พระนอนสอนอะไร

พระนอนสอนอะไร

พระนอนสอนอะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ใครเที่ยววัดบ่อยๆ คงสังเกตเห็นว่าพระประธานในอุโบสถวิหารที่เราเข้าไปกราบขอพรกันนั้น นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปนั่งในปางต่างๆ แล้ว ก็ยังมีพระนอนอยู่ด้วย


คติการสร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือปางปรินิพพานนั้น เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รำลึกถึงการเสด็จปรินิพพานขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นอนุสติเตือนใจให้ดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งไม่เที่ยง แม้กระทั่งพระพุทธองค์ก็ยังเลี่ยงไม่พ้น การสร้างพระนอนส่วนใหญ่มักอยู่ในท่าตะแคงขวา ในท่านอนของราชสีห์ (สีหไสยา เป็นท่านอนที่ให้กำหนดจิตให้ตื่นในเวลาที่ต้องการ) หลับพระเนตร พระเศียรหันไปทางทิศเหนือ หนุนพระเขนย พระหัตถ์ขวารองพระเศียรไว้ พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย พระบาทซ้ายทับพระบาทขวาลักษณะตั้งซ้อนกัน พระนอนรูปแบบนี้ในกรุงเทพฯ มีองค์โตๆ อยู่ที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน

นอกจากท่าตะแคงขวาซึ่งพบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีพระนอนในท่าตะแคงซ้าย เช่นที่ภูค่าว จ. กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพระนอนแบบทวารวดี พระหัตถ์ซ้ายพับขึ้นมารองเศียรแทนที่จะตั้งขึ้นแบบพระนอนในยุคหลังๆ พระบาทซ้อนเกยกัน และอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกจัดให้เป็น Unseen ก็คือ พระนอนหงาย ที่ จ. สุพรรณบุรี สันนิษฐานกันว่าการนอนลักษณะนี้ ไม่น่าจะหมายความถึงการเสด็จดับขันธ์ของพระพุทธเจ้า


ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ พระนอนสอนอะไร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook