ใกล้ปีใหม่ วางแผนไหว้พระ “บุโรพุทโธ” (ตอนแรก)

ใกล้ปีใหม่ วางแผนไหว้พระ “บุโรพุทโธ” (ตอนแรก)

ใกล้ปีใหม่ วางแผนไหว้พระ “บุโรพุทโธ” (ตอนแรก)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อารยธรรมเริ่มต้นของ “อินโดนีเซีย” เริ่มต้นเมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อชนพื้นเมืองชาวเกาะไต้หวันเดินทางมาลงหลักปักฐานบนเกาะชวา บางส่วนได้ตั้งรกรากร่วมกับชาวซุนดาชนเผ่าดั้งเดิมในเกาะชวา

สมทบด้วยชาวฮินดูในเครือข่าวราชวงศ์โจฬะ และชาวพุทธบางส่วนจากชมพูทวีปที่ร่วมทัพตามมาในภายหลัง ดังหลักฐานเรือสำเภาปรากฏบนรูปหินสลักบนมหาสถูปบุโรพุทโธ รวมถึงการสถาปนาสาธารณรัฐหลานฟาง ในกาลิมันตันตะวันตกของชนชาติฮากกา

วัฒนธรรมการปลูกข้าวในแอ่งน้ำ คือ อัตลักษณ์หนึ่งที่ส่งผ่านลงมาจากรัฐฟูนานหรืออาณาจักรฟูนัน ชนชาวลุ่มน้ำแห่งอินโดจีน ซึ่งแผ่คลุมด้วยอารยธรรมศาสนาพราหมณ์ ตามร่องรอยของศาสนาสถานปรัมบานันที่สืบทอดมาจากชาวฮินดู

ก่อร่างสร้างเมืองสู่การสถาปนาอาณาจักรตารุมา อาณาจักรเชอโพ อาณาจักรโฮลิง อาณาจักรบันตัน อาณาจักรมะธะรัม อาณาจักรเคดิริ อาณาจักรมะละกา

ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัย จะเข้ามารับช่วงปกคลุมยาวนานและยาวไกล ไปตั้งแต่พื้นที่ตอนใต้ของไทยในปัจจุบัน คาบสมุทรมลายูทั้งหมด ขึ้นฝั่งที่เกาะชวาและเกาะสุมาตรา ศรีวิชัยรุ่งเรืองถึงขีดสุด จนกระทั่งอาณาจักรสิงหะส่าหรีและอาณาจักรมัชปาหิต เริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ยุครุ่งเรืองของมัชปาหิตขึ้นถึงจุดสูงสุดไปพร้อมกับความเฟื่องฟูของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูในอินโดนีเซีย ต่อมา อาณาจักรอาณาจักรมอสเลมได้นำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ก่อนที่จะค่อย ๆ ก้าวเข้ามามีอิทธิพลเหนืออินโดนีเซียตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

การเข้ามาของชนเผ่าชาวเกาะไต้หวัน นำมาซึ่งภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียน ภาษาพูดตระกูลออสโตรนีเซียนมีจุดเริ่มต้นที่ทางใต้ของจีนเมื่อราว 8,000 ปีก่อน และขยายตัวออกไปทางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา

ครอบคลุมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นไปถึงหมู่เกาะทางตะวันตกของญี่ปุ่นบริเวณริวกิวและคิวชู ขยายตัวข้ามน้ำข้ามทะเลออกไปไกลจนถึงเกาะฮาวาย และเลาะไหลออกไปทางมหาสมุทรอินเดีย จนกระทั่งถึงเกาะมาดากัสการ์ เกี่ยวร้อยกันไปตามรูปพรรณสัณฐานชนชาติมองโกลอยด์

ภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน นอกจาก จะมีบทบาทสำคัญในอินโดนีเซียยุคโบราณ ยังแผ่อิทธิผลกระจายไปทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำไปสู่ภาษาตากาล็อกในฟิลิปปินส์ ภาษามลายูในมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ไปจนกระทึ่งถึงภาษามาวรีในนิวซีแลนด์

เฉพาะในอินโดนีเซียเอง ก็มีภาษาชวาบนเกาะชวา ภาษามีนังกาเบาบนเกาะสุมาตรา ภาษาบาหลีบนเกาะบาหลี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน

ชี้ให้เห็นอิทธิพลของอินโดนีเซียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านภาษาออสโตรนีเซียนอย่างชัดเจน

การตกเป็นประเทศราชตะวันตกของอินโดนีเซีย เริ่มตั้งแต่โปรตุเกส ฝรั่งเศส รวมถึงสหราชอาณาจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ ฮอลันดา และญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่ต่างกรรมต่างวาระ ส่งผลให้เกิดการหลอมรวมอารยธรรมอินโดนีเซียครั้งยิ่งใหญ่

การหลอมรวมจิตวิญญาณของคนอินโดนีเซียเกือบ 18,000 เกาะ เพื่อต่อสู้ผู้รุกรานภายใต้การเป็นประเทศอาณานิคมส่งผลให้เกิดการเปิดกว้างทางศาสนา แม้รากเดิมของอินโดนีเซีย จะประกอบด้วยชนเผ่าที่หลากหลาย ซึ่งมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ

แต่การเข้ามาของฮินดูถือเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อครั้งใหญ่ ก่อนส่งผ่านไปสู่พุทธและคริสต์ ทั้งโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จนกลายมาเป็นอิสลามในปัจจุบัน

หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์โลก อารยธรรมในดินแดนอินโดนีเซีย เป็นอู่ข้าวอู่น้ำเก่าแก่ก่อนเปลือกโลกจะเคลื่อนออกจากกัน และยกตัวขึ้นเป็นหมู่เกาะน้อยใหญ่อันมีชวาและสุมาตรา รวมถึงบอร์เนียวและสุลาเวสีเป็นเกาะหลัก ๆ ของอินโดนีเซีย

แต่ดูเหมือนอารยธรรมที่โด่งดังที่สุดของอินโดนีเซียจะอยู่ที่เกาะชวา เนื่องด้วยสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดและค้นพบ “มนุษย์ชวา”

“มนุษย์ชวา” หรือ Homo erectus มีอายุประมาณ 2,000,000 ปี เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่อพยพมาจากทวีปแอฟริกาไปยังทวีปเอเชียและทวีปยุโรป

“มนุษย์ชวา” ถูกค้นพบ โดยคุณหมอเออแฌน ดูว์บัว ศัลยแพทย์ชาวฮอลันดา เมื่อปี ค.ศ. 1891 ที่ “ซางีรัน” บริเวณลุ่มแม่น้ำโซโล ในเกาะชวาภาคกลาง

แม้ในเวลาต่อมาจะมีการค้นพบ “มนุษย์ชวา” ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งสันนิษฐานกันว่า เป็นกลุ่ม “มนุษย์ชวา” ที่เดินทางอพยพถิ่นฐานไกลไปถึงประเทศจีน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook