เที่ยวเชียงราย ย่านถิ่นเชียงแสน ไหว้พระ ชมงานศิลป์

เที่ยวเชียงราย ย่านถิ่นเชียงแสน ไหว้พระ ชมงานศิลป์

เที่ยวเชียงราย ย่านถิ่นเชียงแสน ไหว้พระ ชมงานศิลป์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครว่าเชียงรายต้องมาเที่ยวตอนหน้าหนาว "นายรอบรู้" ชวนเดินเที่ยวย่านถิ่นเชียงแสน เที่ยวไหว้พระ ทำบุญและชมงานศิลป์ล้านนาได้ตลอดทั้งปี

เริ่มจากวัดพระสิงห์ซึ่งตั้งอยู่ถนนสิงหไคล เป็นพระอารามหลวงเก่าแก่ของจังหวัดเชียงราย เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ในครั้นที่เจ้าเมืองเชียงรายอัญเชิญมาจากเชียงใหม่เพื่อนำเป็นแบบหล่อองค์จำลองไว้ที่เชียงราย แต่ประดิษฐานอยู่ไม่นานเจ้าเมืองเชียงใหม่ก็มาอัญเชิญกลับ วัดพระสิงห์ เป็นวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามของงานศิลปะล้านนา ดูได้จากโบสถ์อายุร้อยปี สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2432-2433 เป็นโบสถ์ไม้สถาปัตยกรรมสมัยเชียงแสนได้รับการบูรณะสองครั้ง ครั้งล่าสุดบูรณะโดยถวัล ดัชชี เป็นผู้ออกแบบและแกะสลักบานประตูโบสถ์เป็นเรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ

บริเวณทางเข้าโบสถ์มีสิงห์ศิลปะเชียงแสนอันงดงามเฝ้าประตูอยู่ เข้าไปด้านโบสถ์กราบพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน และพระพุทธสิหิงค์จำลอง สร้างจากสำริดปิดทอง

เดินไปทางถนนเรืองศรี ตรงไปยังวัดพระแก้วเป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ของเชียงราย เดิมทชาวบ้านเรียกว่าวัดป่าเยียะซึ่งมีความหมายว่าวัดป่าไผ่ ต่อมามีการค้นพบว่าพระแก้วมรกตหรือพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรที่วัดนี้ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ชาวเมืองเชียงรายจึงเรียกว่า วัดพระแก้ว

ภายในมีสิ่งน่าสนใจให้ชมหลายอย่าง โบสถ์ เดิมเป็นวิหาร บูรณะขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นโบสถ์แบบล้านน่า หลังคาซ้อนกันหลายชั้น บานประตูสลักเป็นลายปูนปั้น จิตรกรรมฝาผนังค่อยข้างใหม่ ภายในประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง สร้างด้วยสำริดปางมารวิชัย ด้านนอกมีเจดีย์โบราณ สถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นสถานที่ค้นพบพระแก้วมรกตเมื่อ พ.ศ. 1977 มาถึงวัดพระแก้วแล้วต้องเข้าไปสักการะพระหยกเชียงรายที่หอพระหยก (หอพระแก้ว) ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของโบสถ์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 เป็นอาคารไม้ทรงมณฑป ศิลปะล้านนาประยุกต์  หอพระหยกนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนเริ่มสร้าง เพื่อประดิษฐานพระหยกเชียงรายซึ่งสร้างหยกแคนนาดา แกะสลักที่เมืองจีนขนาดสูง 65.9 ซม.

เมื่อออกจากวัดพระแก้วให้เดินไปทางถนนงำเมืองไปยังวัดงำเมือง เป็นวัดสำคัญที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเชียงราย จึงปรากฎสถูปหรือกู่พ่อขุนเม็งราย ที่บรรรจุพระอัฐของพ่อขุนเม็งรายซึ่งเจ้าขุนครามหรือพญาไชสงครามโอรสของพ่อขุนเม็งรายได้อัญเชิญมาบรรจ6ในสถูปและประดิษฐานไว้ ณ ดอยแห่งนี้ในช่วงพุทธศวรรษที่ 19 ต่อมาสถูปพังทลายลงเหลือแต่ฐานศิลาแลงกว้าง 8 ม. ด้านหน้าสถูปมีอนุสารีย์พ่อขุนเม็งรายฯ ฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ ประดับโดยมีดาบวางบนเพลา ภายใต้ร่มเศวตฉัตรที่แกะสลักอย่างสวยงาม

เดินลงไปทางถนนไตรรัตน์ไปจนถึงวัดมิ่งเมือง (ช้างมูบ) เป็นวัดขนาดเล็กในตัวเมือง เดิมชื่อวัดช้างมูบ สันนิษฐานว่าเมื่อครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงรายไปยังเชียงใหม่ ช้างทรงของพระแก้วมรกตได้หมอบคอนอยุ่ที่หน้าวัดแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของที่วัดที่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดมิ่งเมือง สิ่งน่าสนใจภายในคือวิหารซึ่งเป็นศิลปะไทหใญ่ผสมล้านนา ผนังด้านในกรุด้วยไม้แกะสลักประดับกระจกสี มีรูปช้างหมอบ ฝ้าเพดานเป็นลวดลายอันวิจิตร ภายในประดิษฐานหลวงพ่อพระศรีมิ่งเมืองพระประธานปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน ออกมาด้านนอกนัสมการพระธาตุมิ่งเมือง เจดีย์ขนาดเล็กก่อิฐถือปูน เดิมเป็นสถานปัตยกรรมพม่า ก่อนจะเปลี่ยนเป็นเจดียืล้านนา

เดินย้อนกลับมายังริมแน้ำกกถนนบุญญฤทธิ์ อาคารเทิดพระเกียรติ 90 ปี สมเด็จพระศรีนคริทร์ ศูนย์การเรียนรู้ เทศบาลนครเชียงราย ชมราชรถหรือรถสำหรับใช้ในขบวนแห่ ซึ่งมีทั้ง 8 คันจาก 8 จังหวัดในภาคเหนือ คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พระเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน ออกแบบโดยสล่าหรือช่างของแต่ละจังหวัดซึ่งแสดงศิลปะอันแสดงอัตลักษณ์ของจังหวัดนั้น

ราชรถ ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีเรือนยอดทรงบุษบกซึ่งสำหรับใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปหรือพระโกศ ความงดงามวิจิตรของราชรถจึงอยู่ที่บุษบกเป็นหลัก อย่างราชรถของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นศิลปะไทใหญ่ ประดับด้วยหงส์ สัตว์ในตำนานทางพระพุทธศาสนาของชนชาติมอญ

ราชรถจังหวัดน่านได้รับแรงบันดาลจากช้างงาดำในพิพิธภัณฑสถานจังหวัดดน่าน โดดเด่นด้วยการปิดทองแบบล้านนาที่มีกลิ่นอายของศิลปะสุโขทัยผสม ส่วนราชรถของจัวหวัดเชียงรายเน้นแบบล้านนนาประยุกต์ ใช้อลูมิเนียมแผ่นมาดุ้นลวยลายแบบล้านนาประดับเกือบทั่วคัน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมหอราชรถได้ฟรี ทุกวันเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานเชียงราย โทร.0-5371-7433, 0-5370-0051-2

ขอบคุณ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

(คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขนาดใหญ่)


ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook