วัดอรุณฯ คุณเคยรู้สิ่งเหล่านี้หรือไม่

วัดอรุณฯ คุณเคยรู้สิ่งเหล่านี้หรือไม่

วัดอรุณฯ คุณเคยรู้สิ่งเหล่านี้หรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัดอรุณฯ หนึ่งในวัดที่สำคัญของกรุงเทพฯ หลายคนไปเที่ยวไหว้พระวัดอรุณฯ แล้วคณรู้จักวัดอรุณดีแค่ไหน?

1. ทำไมต้องชื่อว่า "วัดแจ้ง"

ที่มาของชื่อวัดแจ้งมีเรื่องราวในหน้าประวัติศาสตร์ว่า หลังกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จนยากจะบูรณะให้คงเดิมได้  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการ เสด็จมาตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดมะกอกนอกในเวลาแจ้ง ภายในวัดมีปรางค์ขนาดย่อมองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พระองค์จึงเสด็จขึ้นไปนมัสการ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดแจ้งวัดแจ้งหรือวัดมะกอกนอกนี้มีมาแต่ครั้งอยุธยาตอนปลาย เหตุที่เรียกวัดมะกอกนอกเพราะตั้งอยู่นอกเขตชุมชนดั้งเดิม ลึกเข้ามาในคลองบางกอกใหญ่หรือคลองบางหลวงในเวลาต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีแล้ว พระองค์โปรดให้บูรณะวัดแจ้งขึ้นใหม่และยกฐานะเป็นวัดในเขตพระราชฐานพร้อมวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) ที่อยู่ใกล้กัน   ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม และในสมัยรัชกาลที่ 4 เปลี่ยนสร้อยท้ายชื่อเป็นวัดอรุณราชวราราม โดยความหมายยังคงเป็น "วัดแห่งรุ่งอรุณ"  ชาวต่างชาติก็เรียกวัดนี้ในความหมายเดียวกันว่า "The Temple of Dawn"

2. สุดยอดของพระปรางค์คือ "มงกุฎ"

ส่วนยอดขององค์ปรางค์ประดับด้วยนภศูล (อาวุธของพระอินทร์) มีลักษณะเป็นฝักเก้าแฉก  เหนือขึ้นไปเป็นมงกุฎซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้นำมาจากเศียรของพระประธานในโบสถ์วัดนางนอง ย่านบางขุนเทียน เมื่อปี พ.ศ. 2390 นักประวัติศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าพระองค์ทรงต้องการสื่อว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือรัชกาลที่ 4 คือกษัตริย์องค์ต่อไป

3. พระปรางค์คือ เขาพระสุเมรุ

สังคมไทยมีความเชื่อเรื่องไตรภูมิ โดยบางครั้งเราก็ไม่รู้ว่าความเชื่อนี้แฝงฝังอยู่ใกล้ตัวเรา อย่างเช่นเรื่องราวของแดนนรกแดนสวรรค์ เรื่องของพระอินทร์และเทวดา  เรื่องราวของไตรภูมิถูกจำลองไว้ในสถาปัตยกรรมของพระปรางค์วัดอรุณฯ  ด้วยเมื่อเราเดินผ่านประตูรั้วขององค์ปรางค์ที่เปรียบเสมือนกำแพงของจักรวาล พื้นลานกว้างเปรียบคือท้องทะเลสีทันดร กลางทะเลมีเขาพระสุเมรุซึ่งก็คือองค์ปรางค์ แวดล้อมด้วยปรางค์ทิศทั้งสี่แทนสี่ทวีป ซึ่งในไตรภูมิก็คือ อุตรกุรุทวีปด้านทิศเหนือ บุรพวิเทหทวีปด้านตะวันออก อมรโคยานทวีปด้านตะวันตก และชมพูทวีปด้านทิศใต้ซึ่งเป็นที่อาศัยของมนุษย์บริเวณฐานพระปรางค์มีสัตว์ป่าหิมพานต์ เช่น กินรี  สูงขึ้นไปเป็นลำดับชั้น คือ ยักษ์ ลิง และเทวดาที่อยู่สวรรค์ชั้นล่างสุด ช่วยกันแบกเขาพระสุเมรุ

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องราวเหล่านี้แต่ไม่เคยเห็นยักษ์แบก ลิงแบก มาวัดนี้ก็จะได้เห็น  ยักษ์แบกหรือมารแบกเป็นปูนปั้นประดับอาคารที่พบครั้งแรกในสมัยอยุธยา แล้วพัฒนามาเป็นยักษ์แต่งกายแบบโขนในสมัยรัตนโกสินทร์  ยักษ์แบกอยู่ชั้นล่างสุด ลิงแบกอยู่เหนือขึ้นมา และเทวดาแบกอยู่ชั้นบนสุดถัดขึ้นไปเป็นส่วนเรือนธาตุของพระปรางค์หรือยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในไตรภูมิ ส่วนนี้ถ้าพกกล้องส่องทางไกลไปด้วยจะดี เพราะจะเห็นรายละเอียดของซุ้มทิศซึ่งประดับด้วยปูนปั้นรูปพระอินทร์เจ้าผู้ปกครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ทรงช้างเอราวัณได้อย่างชัดเจน

4.แหล่งรวมงานศิลป์ชั้นแหล่งรวมงานศิลป์ชั้นเอกสมัยต้นรัตนโกสินทร์

ช่วงรัชกาลที่ 1-5 มีการบูรณะวัดอรุณฯ หลายครั้ง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปรางค์องค์เดิมให้มีขนาดสูงใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นพระธาตุประจำพระนคร แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 3พระปรางค์มีความสูงราว 27 เมตร  ศิลปะเด่นที่ควรพินิจคือการประดับองค์ปรางค์ด้วยกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้าจากเมืองจีน  แม้ดูใกล้ๆ จะไม่วิจิตรนัก ทว่าเป็นรูปแบบศิลปะที่รัชกาลที่ 3 ทรงนิยม หรือที่เรียกว่า "ศิลปะพระราชนิยม"

5.จากพระปรางค์เห็นการเรียงตัวกันของ 7 พระอุโบสถอย่างประหลาดใจ

ยามมองผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังฝั่งพระนครจะเห็นโบสถ์วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ โบสถ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เจดีย์ประธานวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม วิหารวัดสุทัศนเทพวราราม โบสถ์วัดเทพธิดาราม และภูเขาทองวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เรียงตัวในแนวเกือบเป็นเส้นตรงอย่างน่าอัศจรรย์

6.ตำนานยักษ์วัดแจ้งกับยักษวัดโพธิ์เป็นอย่างไร

ถ้าพูดถึงเรื่องยักษ์ในเมืองไทย คงไม่มียักษ์ที่ไหนดังเท่ายักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์ ครั้งหนึ่งถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง ท่าเตียน อันโด่งดัง เมื่อปี พ.ศ. 2516 ตำนานเล่าขานต่อกันมาว่า ยักษ์วัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งธนบุรี กับยักษ์วัดโพธิ์หรือวัดพระเชตุพนฯ ในฝั่งพระนคร เป็นเพื่อนรักกันมานาน แต่เกิดผิดใจกันเพราะยักษ์วัดโพธิ์ข้ามฟากไปยืมเงินยักษ์วัดแจ้งแล้วไม่ยอมใช้คืน เป็นเหตุให้ทะเลาะต่อสู้กันจนบริเวณโดยรอบราพณาสูร กลายเป็นท่าเตียนในปัจจุบันยักษ์วัดแจ้งมีสองตน ยืนอยู่หน้าโบสถ์วัดอรุณฯ กายสีขาวชื่อสหัสเดชะ กายสีเขียวชื่อทศกัณฐ์  ส่วนยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งอยู่บริเวณทางเข้าพระมหาเจดีย์ เป็นยักษ์ศิลปะแบบจีน สลักจากหิน หรือที่เรียกว่าอับเฉา ซึ่งชาวจีนใช้ถ่วงใต้ท้องเรือสำเภา

7. โศกนาฎกรรมที่หลายคนไม่เคยรู้

เกิดการเผาตัวเองที่วัดอรุณฯ !เรื่องราวของคนเผาตัวเองเป็นเรื่องน่าตื่นตกใจสำหรับคนทั่วไป การเผาตัวเองของนายเรืองกับนายนกก็เช่นกัน  เรื่องของนายเรืองมีกล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 ว่าในปี พ.ศ. 2333 นายเรืองกับเพื่อนพากันมาเสี่ยงทายในโบสถ์วัดครุฑซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดอรุณฯ โดยอธิษฐานว่าถ้าดอกบัวใครบานก่อน คนนั้นจะได้สำเร็จพระโพธิญาณ  วันรุ่งขึ้นดอกบัวของนายเรืองบานก่อน นายเรืองจึงเข้าไปที่วัดอรุณฯ เพื่อถือศีล ฟังเทศน์ และเอาสำลีชุบน้ำมันจุดไฟบูชาตั้งบนแขนตนเอง  ทำเช่นนี้อยู่ 9-10 วันแล้วจึงเผาตัวเองตายเพื่อสำเร็จพระโพธิญาณ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 2 กล่าวถึงนายนก ว่าในปี พ.ศ. 2360 นายนกซึ่งศรัทธาในพระพุทธศาสนามากและหวังไปสู่นิพพาน ได้เฝ้ารักษาศีล ปฏิบัติธรรม ละทิ้งบ้านเรือน ไม่กินข้าว และทรมานตนเองอยู่ที่วัดอรุณฯ จนกระทั่งเผาตัวเองตายการเผาตัวเองของนายเรืองและนายนกได้รับการยกย่องจากคนในสมัยนั้นว่าเป็นการสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา จึงมีการสร้างรูปสลักหินของทั้งสองตั้งไว้ในศาลาใกล้โบสถ์วัดอรุณฯ โดยรูปสลักของนายเรืองเป็นชายไว้ผมทรงมหาดไทย นั่งสมาธิอยู่ทางด้านซ้ายของโบสถ์  ส่วนด้านขวาคือนายนก แกะสลักเป็นรูปคล้ายกัน แต่นั่งพนมมือ

อัพเดตสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น เกาะล้าน เชียงใหม่ สวนผึ้ง หัวหิน เกาะเสม็ด

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ วัดอรุณฯ คุณเคยรู้สิ่งเหล่านี้หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook