อุทยานแห่งชาติแม่เมย

อุทยานแห่งชาติแม่เมย

อุทยานแห่งชาติแม่เมย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ความเป็นมา : เริ่มมีการสำรวจว่าจัดตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นหน่วยงานกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่เมยนั้น เพราะว่ามีแม่น้ำเมยซึ่งกั้นระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า เป็นเขตด้านทิศตะวันตกเกือบ 50 กิโลเมตร จากทิศเหนือจรดทิศใต้ อีกทั้ง แม่น้ำเมยนั้นเป็นแม่น้ำที่แปลกคือ จะไหลมาทางทิศใต้ ขึ้นไปทางทิศเหนือ พื้นที่ที่ทำการสำรวจจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ของวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ และรวมพื้นที่ของป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยางบางส่วน เป็นแนวเทือกเขาถนนธงชัย โดยเริ่มจากตำบลแม่ต้าน ผ่านตำบลแม่สอง จนถึงตำบลท่าสองยาง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 713,750 ไร่ หรือ 1,142 ตารางกิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าท่าสองยาง ในท้องที่ตำบลแม่สอง และตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 40 ก ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2542 มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 115,800 ไร่ หรือ 185.28 ตารางกิโลเมตร ในท้องที่ตำบลแม่อุสุนั้น เดิมเป็นวนอุทยานถ้ำแม่อุสุ มีอาณาเขตทิศเหนือจดแม่น้ำเมย ทิศใต้จดห้วยโป่งและห้วยม่วง ทิศตะวันออกจดห้วยพูลซะ ห้วยพอนอโก ตามทางหลวงสายแม่สอด-แม่สะเรียง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย ในท้องที่ตำบลแม่สอง เดิมเป็นพื้นที่ป่าสัมปทานเก่า อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง

มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้ คือ ทิศเหนือจดทางหลวงสายแม่สลิด อมก๋อย ทิศใต้จดลำน้ำแม่สองและทางหลวงสายแม่สอดแม่สะเรียง ทิศตะวันออกจดห้วยแม่หลุยและลำน้ำแม่สอง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเมย ลักษณะภูมิประเทศ ส่วนมากเป็นภูเขาสลับซับซ้อนมีที่ราบน้อยมาก โดยมีความสูงเฉลี่ย 680 เมตร จากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุด 1,250 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ไม้ใหญ่มีน้อย เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของลำน้ำแม่สอง ลำน้ำแม่อุสุ ลำน้ำแม่สลิดหลวง และแม่น้ำเมย ลักษณะภูมิอากาศ จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การรองเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก

พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดจากทะเลอันดามัน ประกอบกับอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าเขา ทำให้ได้รับลมมรสุมมากกว่าบริเวณอื่น มีฝนตกชุกเหมือนภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะมีฝนตกชุกมากในฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยว ฤดูร้อนอากาศค่อนข้างอบอุ่น และจะหนาวถึงหนาวจัดในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวชมทะเลหมอก และสภาพทิวทัศน์ทั่วไปเป็นอย่างมาก พืชพรรณและสัตว์ป่า

พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยสามารถจำแนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดิบแล้ง พบตามหุบเขาทั่วไปในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-700 เมตร พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่จำพวก ตะเคียนหิน ตะแบก สมพง ชมพู่ป่า กระบาก ยาง รกฟ้า สมอพิเภก ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก ไผ่ หวาย เฟิน เร่ว เป็นต้น ป่าดิบชื้น จะพบในระดับสูงขึ้นมา โดยเฉพาะตามหุบเขาและริมห้วยในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-1,200 เมตร เป็นป่าทึบประกอบด้วย ยาง ตะเคียนหิน อบเชย มะไฟป่า อินทนิน ค้อ กระทุ่มน้ำ ลำพูป่า ฯลฯ

พืชพื้นล่างเป็นพวกหวาย เต่าร้าง ไผ่สีสุก ไผ่หก ไผ่หนาม เฟิน ปรง และพืชในวงศ์ขิงข่า เป็นต้น ป่าดิบเขา พบตามภูเขาในระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ ก่อเดือย ก่อแป้น อบเชย ทะโล้ จำปีป่า ฯลฯ ป่าสนเขา ส่วนใหญ่ขึ้นเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง700-1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ และก่อชนิดต่างๆ ป่าเบญจพรรณ โดยมากพบอยู่ริมห้วยและหุบเขาในระดับ 300-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่พบจำพวก สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง มะค่าแต้ ชิงชัน ขะเจ๊าะ เสลา ตีนนก โมกมัน ฯลฯ และป่าเต็งรัง มักขึ้นอยู่บนเนินเขา ไหล่เขา และเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีหินโผล่ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง ส้าน มะขามป้อม ยอป่า สลักป่า ติ้ว แต้ว เป็นต้น

สัตว์ป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่เมยมีจำนวนน้อย อันเป็นผลเนื่องมาจากการล่า การยิง และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย สัตว์ที่หลงเหลืออยู่จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก สัตว์ใหญ่พบน้อยมาก ที่สามารถพบเห็นได้บ่อย เช่น เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง ลิงลม อีเห็น ชะมด เม่น เม่น กระต่ายป่า กระรอก ไก่ป่า นกเงือก นกขุนทอง นกตะขาบทุ่ง นกกะรางหัวหงอก นกเขาเขียว งูเห่า งูจงอาง งูเหลือม งูสิง ตะกวด แย้ กิ้งก่า ตะพาบน้ำ กบ เขียด เป็นต้น

ติดต่อ อุทยานแห่งชาติแม่เมย ต.แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก 63150 โทรศัพท์ 0 5557 6452 (สนง.), 08 5272 1171 (จนท.) อีเมล maemoei@hotmail.com

อุทยานแห่งชาติแม่เมย ชุดที่ 1สายน้ำ สายลม แสงแดด ความสัมพันธ์อย่างเดียวกัน ก่อเกิดเป็นวิถีชีวิตริมขอบเขตประเทศไทย

 

โดย อำนวยพร บุญจำรัส

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook