เมื่อแม่น้ำน่านเปลี่ยนสี ถึงฤดูของงานแข่งเรือยาวประเพณี

เมื่อแม่น้ำน่านเปลี่ยนสี ถึงฤดูของงานแข่งเรือยาวประเพณี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดพิจิตร "เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าช่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพชรรวมใจ" ทุกปี เมื่อน้ำในแม่น้ำน่านเริ่มเปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลขุ่น นั่นเป็น สัญญานบ่งบอกถึงฤดูน้ำหลากและหลังจากนี้อีกไม่นาน ชาวบ้าน าศัยอยู่ริมแม่น้ำน่าน และ ชาวเมืองที่พากันเดินทาง มาจาก ทุกสารทิศ จะมารวมตัวกันอยู่หน้าวัดท่าหลวง เพื่อเข้าร่วม งานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประจำจังหวัด นั่นคือ "งานแข่งเรือประเพณีจังหวัดพิจิตร" ในห้วงเวลานั้น แต่ละโสตประสาทของผู้ที่ไปร่วมงานจะถูก ปลุกเร้าด้วย เสียงกลองโพน เสียงนกหวีดให้จังหวะจ้วงแก่ ฝีพาย รวมไปถึงเสียงอื้ออึงจากกองเชียร์ของแต่ละทีมบรรยากาศ ในขณะนั้น จะปลุกเร้าให้ผู้ที่เข้าร่วมงานอยากชม การแข่งขัน เรือยาวประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศมากยิ่งขึ้นจากปูมหลังของจังหวัดพิจิตรที่รู้กันว่ามีการแข่งเรือประเพณี กันมานานแล้ว เพราะมีธรรมเนียมว่า วัดใดถ้ามีงานปิดทอง ไหว้พระแล้ว ก็จะต้องจัดงานแข่งเรือควบคู่กันไปด้วย ในทุกปี การจัดแข่งเรือของจังหวัดพิจิตรนั้นถือว่าเป็นงานใหญ่ประจำ จังหวัด โดยจะจัดเป็นประจำทุกปีต้นเดือนกันยายนบริเวณหน้า วัดท่าหลวง ในงานนอกจากจะมีการแข่งเรือยาวที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันมา จากทั่วทุกสารทิศในประเทศแล้ว นอกจากนั้นยังมี การประกวด แห่เรือต่างๆที่มีการประดับประดาริ้วขบวนอย่างวิจิตรงดงาม น่าชม และมีการประกวดสาวงามแห่งเมืองชาละวันเป็นของ สวยๆงามที่ไม่น่าพลาดพิจิตรเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของ ประเทศไทย ชื่อเมืองมีความหมายว่าเมืองงามมีที่ตั้งอยู่ ระหว่าง จังหวัด นครสวรรค์ กับ จังหวัดพิษณุโลก ตัวเมือง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน และยังมีแม่น้ำยมไหลผ่าน พิจิตรเป็น เมืองที่เก่าแก่มาก่อนสมัย สุโขทัย ปรากฏชื่อเรียกว่า เมืองสระหลวงซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมือง เอก ของสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงเศรีอยูยาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง โอฆะบุรี ซึ่งแปลว่าเมืองในท้องน้ำ นอกจากนี้พิจิตรยังเป็นที่ประสูติของพระมหากษัตริย์แห่ง กรุงเศรีอยุธยาอีกพระองค์หนึ่งคือสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 หรือสมเด็จพระพุทธเข้าเสือ และถ้าใครยังจำนิทานพื้นบ้าน ที่เล่าถึงการต่อสู้ระหว่าง จระเข้ ที่ชื่อชาละวัน กับมนุษย์ที่ชื่อว่า ไกรทองได้ เมืองนี้ก็คือเมืองที่ถูกกล่าวถึงใน นิทานพื้นบ้าน ที่ชื่อ ว่า "ไกรทอง" นั่นเอง ด้วยความสะดวกสะบายในการเดินทางทีมงานวันว่างขอบอกคำเดียวว่าไม่น่าพลาดเป็นอย่างยิ่ง สำหรับงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของเมืองชาละวัน แห่งนี้ไป พิสูจน์กันว่า เมื่อถึงวันนั้นที่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน หน้าวัดท่าหลวง เลือดในกายคุณจะฉีดซ่านด้วยความตื่นเต้นหรือไม่ 5 กันยายน เราจะได้รู้กันการเดินทาง จังหวัดพิจิตรอยู่ห่างจากรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ สามารถ เดินทางได้ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ รถประจำทาง (บขส.) และรถประจำทางปรับอากาศโดยมีรายละเอียดดังนี้ รถยนต์ จากกรุงเทพฯ (ทางหลวงหมายเลข 1) แยกเข้าเส้นทาง สายเอเชียที่อยุธยาถึงจังหวัดนครสวรรค์ แยกเข้าเส้นทาง นครสวรรค์ - ชุมแสง - บางมูลนาก - ตะพานหิน - พิจิตร (ทางหลวงหมายเลข 1118) เข้าสู่จังหวัดพิจิตร รวมระยะ ทางประมาณ 345 กิโลเมตร รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีรถไฟจากสถานีหัวลำโพง ไปกลับ กรุงเทพฯ - พิจิตร ทุกวัน วันละหลายเที่ยวและ สามารถขึ้นได้จากสถานีสามเสน บางซื่อดอนเมืองและ สถานีอื่นๆ สอบถามได้ที่หน่วยบริการเดินทางซึ่งอยู่ภายใน สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 223-7010, 272-0299 รถประจำทาง มีรถประจำทางไป - กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ - พิจิตรทุกวัน วันละหลายเที่ยวจากสถานีขนส่งสายเหนือ โทรศัพท์สอบถาม ได้ที่หมายเลข 537-8054-5 , 537-5056 รถประจำทางปรับอากาศ บริษัทถาวรฟาร์ม มีรถปรับอากาศบริการไป - กลับระหว่าง กรุงเทพฯ - พิจิตรทุกวันสอบถามได้ที่หมายเลข 278-4155 ด้วยความขอบคุณ ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook