แพร่งนรา

แพร่งนรา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ทุกๆ หน้าร้อนในช่วง เดือนเมษายนของทุกปี ชาวไทยเราจะมีการเฉลิมฉลอง กันทั้งประเทศเนื่องในเทศกาล มหาสงกรานต์ อันเป็นวันปีใหม่ไทย และที่กรุงเทพ มหานครเองก็มีการเฉลิมฉลอง เหมือนๆ กับจังหวัดใหญ่ๆ ทางภาคเหนือ และบนเกาะรัตนโกสินทร์ ณ ย่านที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพ มหานครที่อยู่ระหว่างถนนอัษฎางค์และ ถนนตะนาวเองก็มีการเฉลิมฉลองครบรอบ ย่านโบราณ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับเทศกาล สงกรานต์เหมือนกัน งานฉลองนี้เรา เรียกว่างาน "สามแพร่ง" ซึ่งประกอบ ไปด้วยแพร่งทั้ง 3 แห่งที่มีบรรจบกันที่สวน แห่งนี้ใกล้ๆ กับแพร่งนรากล่าวถึงแพร่งนรา ถนนสายสั้นๆ ที่เราเห็นเป็นตึกแถว 2 ชั้น ซึ่งตึกแถว ละแวกนี้ สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทยกับตะวันตก โดยมี โครงสร้างภายนอกก่ออิฐถือปูนด้วยหลังคามุงกระเบื้องเกล็ด ทาสีบานประตูหน้า ต่างสีเขียวคล้ายๆ กันหมดนั้น แต่เดิมเป็นเขตพระราชฐานเก่าของพระเจ้าบรม วงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (ต้นราชสกุลวรวรรณ) พระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเขียน สมเด็จฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ นั้นทรงเข้ารับราชการในแผ่นดิน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และมีวังที่ประทับอยู่ไม่ไกลจากวัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดมหรรณพารามเท่าใดนัก วังของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ที่แต่เดิมประกอบด้วยพระตำหนัก ส่วนพระองค์แล้ว ยังมีโรงละครของกรมพระนราธิปฯ อยู่ในเขตพระราชฐานด้วย แต่พระองค์ทรงประทับอยู่วังนี้ได้ไม่นานก็ถูกเวรคืน ทั้งนี้เพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน โดยตัดผ่ากลางวังพอดี วังนี้จึงเหลืออนุสรณ์อยู่เพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่ถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ตามโครงการณ์การขยายความเจริญของ พระนครในสมัยนั้น และเมื่อวังถูกรื้อเป็นถนน และรัชกาลที่ 5 โปรดทรงฯ ให้มี การแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายแก่เอกชน ชาวบ้านแถวนั้นจึงพา กันเรียกย่านนั้นว่า "แพร่งนรา" ตามพระนามของสมเด็จฯ กรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์นั่นเอง สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook