เทศกาลวัดอรุณ

เทศกาลวัดอรุณ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เทศกาลวัดอรุณ ส่วนหนึ่งในโครงการอนุรักษ์วัดอรุณฯโดย จะเริ่ม ตั้งแต่วันที่ 9-15 พฤศจิกายน 2543 โดยวันเสาร์ที่ 11เป็น วันลอย กระทงโดยบริษัท ซี.เอ็ม. ออร์กาไนเซอร์ซึ่งเป็นเจ้าของ โครง การ ร่วมกับกรมศิลปากรเป็นผู้ให้การ สนับสนุน วัตถุประสงค์หลักๆของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมศิลป วัฒน ธรรมของไทย, เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์โบราณสถาน โบราณวัตถุของประเทศไทยภายใน งาน นอกจากที่ผู้เข้าร่วมงานจะได้ชื่นชมกับโบราณสถาน คู่บ้าน คู่เมือง แล้ว ยังจะได้ชมมหรสพต่าง ที่หาดูได้ยากอีกด้วยขอเริ่มต้นที่ความเป็นมาของวัดอรุณราชวราราม พระปรางค์วัดอรุณฯริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น หนึ่งใน สัญลักษณ์ของกรุงเทพฯที่รู้จักกันทั่วโลกจากแผนที่ เมืองธนบุรีซึ่ง ชาวฝรั่งเศสทำไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชบ่งบอก ว่าวัดแห่งนี้มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังได้ ทรงถือเอาวัดแห่งนี้เป็นวัดภายในพระ ราช วัง ยกเลิกไม่ให้พระสงฆ์จำพรรษาและโปรดเกล้า ให้ ปฏิสังขรณ์ แล้วพระราชทาน นามว่า "วัดแจ้ง" ต่อมารัชกาลที่ 2 ทรง ปฏิสังขรณ์แ ละพระราชทาน นามว่า "วัดอรุณราชธาราม ใน สมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัด"อรุณราชวราราม" ภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถ ถือเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในสมัย รัชกาลที่ 2เป็นศิลปะ กรุงศรีอยุธยาตอนปลายหลังคา ลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบหน้า บันทั้งหน้าและหลัง เป็นไม้แกะจิตรกรรมฝาผนัง เป็นฝีมือช่างใน รัชกาลที่ 3และ รัชกาลที่ 5พระประธานมีนาม ว่า"พระพุทธธรรม มิศรราชโลก ธาตุดิลก" เป็นพะปางมารวิชัยหล่อ ขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ 2ที่ ผ้า ทิพย์ ตรงใบพัดยศบรรจุพระ บรม อัฐิของรัชกาลที่ 2 พระปรางค์ ก่อ อิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบจานชาม เบญจรงค์และ เปลือกหอย ทำเป็นลายดอกไม้ใบไม้ และลายอื่นๆ ยอดพระปรางค์ เป็นนภศูลและมงกุฎ ปิดทองพระ ระเบียงคต(พระวิหารคต) สร้าง แทนกำแพงแก้วหลังคามุงกระเบื้องเคลือบมีประตู 4 ทิศภายในประ ดิษฐาน พระพุทธรูปปางมาร วิชัย 120 องค์ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรม พระยานริศรา นุววัติวงศ์ทรงยกย่อง ว่า "ทรวดทรงงามกว่า ระเบียงที่ไหนหมดเป็นศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่ 2ประตูซุ้มยอดมงกุฏ เป็นประตูจตุรมุขหลัง คา 3 ชั้น เฉลียงรอบมี ยอดเป็นมงกุฏประดับ กระเบื้องถ้วยสลับสี มณฑปพระพุทธบาทจำลอง อยู่ระหว่างพระ อุโบสถ และ พระวิหารภายใน มีพระพุทธบาทจำ ลองเป็นหิสลักจากกวางตุ้ง ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีนอยู่ที่เขื่อนหน้าวัดมี 6 หลัง ภูเขาจำลอง รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวังต่อมา รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้นำมา ไว้ที่วัดนี้ รูปปั้นยักษ์ยืน หน้าประตูยอดซุ้มพระมงกุฎมี 2 ตนปั้น ด้วย ปูนยักษ์ ขาว คือสหัส เดชะยักษ์เขียวคือทศกัณฑ์วัด แห่งนี้มีความ เจริญรุ่งเรืองคู่กับกรุงรัตนโกสินทร์มาตลอด สถาปัตยกรรมของปูชนียวัตถุสถานล้วนทำอย่างประณีตงดงาม สมกับเป็นหนึ่งในวัดเอกของประเทศไทย และตามพระราชประ เพณีพระมหากษัตริย์ จะเสด็จเป็นองค์ประธาน ในงานพระราชพิธี ที่สำคัญของทางวัดตลอดจน พระราชทาน ผ้าพระกฐินทางชล มารคการแสดงภายในงาน 1.การแสดงหุ่นหลวง "หาดูได้ยาก ในปัจจุบัน ไม่มีการแสดงแล้ว ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนปล่อยม้าอุปการ"หุ่นใหญ่ที่เชิดชักมา แต่สมัยอยุธยาจนถึงต้น รัตนโกสินทร์ตราบกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 6 หุ่นหลวงตกไปจาก ความนิยมเกือบสาปสูญไปเพือ่เป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมไทยหุ่น หลวงจึงได้รับการปลุก ขึ้นมาให้มี ชีวิตอีกครั้ง ในวันนี้มีการจัด สร้าง หุ่นหลวงขึ้นมาใหม่ โดยใช้หุ่นหลวง ในพิ พิทธภัณฑ์ สถานแห่งชาติเป็นต้นแบบนำมาแสดงให้ชมกันในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนปล่อยม้าอุปการ2.การแสดง โขน ชักรอก "หาดูได้ในงานนี้เท่านั้นเรื่องราม เกียรติ์ ตอนหัก คอช้าง เอราวัณ นาฎกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ที่สร่างซาไปกว่า 200 ปี ได้ถูกปลุกให้กลับมามีชีวิตอีก ครั้งในงาน "เทศกาลวัดอรุณ ร.ศ. 100 ท่านจะได้พบกับโขน เรื่อง "รามเกียรติ์ ตอนหักคอช้าง เอราวัณ" ในรูปแบบของโขนชักรอกที่หาดูได้เฉพาะในงาน นี้เท่านั้น3. การเชิดหนังใหญ่ มหรสพที่เคียงคู่มากับการแสดงโขนแต่โบราณกาลแผ่นหนัง สลักฉลุเป็นตัวละครหลากหลายด้วยลีลาและวดลายที่งดงาม เมื่อเกิดเงาบนจอหนังสีขาวในงานนี้ท่านจะได้พบกับหนัง ใหญ่ในลีลาของการพากย์ 3 ตระ เพื่อบูชาครูหนังใหญ่ และระบำชุด "จับลิงหัวคว่ำ" เรื่องราวของธรรมะยอ่มชนะ อธรรมที่ให้ทั้งสาระและสนุกสนาน4. การแสดงละครนอกและ ละครใน นาฎลีลาที่ละเมียดละไมของนางในท่วงท่าลีลาที่อ่อนหวาน เพียบพร้อมด้วยสุนทรีย์ของละครหลวง หรือละครในและความ สนุกสนานแบบชาวบ้านร้านตลาดซึ่ง ดูได้จากละครนอก5. การแสดงมโหรีไทย จีน ฝรั่ง เครื่อง ดีด สี ตี เป่าที่ได้รับ จากอินเดียและ ปรับปรุงจนกลายมาเป็น มโหรีปี่พาทย์ที่บรรเลงเพลงอย่างโบราณหาฟังได้ยากท่านจะได้พบ กับมโหรีปี่พาทย์จาก หลายสกุลที่จะพร้อมใจกันมาร่วมบรรเลง ในงานสมโภช พระพุทธปรางค์วัดอรุณราชวรารามครั้งนี้6. การละเล่นและกีฬา ในสมัยโบราณ ได้แก่ญวนหกมวยไทย คาดเชือก เป็นต้น ระเบง โมงครุ่ม กุลา ตีไม้ แทงวิสัย ลอด บ่วง ญวนหกและมวยไทยแบบคาดเชือกเป็น การละเล่นและกีฬาที่บรรพบุรุษ นิยมเล่นในงานสมโภชต่างๆด้วย ความมุ่งหวังที่จะฟื้นอดีต ให้กลับมาอีกครั้ง จึงจัดให้มีการละเล่น และกีฬาแบบโบราณ ถอด แบบมาจากจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ7.ลอยกระทง ประเพณีลอยประทีป ที่นางนพมาศได้ริเริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับ การสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลากว่าเจ็ดร้อยปี เชิญทุกท่าน เข้าร่วม ประเพณีการขอขมาแก่แม่พระคงคา และบูชาพระพุทธเจ้าใน งาน ลอยกระทง "เทศกาลวัดอรุณ ร.ศ. 1008.อาหารและงานฝีมือ พบกับงานหัตถกรรมโบราณอันวิจิตรอาทิ งานลงรักปิดทองงาน ไม้ แกะสลัก งานช่างทำบาตรบุในกลิ่นไอแห่งอดีต อิ่มอร่อยกับ อาหารคาวหวาน และของว่างต้นตำรับชาววัง ร่วมลอยระทง ในขบวน บุคคลประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ตอนต้น ท่านผู้อ่านที่สนใจเข้าชมการแสดงรวมทั้งชิมอาหาร คาว-หวาน เครื่องดื่มแบบไทยเดิม สามารถซื้อบัตรได้ที่วัดอรุณ ราชวราราม, บริษัทซี.เอ็ม. ออร์กาไนเซอร์ จำกัด และศูนย์การค้า เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว, ปิ่นเกล้า และ เซ็นทรัลชิดลม บัตร ราคา 500 บาท สอบถามรายะละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท C.M. ORGANI ZER CO.,LTD โทร 559-0505, 559-2070 ต่อ 112, 115, 142 หรือ E-Mail: cmo@cm.co.th, wan dee@cm.co.th ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com เนื้อหาและภาพประกอบวัดอรุณ จากหนังสือ "ของดีกรุงเทพ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook