พาไปดู ศาลเจ้าที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น!

พาไปดู ศาลเจ้าที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น!

พาไปดู ศาลเจ้าที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลัทธิชินโตเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นซึ่งต่างจากพุทธศาสนา โดยเชื่อว่ามีเทพเจ้าหรือคามิอยู่ในทุกสรรพสิ่ง ในสมัยจักรรวรรณนิยม รัฐบาลญี่ปุ่นเคยกำหนดชินโตเป็นศาสนาประจำชาติ และใช้ความพยายามในการผลักดันอย่างมาก จนสามารถเห็นร่องรอยแห่งความพยายามนั้นได้จนถึงปัจจุบัน สำหรับบทความนี้จะขอแนะนำศาลเจ้าที่ว่ากันว่าเล็กที่สุดในญี่ปุ่น จะเล็กแค่ไหน ตามมาดูกันเลยค่ะ

“ศาลเจ้าโทยามะชูเคียวอิน” (Toyama-Chuukyouin)
 image7

ศาลเจ้าที่ว่ากันว่าเล็กที่สุดในญี่ปุ่นมีชื่อว่า “ศาลเจ้าโทยามะชูเคียวอิน” (Toyama-Chuukyouin) ตั้งอยู่ใจกลางเมืองในจังหวัดโทยามะ สองข้างถูกขนาบด้วยตึกแถว ทำให้มองเผินๆ แทบไม่รู้ว่าเป็นศาลเจ้า

เสาโทริอิที่อยู่หน้าศาลเจ้ากว้างประมาณ 2 คนยืนเรียงหน้ากระดาน ภายในศาลเจ้ากว้างเพียง 1.8 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 6.3 ตารางเมตร เนื่องจากศาลเจ้ามีความแคบจนเป็นจุดเด่น คนส่วนใหญ่จึงมักจะมาขอพรเรื่องการสอบเข้าหรือการเข้าทำงานที่มีอัตราการแข่งขันสูง

ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1873 โดยรัฐบาลยุคเมจิ (ค.ศ. 1868 – ค.ศ. 1912) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ลัทธิชินโตไปทั่วประเทศ ต่อมาได้ปีค.ศ. 1945 ศาลเจ้าได้รับความเสียหายอย่างหนักเพราะผลพวงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาคนในพื้นที่ที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันสร้างศาลเจ้าขึ้นมาใหม่ แต่ด้วยภัยสงคราม ทำให้ไม่มีพื้นที่และทุนมากพอที่จะสร้างศาลเจ้าให้มีขนาดใหญ่ได้ จึงมีขนาดเท่าที่เห็นในปัจจุบัน

ศาลเจ้าได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านและร้านค้าในท้องถิ่นมาโดยตลอด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออนุรักษ์ศูนย์รวมความศรัทธาของชุมชน ต่อมาในปี 2020 ได้มีการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ เช่น เปลี่ยนเพดานแแทนที่ของเดิมที่เสื่อมสภาพไปตามการเวลา และเสริมความแข็งแรงของหลังคาเพื่อให้รองรับนำ้หนักของหิมะที่ตกมาทับถม โดยการบูรณะในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือร่วมในของคนในชุมชน เพื่อทะนุบำรุงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น

image8

ที่ตั้ง: 2 Chome-4 Chuodori, Toyama, 930-0044, Japan

แม้จะยังไม่ได้การรองรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นศาลเจ้าที่มีขนาดเล็กที่สุดในญี่ปุ่น แต่คนในพื้นที่ก็ภูมิใจและทะนุบำรุงศาลเจ้านี้ให้อยู่คู่กับชุมชนมานานนับศตวรรษ แสดงให้เห็นถึงสายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและลัทธิชินโต ซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากความพยายามเชิดชูลิทธิชินโตให้เป็นศาสนาประจำชาติของรัฐบาลเมจิได้เป็นอย่างดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook