สะพานมอญ อ.สังขละบุรี สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

สะพานมอญ อ.สังขละบุรี สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

สะพานมอญ อ.สังขละบุรี สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สะพานมอญ ชมสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พร้อมชมบรรยากาศดีๆ 2 ฟากฝั่งของสะพาน

สนุก! ท่องเที่ยว เก็บภาพบรรยากาศเปิดสะพานอุตตมานุสรณ์ หรือสะพานมอญ ส่งตรงจาก อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยมีการเปิดใช้สะพานมอญอย่างเป็นทางการหลังปิดซ่อมแซมมานานกว่า 1 ปี 2 เดือน

หลังเหล่าทหารค่ายสุรสีห์ พระวัดวังก์วิเวการาม ชาวบ้านสังขละบุรี และผู้ศรัทธจำนวนมาก ร่วมมือร่วมใจกันซ่อมแซมสะพานไม้มอญ จนเสร็จเป็นที่เรียบร้อย

และใช้วันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันครบรอบการมรณภาพหลวงพ่ออุตตมะ เป็นวัดจัดงาน "ทำบุญใหญ่สะพานมอญ" อย่างยิ่งใหญ่

สะพานมอญสะพานมอญ


เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.ภูมิภาคกลาง บอกว่า ช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวกลับมาเยือนสะพานมอญอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อยากเห็นความสวยงามของสะพานมอญที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วอีกครั้ง

และเป็นช่วงที่ลมหนาวพัดมา อากาศจึงเย็นสบาย เหมาะกับการเดินทางมาพักผ่อน ชมทะเลหมอก และถ่ายรูปกับบรรยากาศสายหมอกที่ปกคลุมทั่วสะพานมอญนั่นเอง


ภายในงานตั้งเช้าถึงเที่ยงวันนี้ จะมีกิจกรรมทำบุญ เลี้ยงพระสวดมนต์ให้กับหลวงพ่ออุตตมะ งานแห่กฐินจากหมู่บ้านไปที่บริเวณเจดีย์พุทธคยาจำลอง การแสดงทางวัฒนธรรมท้องถิ่น การลอยโคม 106 ลูกตามอายุของหลวงพ่ออุตตมะ ฯลฯ

สำหรับสาเหตุที่ต้องซ่อมแซมสะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญขึ้นมาใหม่นั้น เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม มีน้ำป่าไหลเชี่ยวกรากพัดพาตอไม้ มาปะทะกับตอม่อสะพานมอญ จนทำให้ช่วงกลางสะพาน ซึ่งเป็นแนวร่องน้ำพังลงมา รวมระยะทางรวมกว่า 50 เมตร

สะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญสะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญ

และเป็นสาเหตุทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ที่เคยใช้สะพานมอญเป็นเส้นทางสัญจรกันประจำ ไม่สามารถเดินทางเหมือนเดิมได้ โดยช่วงที่ผ่านมา ชุมชนชาวมอญ ทหารกล้า และผู้มีจิตอาสา ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างสะพานลูกบวบ ที่มีความยาวกว่า 300 เมตร กว้าง 6 เมตร เป็นเส้นทางสัญจรสำรองให้กับชาวบ้าน ก่อนสะพานไม้แห่งนี้สร้างเสร็จ

และเมื่อสร้างเสร็จแล้ว สะพานลูกบวบได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาชมเป็นจำนวนมาก แต่ สนุก! ท่องเที่ยว เชื่อแน่ว่า เมื่อสะพานอุตตมานุสรณ์ หรือสะพานมอญ ที่ซ่อมเสร็จแล้ว เปิดใช้นับจากวันนี้ จะมีนักท่องเที่ยวอีกจำนวนไม่น้อย ที่ตั้งหน้าตั้งตารอคอยชมความสวยงามของสะพานแห่งศรัทธานี้มานานานนับปี เดินทางกลับมาชมไฮไลท์ของสังขละบุรีอีกครั้งอย่างแน่นอน

นักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางไปเที่ยวชมสะพานมอญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกาญจนบุรี โทร.0-3451-1200

สะพานมอญยามเย็นสะพานมอญยามเย็น

 

ย้อนอดีตประวัติสะพานมอญ หรือสะพานไม้อุตตมานุสรณ์

สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ยาวประมาณ 900 เมตร ถือว่าเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย และยาวเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็งในพม่า และเป็นสัญลักษณ์ของเมืองสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

สะพานมอญแห่งนี้ มีหลวงพ่ออุตตมะ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เป็นผู้ดำเนินการสร้างสะพานไม้นี้ขึ้น จากความร่วมแรงร่วมใจของชาวมอญที่มีศรัทธาต่อองค์หลวงพ่ออุตตมะ

โดยใช้ท่อนไม้ต้นไม้ที่ยืนต้นตายอยู่ใต้เขื่อนเขาแหลมมาเป็นส่วนหนึ่งในการก่อสร้าง ซึ่งสะพานมอญเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2528 จนมาแล้วเสร็จในปี 2530

และมีการซ่อมแซมปรับปรุงครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 5 เมื่อปี 2554 และเป็นแลนด์มาร์คที่ใครมาสังขละบุรีก็ต้องแวะมาถ่ายรูป มาสัมผัสภาพชีวิตที่เดินข้ามฝั่งไปมา ภาพเด็กๆ กระโดดเล่นน้ำ หรือแม้แต่ภาพวิถีชาวแพในแม่น้ำ

การเดินทางไปสะพานมอญ

การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว : จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาเรื่อยๆ จะพบทางยกระดับข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ซักระยะจะพบสี่แยกให้เลี้ยวขวา(ทางซ้ายไปบ้านโป่ง) เพื่อไปยังเมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยกแก่งเสี้ยนให้ขับไปทาง อ.ทองผาภูมิ จะผ่านทั้งไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่  ท่านจะพบสามแยกเลี้ยวขวาเข้าสู่สังขละบุรี ขับไปเรื่อยๆจะผ่านอุททยานแห่งชาติเขื่อนเขาแหลม เมื่อไปถึงแยก ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าไปอีกนิดเดียวก็จะถึงตัวเมืองสังขละบุรี 

การเดินทางโดยรถสาธารณะ : ขึ้นรถโดยสารจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่เส้นทาง  กรุงเทพฯ - กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ไปลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี แล้วไปลงที่ท่ารถสังขละบุรี ใช้เวลาในการเดินทางจากตัวเมืองถึงสังขละบุรีประมาณ 4 ช.ม.

ขอบคุณภาพจาก: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.ภูมิภาคกลาง  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook