เยือนถิ่นอีสาน ตำนานแห่งไดโนเสาร์ระดับโลก!!

เยือนถิ่นอีสาน ตำนานแห่งไดโนเสาร์ระดับโลก!!

เยือนถิ่นอีสาน ตำนานแห่งไดโนเสาร์ระดับโลก!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อย่างที่รู้กันดีว่าในอดีตเมื่อ 65 ล้าปีก่อนนั้น โลกของเราถูกปกครองด้วยเผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ สัตว์ดึกดำบรรค์ที่มีชีวิตปกครองโลกอยู่อย่างยาวนาน

เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์นี้มีด้วยกันหลายสายพันธุ์ มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป จนถึงคราวที่มนุษย์ได้กำเนิดขึ้นไดโดนเสาร์จึงได้สูญพันะุ์ไปเมื่อ 60 ล้าปีก่อน

 195818

เมื่อไดโนเสาร์เคยอยู่แทบทุกส่วนของโลก และเมื่อล้มตายลง จึงไม่แปลกที่จะทำให้มีร่องรอยและชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ กระจัดกระจายอยู๋ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกระดูก หรือร่องรอยต่าง ๆ

ในประเทศไทยของเรา มีการพบเห็นร่องรอยและซากไดโนเสาร์หลายแห่ง และมากสุดทางภาคอีสาน เพราะธรณีทางภาคอีสานมีอายุรุ่นเดียวกับไดโนเสาร์ที่กำลังครองโลก 

และเกิดการขุดค้นในปัจจุบันเราจึงเจอซากไดโนเสาร์มากมายโดยเฉพาะในภาคอีสาน   และมีไดโนเสาร์ถึง 9 ชนิดใหม่ของโลก ที่พบเจอในประเทศไทยเป็นที่แรก  

เรามาลองดูว่าในอีสานบ้านเราพบเจอไดโนเสาร์ที่ไหนกันบ้าง

199584
202962

แรกสุด คงต้องยกเครดิตให้กับภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นที่แรกที่มีการขุดค้นเรื่องไดโนเสาร์ในไทย   (ต่อมาได้แยกออกมาเป็น อ.เวียงเก่า หลุมขุดค้นเลยอยู่ใน อ.เวียงเก่าด้วย)

โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2519 มีหลุมขุดค้น 9 หลุม และพบกระดูกไดโนเสาร์มากมาย รวมทั้งซอโรพอด(คอยาว ตัวใหญ่ กินพืช) ชนิดใหม่ของโลกที่ชื่อ  ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน ด้วย

 นอกนั้นยังเจอฟันของไดโนเสาร์กลุ่มสไปโนซอร์  สกุลและชนิดใหม่ของโลก จึงตั้งชื่อว่า  สยามโมซอรัส สุธีธรนี   อีกทั้งยังพบรอยตีนของไดโนเสาร์ขนาดเล็กที่พลานป่าชาด ในอุทยานแห่งชาติภูเวียงอีกด้วย

303267
366654

แต่ดูเหมือนไม่มีที่ไหนที่จะฮือฮาเท่ากับการขุดค้น ที่ภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์อีกแล้ว  เพราะที่นี่ มีการขุดค้นพบซากไดโนเสาร์ที่ครบเกือบทั้งตัวที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบในบ้านเรา

เป็นรูปร่างไดโนเสาร์ที่ไม่ต้องไปจินตนาการ เพราะรูปร่างที่ปรากฏชัดนั้นบ่งบอกขนาดและรูปลักษณ์ได้เป็นอย่างดี   

และจากการค้นพบที่สำคัญนี้ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธรขึ้น   

เพื่อจัดแสดงเรื่องราวต่าง ๆ ทางธรณีและซากบรรพชีวินทั้งหลาย รวมทั้งเป็นห้องปฏิบัติการในการศึกษาค้นคว้า วิจัย จัดแต่ง ซากฟอสซิลต่างๆที่ขุดค้นได้ในประเทศไทย ที่ภูกุ้มข้าวนี้

จึงนับว่าเป็นทั้งหลุมขุดค้นที่ทรงคุณค่า และการจัดแสดงที่น่าสนใจและทันสมัย รวมทั้งเป็นแหล่งวิทยาการในเรื่องบรรพชีวินที่น่าสนใจอย่างมาก

แต่ถ้าไปที่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์  มีหลุมขุดค้นภูน้อย ซึ่งเป็นหลุมขุดค้นที่ขุดกันมาตั้งแต่ปี 2353 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน  มีการขุดได้ซากฟอสซิลที่มากมาย  

มากทั้งจำนวน เพราะขุดพบเจอซากฟอสซิลทั้งของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆร่วมสมัย มากกว่า 400 ชิ้น  มากทั้งความหลากหลาย เพราะนอกจากจะพบเจอกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด

ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเจอในไทยแล้ว ยังเจอกระดูกไดโนเสาร์ชนิดอื่นอีกด้วย  นอกจากนั้นยังเจอฟันจระเข้น้ำจืดโบราณ  เต่าโบราณ และอีกหลากหลายสายพันธุ์ที่ขุดได้ในหลุมขุดค้นเดียวกัน  

ซึ่งในแต่ละปีในช่วงหลังเดือนมกราคมไปแล้ว จะมีการเปิดหลุมขุดค้นและทำการขุดค้นทุกปี  นักท่องเที่ยวสามารถไปเยี่ยมชมหรือไปร่วมเป็นอาสาสมัครขุดค้นก็ได้  

ถือเป็นหลุมขุดค้นที่ยังดำเนินการและเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชมและมีส่วนร่วมได้

412793
581810
747454

ที่กาฬสินธุ์นั้น   ยังมีร่องรอยของไดโนเสาร์ที่ปรากฏในรูปรอยตีนที่ถือว่าชัดเจน  มีหลายรอย และเห็นเป็นทิศทางการเดินที่ชัดเจน  ปรากฏบนลานหินในลำธารของวนอุทยานภูแฝก

เห็นเป็นรอยตีนไดโนเสาร์ขนาดใหญ่จำนวน  7 รอย เดินในทิศทางเดียวกันคือเดินข้ามลำธารน้ำ ซึ่งไม่เคยเจอรอยตีนไดโนเสาร์ขนาดใหญ่อย่างนี้มาก่อนที่มีมากมายแบบนี้

ก่อนหน้านี้เคยเจอรอยตีนไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่ภูหลวง แต่เจอเพียง 2 รอยเท่านั้น จากรอยตีนที่ปรากฏทำให้นักบรรพชีวินคาดเดาขนาดของเจ้าของรอย 

และชนิดอย่างคร่าวๆ(ไม่แม่นยำเท่ากับการพบเจอกระดูก) ว่าเป็นรอยตีนไดโนเสาร์ชนิดกินเนื้อ สายพันธุ์เดียวกับพวกทีเรกซ์

แต่ถ้าขึ้นมาจนติดแม่น้ำโขง ในเขต ต.พนอม อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ริมทางหลวงหมายเลข  212 บนลานหินทรายที่เป็นแผ่นราบเรียบ ปรากฏรอยตีนไดโยเสาร์มากมาย ร่วม 200 กว่ารอย 

  เดินกันขวักไขว่ไปมามากมายบนลานหิน นักบรรพชีวินได้ศึกษาจากรอยตีนแล้วบอกว่าเป็นรอยตีนของไดโนเสาร์พวกเทอร์โรพอต และไดโนเสาร์ออร์นิโธนิโมซอ หรือไดโนเสาร์นกกระจอกเทศ

ซึ่งพวกนี้อยู่รวมกันเป็นฝูง ออกล่าและหากินเป็นฝูง การพบเห็นรอยตีนที่ถือว่ามากสุดในประเทศขณะนี้ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นชายน้ำมาก่อน อาจจะเป็นริมแม่น้ำ ริมบึงน้ำ 

ที่ไดโนเสาร์เดินย่ำลงมา แล้วปรากฏรอยตีนขึ้น   เมื่อรอยตีนแห้ง ก็จะปรากฏเป็นร่องรอย เมื่อน้ำมาอีกก็จะพัดมาเอาตะกอนดินถมไปในร่องรอยตีน 

แล้วพื้นดินก็เกิดการทับถมกัน ตามรูปแบบของการเกิดหินตะกอนทั้งหลาย(หินทรายเป็นรูปแบบหนึ่งของหินตะกอน)    เมื่อชั้นหินแตก(กรณีบ้านพนอมเกิดจากการก่อสร้างทาง) 

จะมีแผ่นหนึ่งด้านบนที่ประกบทับหลุดหายออกไป ทำให้เห็นรอยตีนที่เป็นลักษณะกดทับปรากฏให้เห็น

797052


902006
946460

จะเห็นว่าร่องรอยของไดโนเสาร์ที่ปรากฏในภาคอีสานบ้านเรา มีตั้งแต่อายุมาก เรื่อยมาจนอายุน้อย ยังมีการขุดพบเจอที่นครราชสีมา

ซึ่งพบเจอส่วนมากในบ่อทรายแม่น้ำมูลเก่า หรือสัตว์ร่วมสมัยกับไดโนเสาร์อย่างปลาโบราณที่ภูน้ำจั้นที่มีอายุราว 150 ล้านปีมาแล้ว   ฯลฯ

เหล่านี้ทำให้เรารู้ว่าแผ่นดินภาคอีสานของไทย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นอาณาจักรของไดโนเสาร์มาก่อนทั้งสิ้น  การขุดค้นพบแหล่งซากไดโนเสาร์ นอกจากจะเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าบรรพชีวินแล้ว

ยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทรงคุณค่า ไม่ใช่ทุกประเทศจะมีซากไดโนเสาร์ บางประเทศเป็นแผ่นดินเกิดใหม่หลังจากที่ไดโนเสาร์ตายไปแล้ว ก็จะไม่ปรากฏร่องรอยของไดไนเสาร์

จึงถือเป็นความโชคดีของประเทศไทย การตามรอยไดโนเสาร์ยังไม่สิ้นสุดเพียงนี้ เพราะในอนาคตจะยังมีการค้นพบกระดูกและร่องรอยไดโนเสาร์เกิดขึ้นอีกแน่นอน บนแผ่นดินที่ทรงคุณค่า แผ่นดินอีสานบ้านเรา....

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook