็เป็นวังหลวง เหมือนๆ กับพื้นที่ในแถบนี้เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยวังเดิมนี้เคยเป็น ที่ประทับของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุฑาธุชราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ที่ทรงประทานพื้นที่นี้แก่รัชกาลที่ 5 เพื่อใช้สร้างเป็นสถานศึกษาเคียงกับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยมีพระดำริจะให้โรงเรียนนี้เป็นสถานที่ ฝึกช่างศิลปะ โดยถ่ายทอดสู่มหาดเล็กเพื่อเข้าประจำกรมสโมสรช่าง และไปสู่โรงเรียนหัตถกรรมราชบูรณะเป็นลำดับต่อไป โรงเรียนช่างศิลปะนี้เริ่มสร้างขึ้นในช่วงปลาย รัช สมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มาแล้วเสร็จจริงในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่ข้าราชการจากกระทรวงศึกษาธิการ พากันเรี่ยไรเงินบริจาคเงินสร้างเป็นอาคารเรียนสูง 2 ชั้น ให้จนโรงเรียนนี้แล้ว เสร็จจากนั้นจึงถวายแก่รัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดฯ พระราชทานนามว่า "เพาะช่าง" โดยเสด็จเปิดโรงเรียนด้วยพระองค์เองในเดือนมกราคม พ.ศ.2456 เพาะช่าง เปิดทำการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงสงคราม มหาเอเชียบูรพา ก็สะดุดลงชั่วคราว เนื่องจากโรงเรียนถูกระเบิดทำลายลงจน อาคารเรียนเสียหายไปเกือบหมด และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ศาสตราจารย์ จิตร บัวบุศย์ จึงออกแบบอาคารเรียนให้ใหม่ เป็นอาคารแบบไทย-ตะวันตกประยุกต์ โดยอัญเชิญพระวิษณุ เทพแห่งศิลปวิทยาการมาไว้ที่หน้าบันอาคาร และเปิด โอกาสให้บุตรหลานของพลเรือนเข้ารับการศึกษาได้ด้วย ปัจจุบัน โรงเรียนเพาะช่างเป็นสหศึกษายังคงเปิดสอนหลักสูตร วิชาช่างศิลปะ ในระดับป.ว.ช ระดับป.ว.ศ. และปริญญาตรีแก่ ประชาชนทั่วไปด้วย สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook