ถนนพระอาทิตย์

ถนนพระอาทิตย์

ถนนพระอาทิตย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถนนพระอาทิตย์ ชุมชนสำคัญที่เติบโตพร้อมกับการสร้างพระนคร เป็นศูนย์กลางการปกครองและศิลปวัฒนธรรม ตัวถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา มีวังเจ้านาย บ้านเรือนข้าราชบริพาร และราษฎรเรียงรายที่สองฝั่งถนน ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนถนนพระอาทิตย์ผูกพันอย่างต่อเนื่องกับประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ มาจนถึงปัจจุบัน

การสร้างตำหนักแบบเป็นตึกเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยรับอิทธิพลสถาปัตยกรรมจากจีนและยุโรป ตำหนักบางแห่งถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานและอาคารที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึงวิถีชีวิตชุมชนที่เปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างสิ้นเชิงเช่นกัน

ป้อมพระสุเมรุ สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 ตามกำแพงพระนครชั้นนอก รายล้อมแนวคลองรอบกรุงไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยแรกสร้างมี 14 ป้อมคือ จักรเพชร ผีเสื้อ พระจันทร์พระอาทิตย์ พระสุเมรุ มหากาฬ มหาชัย มหาปราบ มหายักษ์มหาฤกษ์ยุคนธร อิสินธร เสือทยาน และหมู่ทะลวง ภายหลังป้อมต่างๆทรุดโทรมลง จึงรื้อทิ้งเกือบหมด คงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ

 บ้านเจ้าพระยา เดิมเป็นวังกรมหมื่นสถิตย์ดำรงสวัสดิ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมารัฐบาลในสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ซื้อที่ดินแล้วสร้างที่ทำการกรมตำรวจ เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบเข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาล ได้ทำเรื่องขอพระราชทานบ้านและที่ดินจากรัชกาลที่ 6 ดังนั้น บริเวณนี้จึงได้เรียกกันว่า "วังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ" บ้านพระอาทิตย์หรือ เกอเธ่ (สถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน) ในอดีตเคยเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ของผู้ที่สนใจศิลปะ วรรณกรรมภาพยนตร์และการแสดง แต่เดิมนั้นเป็นบ้านนของเจ้าพระยาวรพงษ์พัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิสรเสนา) ผู้ซึ่งเป็นข้าราชการสำคัญคนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ปัจจุบันอาคารใช้เป็นสำนักงานของบริษัทเอกชน

ต้นลำพูในบริเวณนี้แต่เดิมมีต้นลำพูขึ้นหนาแน่น จึงเรียกว่า "บางลำพู" ปัจจุบันคงเหลือต้นลำพูเพียง 2 ต้น หลังป้อมพระสุเมรุเท่านั้น

ข้อมูลจาก www.bangkoktourist.com ออนไลน์วันที่ 26 กันยายน 2550

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook