วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งอยู่หมู่ที่ 11 ตำบลสำเภาล่ม สร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยาโดยคณะธรรมฑูตรุ่นแรกแห่งปารีส คือ ฯพณฯ ท่านลังแบร์ต เดอ ลาม็อต กับพระสงฆ์อีก 2 รูป ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2205 โดยได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และทูลขอที่เพื่อสร้างวัดและโรงเรียน รวมทั้งเพื่อการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและให้การศึกษาแก่เด็ก พระองค์ท่านได้พระราชทานที่ดินแปลงหนึ่งริมแม่น้ำเพื่อสร้างวัดและโรงเรียน ในสมัยนั้นเรียกว่า "ค่ายนักบุญยอแซฟ" เริ่มแรกเป็นอาคารไม้ และได้สร้างด้วยอิฐถือปูนใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างถึง 10 ปี ในสมัยพระเพทราชา พ.ศ. 2238 และในปี พ.ศ. 2310 วัดนี้จึงกลายเป็นวัดร้างเนื่องจากถูกพม่าเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2390 ได้ทำการสร้างวัดเป็นอิฐถือปูนบนที่เก่าของวัดเดิม (ซากของวัดเก่ายังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตอนหน้าและด้านหลังของวัดปัจจุบัน) ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่เพื่อระลึกถึงวัดนักบุญยอแซฟหลังเดินที่ถูกพม่าทำลาย โดยรูปแบบของวัดเป็นแบบโรมัน สมัยศตวรรษที่ 12 ใช้เวลาก่อสร้างถึง 8 ปี แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2434 ความสวยงามของวัดแห่งนี้อยู่ที่ความสง่าของตัวโบสถ์ ความงามของกระจกสีเหนือช่องหน้าต่างพระแท่นหินอ่อน ตลอดจนลวดลายที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์สำหรับชนรุ่นหลังและเป็นพยานยืนยันถึงการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นแห่งแรกในประเทศไทยจากศิลาจารึกที่ประตูกลางด้านในของวัดโบสถ์แห่งนี้ และเพื่อเป็นเกียรติแด่นักบุญยอแซฟ กระทั่งปี พ.ศ. 2541 ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยความเห็นชอบของพระคุณเจ้าพระดาร์ดินัลมีชัยกิจบุญชู ได้มอบหมายให้ บริษัท มรดกโลก จำกัด ทำการสำรวจสภาพความเสียหายของตัววัดและทำการบูรณะจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2547

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook