บ้านบาตร

บ้านบาตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นับตั้งแต่ที่ ประเทศไทยมีกรุงเทพ มหานครเป็นราชธานี โดยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งอดีตทรงเป็นทหาร หลวงในหรุงศรีอยุธยานั้น ทรงมี พระราชประสงค์จะ ให้พระราชธานีแห่งใหม่นี้ เป็นศูนย์กลางประเทศ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่มั่งคั่ง สมบูรณ์ไม่แพ้กรุง ศรีอยุธยาเมื่อครั้งรุ่งเรืองนั้น ชาวบ้านที่อพยพ มาจากกรุงเก่า และชาวบางกอกเดิมนั้น ต่างก็ต้องปรับตัวให้ตนอยู่รอดมากที่สุด ดังนั้นชุมชนเดิมๆ ที่รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้าน แบบเฉพาะถิ่นตน อาทิ กลุ่มชาวนา กลุ่มพ่อค้า กลุ่มชาวจีน ชาวญวน หรือแม้แต่กลุ่มอาชีพดั้งเดิมก็ถูกปลุกให้เกิดขึ้น และที่ถนนบำรุงเมือง หลังวัดสระเกศ ใกล้ๆ กับเมรุปูนนั้น มีซอยย่อยๆ ที่ตั้งใกล้ๆ กันอยู่ยาวทั่วทั้งถนน ซึ่งในอดีตนั้น ที่ถนนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนคนทำกิน อาชีพหนึ่ง ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ ชาวบ้านได้ตลอดทั้งปี ย่านนี้เราเรียก กันว่า "บ้านบาตร"แนวคิดการทำ "หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล" ของรัฐบาลทักษิณ มิใช่เรื่องใหม่ เพราะนับตั้งแต่ 2 ศตวรรษมาแล้ว ที่ชาวบ้านจากกรุงเก่า ชาว บางกอกเดิม รวมทั้งชาวญวนอพยพที่พากันมาตั้งถิ่นฐานใกล้ๆ กับวัดสระเกศนี้ เคยเป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านแทบทุกคนประกอบอาชีพคล้ายๆ กันจนเรียกอาชีพ ส่วนใหญ่ของแต่ละถิ่นนั้นเป็นชื่อหมู่บ้านไป ที่ย่านถนนบำรุงเมืองนี้ก็มีลักษณะของหมู่บ้านตามอาชีพเช่นกัน อย่างชุมชนบ้านดอกไม้ที่อยู่ข้างวัดสระเกศฝั่งคลองโอ่งอ่างก็เป็นหมู่บ้านทำ ดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล และหมู่บ้านบ้านบาตรดังที่เกริ่นไว้ในข้างต้น ก็ทำธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายบาตรพระเช่นเดียวกันหมด ด้วยเหตุที่ทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้วัด หลวงอยู่หลายแห่ง ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการทำผลิตภัณฑ์ซ้ำๆ กันเพียง อย่างเดียวได้อย่างไม่ขัดสน ซึ่งจะว่าไป แนวคิดที่ว่ามาทั้งหมดนี้เคยเกิดขึ้นใน ยุคกรุงศรีอยุธยามาก่อนแล้ว ในปัจจุบัน ยังมีชาวบ้านในย่านบ้านบาตรทำบาตร พระให้เห็นอยู่บ้าง 3-4 แห่ง สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook