พระนครคีรี ตอน หมู่พระที่นั่ง

พระนครคีรี ตอน หมู่พระที่นั่ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อกล่าวถึงจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษตั้งแต่ ครั้งก่อนขึ้นครองราชย์ มาจนถึงช่วงปลาย รัชสมัยของพระองค์นั้น เมืองเพชรฯ น่าจะนับว่าเป็นจังหวัดที่รัชกาลที่ 4 เสด็จ ประพาสบ่อยที่สุด เมื่อปี พ.ศ.2402 ศักราช ที่รัชกาลที่ 4 ทรงเสวยราชสมบัติเป็นปีที่ 8 นั้น พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้น เป็นแห่งแรกที่จังหวัด เพชรบุรี ทั้งนี้ เพื่อว่า จะได้ใช้เป็นที่ประทับแรมยามเสด็จมายังวัด ถ้ำต่างๆ ดังนั้น พระที่นั่งน้อยใหญ่บน เขาวังจึงถูกสร้างขึ้นในปีนั้น ด้วยเหตุที่เขาวังเป็นภูเขายอดเตี้ย ที่มียอดเขาติดกัน 3 ยอด การ สร้างหมู่พระที่นั่งจึงเลือกเอายอดเขาด้านทิศ ตะวันตก อันเป็นยอดเขาที่ราบที่ สุดในบรรดาเขา 3 ลูก โดยสามารถสร้างอาคารรอบเขตพระราชฐานได้ราว 6 แห่ง โดยมีพระที่นั่งภูมิไพโรจน์ เป็นพระที่นั่งประธานที่สร้างขึ้นเป็นหลังใหญ่ เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงออกว่าราชการ แต่มาในอีกไม่กี่ปี พระที่นั่งนี้ก็ปรับเปลี่ยน ใหม่ให้มีห้องบรรทมห้องเสวย รวมทั้งเป็นห้องพักรับรองสำหรับราชอาคันตุกะจาก ต่างประเทศด้วย พระที่นั่งที่สำคัญถัดจากพระที่นั่ง เพชรภูมิไพโรจน์ ก็มีพระที่นั่งปราโมทย์ มไหสวรรย์ ซึ่งสร้างเป็นเก๋งจีน สูง 2 ชั้น ประกอบไปด้วยห้องบรรทมและห้องแต่ง องค์ของสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 ซึ่งปัจจุบันห้องนี้ได้กลายเป็นห้องจัด แสดงเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 และของพระบรม ราชินีในพระองค์เมื่อครั้งเสด็จมาประทับวังนี้ความน่าสนใจของพระที่นั่งที่เขาวังนี้ ที่นอกจากพระที่นั่ง 21 หลังจะ สร้างออกมาเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย และ จีนตามลำดับแล้ว พระที่นั่งหลังที่ เหลือล้วนแล้วแต่สร้างเป็นแบบตะวันตกผสมไทยทั้งหมด โดยเฉพาะพระที่นั่ง เวชยันต์วิเชียรปราสาท ที่ถูกวางให้เป็นปราสาทประจำพระนครคีรี โดยสถาปนิก ยุโรปออกแบบให้เป็นปราสาทจตุรมุขที่ประดับด้วยยอดปรางค์ 5 ยอด โดยมีมุม ทั้ง 4 ฐานชั้นเดียวกันกับตัวปราสาท มีหอไฟทำเป็นรูปโดมโปร่งสูงราว 2 เมตร ปัจจุบันพระที่นั่งหลังนี้มีพระบรมรูปหล่อสำริดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวประดิษฐานอยู่ เมื่อมีโอกาสได้สร้างวังบนยอดเขาแล้ว สิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้สำหรับ รัชกาลที่ 4 นั่นคือหอดูดาว ดังนั้น หอชัชวาลเวียงชัยจึงได้ถูกสร้างขึ้นอยู่ด้านปลาย สุดของเนินเขา โดยสร้างเป็นหอทรงกลมคล้ายกระโจมไฟสูง 2 ชั้น และมีหลังคา กระจกโค้ง ภายในมีบันไดวนเพื่อขึ้นไปสู่ระเบียงที่ประกอบไปด้วยลูกกรงลูกแก้วที่ ทำด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวตลอดทั่วระเบียง ส่วนในโดมแก้วที่กรุกระจกนั้นจะ ติดโคมไฟที่สามารถส่องไกลไปยังชายทะเลได้ถึง 8 กิโลเมตร ชาวประมงในแถบ นั้นจึงเรียกหอนี้ว่า "กระโจมแก้ว" เพราะหอชัชวาลฯ นี้เปรียบได้กับประภาคารส่องทาง ซึ่งพระที่นั่งนี้ นอกจากจะใช้เป็นที่ดูดาวแล้ว ยังใช้เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่า รัชกาลที่ 4 เสด็จมาประทับด้วยการชักธงมหาราชไว้ที่หอฯ แห่งนี้นั่งเอง สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook