พระนารายราชนิเวศน์ (ตอน พระที่นั่งจันทรพิศาล)

พระนารายราชนิเวศน์ (ตอน พระที่นั่งจันทรพิศาล)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ที่อยู่ : ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สร้างเมื่อ : พ.ศ.2209 พระราชวังองค์ที่ 2 ในราชธานีแห่งที่ 2 ของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์ ที่เมืองลพบุรีนั้น แม้ว่าจะเป็นพระราชวัง ที่สร้างจากการออก แบบของสถาปนิก ชาวฝรั่งเศส หากแต่พระตำหนักหลายหลัง ก็ยังคงหลง เหลืองานสถาปัตยกรรม แบบอยุธยาและขอมอยู่มาก โดยเฉพาะ พระตำหนักต่างๆ ในเขตพระราชฐาน ชั้นกลาง และชั้นใน ที่เขตพระราชฐานชั้นกลางหลัง แรกสุดของ หมู่พระที่นั่งใหญ่ ที่ตั้งติด ประตูทางเข้านั้น มีพระที่นั่งทรงไทยที่มี ฐานพระที่นั่งสูงกว่าปกติ มีซุ้มหน้าต่าง สูงรับกับฐาน โดยที่ด้านหน้าพระที่นั่งทำ เป็นมุขเด็จยื่นออกมา และกลางมุข เด็จมีพระบัญชร เพื่อให้พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จออกว่าราชการ โดยมีชานหน้าศาล ให้ผู้มาเข้าเฝ้าหมอบรอหน้าพระที่นั่ง ส่วนด้านหลังนั้นก็มีเกยทรงเสลี่ยง ซึ่ง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่บรรยายมาทั้งหมดในข้างต้นนี้น่าจะถือได้ว่าเป็น ลักษณะเฉพาะของพระที่นั่งหลังแรกสุดของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ที่มีความ เป็นเอกลักษณ์ไทยมากที่สุดหลังหนึ่ง พระที่นั่งหลังแรกสุดของพระนารายณ์ราชนิเวศน์นี้ มีชื่อว่า "พระที่นั่ง จันทรพิศาล" ที่นอกจากจะเด่นในด้านสถาปัตยกรรมมุขเด็จลดหลั่นแล้ว พระที่นั่ง นี้ยังสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระที่นั่งสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระนารายณ์ทรง รับพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากฝรั่งเศส โดยมีราชทูตเชอวาลิเยร์ เดอ โชมงต์ เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยมีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หมอบอยู่ข้าง พระที่นั่ง ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ถูกบันทึกลงบนภาพสีน้ำมันขนาดใหญ่ที่ แขวนติดไว้ในมุขเด็จพระที่นั่งนี้มาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อยมา เหตุที่พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์นี้ ได้ใช้งานจริงๆ จังๆ ก็เพียง แผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์สมัยเดียว วังนี้จึงถูกทิ้งให้รกร้าง จนถึงขั้นผุผัง มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้บูรณะวังหลวงนี้ใหม่หมด โดยที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รักษาโครงอาคาร เดิมไว้และสร้างใหม่ให้คล้ายกับของเดิมให้มากที่สุด ยกเว้นแต่แนวกำแพงและ ซุ้มประตูที่จำต้องบูรณะให้แข็งแรงขึ้นกว่าของเดิม ซึ่งภายหลังจากการบูรณะ ปฏิสังขรณ์พระที่นั่งทั้งหลังหมดนี่ ทำให้ทราบว่าพระที่นั่งจันทรพิศาลนี้ น่าจะเป็นพระที่นั่งที่สร้างใกล้เคียงกับสถาปัตยกรรมไทยมากที่สุด และอาจ จะไม่ได้มาจากการสร้างของสถาปนิกฝรั่งเศส ตามพระที่นั่งหลังอื่นๆ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook