วิถีแห่งควาญช้าง ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันของคนกับช้าง

วิถีแห่งควาญช้าง ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันของคนกับช้าง

วิถีแห่งควาญช้าง ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันของคนกับช้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เชื่อว่าคนไทยแทบจะทุกคนคงเคยเห็นช้างกันมาตั้งแต่จำความได้ ด้วยความน่ารักของน้องช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย วันนี้นวลจะพาไปเรียนรู้วิถีชีวิตความผูกพันระหว่างคนเลี้ยงช้างกับช้าง

ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง กันครับ จะสนุกสุดป่วนปนความรู้ขนาดไหน ตามนวลไปกันเลยครับ

o735a578190b853610d6b06d33266_100
o735a578190b853610d6b06d33266_122
o735a578190b853610d6b06d33266_128

มารู้จักกันก่อน ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือ ออป. ครับ แต่เดิม ออป.

เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกเลยนะ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้เชื่อฟังคำสั่ง และมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า

และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535

o735a578190b853610d6b06d33266_121
o735a578190b853610d6b06d33266_16
o735a578190b853610d6b06d33266_66

มาแนะนำแม่สาวน้อยที่นวลจะมาอยู่กับนาง 3 วันกันครับ

"พังประจวบ" หรือที่นวลเรียกนางว่า "ป้าจวบ" สาวน้อยวัย 37 ขวบ ที่ชื่อประจวบ เพราะป้าจวบนางมาจากประจวบครับ

ป้าจวบเป็นช้างอารมณ์ดี เข้ากับทุกเชือกได้ดี เป็นแฟนกับโจโจ้ และมีเพื่อนซี้ชื่อ พระธิดาวนาลี ช้างทรงอุปภัมภ์ในสมเด็จฯพระพี่นางครับ

o735a578190b853610d6b06d33266_11
o735a578190b853610d6b06d33266_112
o735a578190b853610d6b06d33266_27

นวลเจอป้าจวบครั้งแรก ตอนแรกก็กลัวๆ แต่พี่ควาญนุช (ควาญที่ดูแลป้าจวบ) บอกว่าป้าจวบน่ารักและเชื่องมาก นางชอบกินกล้วย และเมล็ดทานตะวันเป็นที่สุด

การฝึกเป็นคนเลี้ยงช้างหรือควาญช้างนั้น ขั้นตอนแรกสุดคือการทำความรู้จักคลุกคลีกันก่อน ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ จะโดดขึ้นคอนางได้เลยนะครับ เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ตกใจ และระแวงมาก

ข้อควรจำคือ เราห้ามเดินเข้าข้างหลังช้าง ห้ามจับหาง และห้ามเอามือดันงวงนาง ให้เข้าเฉพาะด้านหน้าช้างเท่านั้นนะครับ

ก่อนการฝึกช้างนั้นเราต้องมาเรียนรู้ลักษณะ และธรรมชาติของช้างกันก่อน

o735a578190b853610d6b06d33266_136
o735a578190b853610d6b06d33266_137
o735a578190b853610d6b06d33266_138

ช้างที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จะเป็นช้างเอเชียทั้งหมด ลักษณะเด่นของช้างเอเชียคือ กะโหลกศีรษะจะใหญ่ ใบหูจะเล็ก

และช้างที่นำมาเลี้ยงในศูนย์จะเป็นช้างบ้านทั้งหมด ช้างบ้านหรือช้างเลี้ยง จะเรียกเป็นเชือก ตัวผู้จะเรียกว่าพลาย ตัวเมียจะเรียกว่าพัง ช้างตัวผู้ไม่มีงาจะเรียกว่าสีดอซึ่งตัวจะใหญ่กว่าชาวบ้านเขา

เราต้องแยกให้ได้นะครับ ระหว่างช้างป่ากับช้างบ้าน ช้างบ้านก็เหมือนหมาที่เราเลี้ยงตามบ้านแหละ ถึงจะมีพื้นเพเป็นสัตว์ป่า แต่นางก็เกิดและโตมากับคน

เพราะฉะนั้นพฤติกรรมการหาอาหารจะต่างไปจากช้างป่าครับ เราไม่สามารถเอาช้างบ้านไปปล่อยป่าได้ ถ้านางหาอาหารเองไม่ได้ และระวังอันตรายที่จะเกิดกับตัวเองไม่ได้นางก็จะถูกล่าและตายในที่สุดนะครับ

o735a578190b853610d6b06d33266_110
o735a578190b853610d6b06d33266_158
o735a578190b853610d6b06d33266_159

เสร็จจากเรียนรู้ลักษณะของช้าง น้องเฟิร์น(ไกด์สาวที่ดูแลนวลตลอดสามวัน) ก็พานวลกับไมเคิล และเจนิเฟอร์ คู่รักชาวเมกาที่มาเป็นเพื่อนร่วมชะตากรรมกับนวลตลอดสามวัน มาเรียนวิธีทำกระดาษจากมูลช้างกันครับ

ฟังไม่ผิดหรอกแก...นวลกำลังจะทำกระดาษจากขี้ช้าง แต่อย่าเพิ่งตกใจนะ...นวลจะเล่าให้ฟัง มูลช้างหรือขี้ช้างเนี่ย มีไฟเบอร์สูง

เขาสามารถนำมาหมักเพื่อทำให้เกิดแก๊สแล้วเอามาใช้ในการหุงต้มได้ แล้วยังเอามาทำกระดาษ และปุ๋ยได้ด้วยนะแก

o735a578190b853610d6b06d33266_154
o735a578190b853610d6b06d33266_155
o735a578190b853610d6b06d33266_156

ศูนย์การเรียนรู้ด้านคชศาสตร์ อาคารกัลยาณิวัฒนาการุณย์ แหล่งเรียนรู้ วิถีควาญ วิถีธรรมชาติ ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ที่พระองค์มีพระเมตตาต่อช้างตลอดจนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสถาบันคชบาลแห่งชาติไว้ในพระอุปถัมภ์ เป็นอาคารสำหรับให้ผู้เข้าชมหรือนักท่องเที่ยว ได้เข้ารับฟังรับชมเรื่องราวเกี่ยวกับช้าง

ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการเพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ช้าง และสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดความห่วงแหน และต้องการที่จะปกป้องรักษาช้างและสิ่งแวดล้อมไว้ครับผม

o735a578190b853610d6b06d33266_150
o735a578190b853610d6b06d33266_152

หลังจากได้รับความรู้กันเต็มอิ่ม ก็ถึงเวลา "ควาญนวล" จะออกลีลาแล้ว

ตอนบ่ายนวลก็เริ่มฝึกขึ้นลงช้างกับพี่นุช และป้าจวบกันก่อนเลย ป้าจวบค่อนข้างตัวเตี้ยครับขึ้นลงง่าย แต่ก็นะนวลก็ไม่เคยขึ้นช้างมาก่อนก็ได้แผลมาบ้าง เพราะผิวหนังช้างค่อนข้างสากแหละหนามาก หนาเกือบๆ สองเซนติเมตรเลยนะแก

นวลได้ฝึกขึ้นลงช้างจากท่าต่างๆ ฝึกการควบคุมช้าง ให้ช้างเก็บของให้ กว่าจะคล่องก็เล่นเอาเหงื่อแตกเหมือนกัน

o735a578190b853610d6b06d33266_129
o735a578190b853610d6b06d33266_140
o735a578190b853610d6b06d33266_65

สำหรับการแสดงช้างอาบน้ำ จะมีวันละ 2 รอบ

รอบแรกเวลา 9.45 น. และ รอบบ่าย เวลา 13.15 น.

ช้างจะลงอาบน้ำอย่างพร้อมเพียงกัน หลังจากนั้นช้างทั้งหมดจะถือหางของแต่ละเชือกและเดินทางเข้าสู่ลานแสดง

o735a578190b853610d6b06d33266_104
o735a578190b853610d6b06d33266_105

การแสดงช้างอาบน้ำของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมากนะครับ ใครที่อยากมาเล่นน้ำกับช้างเขามีบริการด้วย 500 บาท เองแก

ถ้ามาโปรแกรมโฮมเสตย์แบบนวล จะได้อาบน้ำกับช้างวันละ 3 รอบเลยนะแก รอบไหนไม่โดนป้าจวบแกล้งก็ตัวแห้งไป รอบไหนป้าจวบจะแกล้งก็เปียกไปทั้งตัวเลยครับ

o735a578190b853610d6b06d33266_123
o735a578190b853610d6b06d33266_42

โดยธรรมชาติแล้วช้างชอบอาบน้ำเพื่อระบายความร้อน และช้างจะอาบน้ำวันละหนึ่งถึงสองครั้ง ซึ่งช้างจะใช้งวงพ่นน้ำใส่ต้วเอง และควาญช้างจะช่วยทำความสะอาด

การแสดงช้างใช้เวลาแสดงประมาณ 40 นาที

จุดเด่นของการแสดงช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้แก่การสาธิตการทำไม้ด้วยช้างซึ่งแพร่หลายในอดีตและถูกห้ามในปี พศ. 2532

นอกเหนือจากการแสดงความสามารถของช้างที่แล้ว การสาธิตการทำไม้ด้วยช้างยังเป็นการแสดงความสามารถของควาญช้างในการควบคุมช้างในการทำไม้อีกด้วย อาทิเช่น การใช้ภาษาในการควบคุม ซึ่งมีมากกว่า 35-40 คำ และการใช้การเคลื่อนไหวของร่างกาย เป็นต้น

o735a578190b853610d6b06d33266_115
o735a578190b853610d6b06d33266_118
o735a578190b853610d6b06d33266_119

ด้านศิลปะ มีการแสดงความสามารถของช้างเช่น แสดงการวาดภาพ ได้แก่ ภาพตามจิตนาการ และ ภาพเหมือนจริง โดยช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยวาดภาพครั้งแรกในปี พศ 2540และ ระหว่างการแสดงของช้าง

การแสดงจะมีวันละ 3 รอบ แสดงทุกวัน ยกเว้น วันช้างไทย ( วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี )

รอบแรก 10.00 น

รอบที่ 2 11.00 น.

รอบที่ 3 13.30 น.

ผู้ใหญ่
ชาวไทย อัตราค่าเข้าชม 100.- บาท/คน
เด็ก (ความสูงต่ำกว่า 135 เซนติเมตร)
ชาวไทย อัตราค่าเข้าชม 50.- บาท/คน

สำหรับใครที่อยากมาลองอยู่กับช้างแบบนวล นวลแนะนำโปรแกรมนี้เลยครับ
โปรแกรมโฮมสเตย์ 3 วัน 2 คืน 9,000.- บาท

วันที่ 1
08.30 น. ลงทะเบียนที่บ้านพักโฮมสเตย์
09.00 น. ฝึกการขึ้นลงช้างที่ลานแสดงช้าง
09.45 น. นำช้างไปอาบน้ำ
10.00 น. ร่วมแสดงกับช้าง
11.00 น. พัก
12.00 น. อาหารกลางวัน
13.15 น นำช้างไปอาบน้ำ
13.30 น. ร่วมแสดงกับช้าง
14.30 น. นำช้างไปป่า
16.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 น. อาหารเย็น

วันที่ 2
06.30 น. นำช้างออกมาจากป่า
08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
09.00 น. ฝึกการขึ้นลงช้างที่ลานแสดงช้าง
09.45 น. นำช้างไปอาบน้ำ
10.00 น. ร่วมแสดงกับช้าง
11.00 น. เยี่ยมชมโรงพยาบาลช้าง
12.00 น. อาหารกลางวัน
13.15 น นำช้างไปอาบน้ำ
13.30 น. ร่วมแสดงกับช้าง
14.30 น. นำช้างไปป่า
16.00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
18.00 น. อาหารเย็น

วันที่ 3
06.30 น. นำช้างออกมาจากป่า
08.00 น. รับประทานอาหารเช้า
09.00 น. ฝึกการขึ้นลงช้างที่ลานแสดงช้าง
09.45 น. นำช้างไปอาบน้ำ
10.00 น. ร่วมแสดงกับช้าง
11.00 น. รับใบประกาศนียบัตร
12.00 น. อาหารกลางวัน

จบโปรแกรม 

ติดต่อสอบถามหรือจองโปรแกรมได้ที่ โทรศัพท์ 054 829 322 หรือemail : info@thailandelephant.org

 

อัลบั้มภาพ 174 ภาพ

อัลบั้มภาพ 174 ภาพ ของ วิถีแห่งควาญช้าง ณ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันของคนกับช้าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook