ถนนสายวัฒนธรรม ท่าพระอาทิตย์

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าพระอาทิตย์

ถนนสายวัฒนธรรม   ท่าพระอาทิตย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ท่าพระอาทิตย์ ตั้งอยู่บริเวณถนน พระอาทิตย์และถนนพระสุเมรุ พื้นที่บริเวณนี้เป็นชุมชน สำคัญที่เติบโตมาพร้อมกับ การสร้างพระนคร ในอดีต เป็นศูนย์กลางการปกครองและ ศิลปวัฒนธรรม ตัวถนนขนาน แม่น้ำเจ้าพระยา มีวังเจ้านาย บ้านเรือนข้าราชบริพาร และราษฎรเรียงรายอยู่ทั้ง สองฝั่งถนน ความเจริญรุ่งเรืองของ ชุมชนถนนพระอาทิตย์ ผูกพันกันอย่างต่อเนื่องกับ ประวัติศาสตร์ของกรุงเทพ มหานครมาจนถึงปัจจุบัน พระตำหนักต่างๆทีอยู่ในบริเวณ นี้สร้างขึ้นโดยได้รับอิทธิพลทาง สถาปัตยกรรมมา จากทั้งจีนและยุโรป ปัจจุบันพื้นที่บริเวณนี้ได้มีการเปลี่ยน แปลงไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป พระตำหนักต่างๆยังได้รับการอนุรักษ์ ไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดี บางแห่งได้ถูก ปรับเปลี่ยน ใช้เป็นอาคารสำนักงาน และก็มีการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่ ขึ้นมาด้วยเช่นกัน โดยเสน่ห์ของพื้นที่ บริเวณนี้ในปัจจุบัน ก็คือเป็นถนน ที่มีร้านอาหารมาก มาย ทั้งที่เปิดในเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นที่นิยมของทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติ และก็ยังมีสวนสันติชัยปราการ บริเวณป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นสถานที่พัก ผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมอีกแห่ง หนึ่งเช่นกัน สถานที่สำคัญต่างๆในย่านถนนพระ อาทิตย์และถนนพระสุเมรุ ศูนย์ส่งเสริมการท่อง เที่ยวกรุงเทพมหานคร(ศทท.) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗/๑ ถนนพระอาทิตย์ เป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ บริการข้อมูลข่าวสารแก่นัก ท่องเที่ยว รวบรวมข้อมูลทางวิชาการ ศึกษาวิจัยทิศทางการท่องเที่ยว และ สนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมประเพณีบ้านเลขที่ ๑๙ ถนนพระอาทิตย์ เป็นบ้านซึ่งเคยเป็นที่ พักอาศัยของนายปรีดี พนมยงค์ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ในรัชกาลที่ ๘ และยังเคยเป็นกองบัญชาการของเสรีไทยในสมัย สงครามโลกครั้งที่๒ อีกด้วย ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ อาคารที่ทำการกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(ยูนิเซฟ) แต่เดิมเป็นที่ประทับของเจ้าจอมมารดากลั่น พระมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวร์วรฤทธิ์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ของรัชกาลที่ ๔ เรียกว่าตำหนัก หลังเก่า สันนิษฐานว่าอาคารหลังนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ลักษณะเด่นของ อาคารคือรูปทรงหลังคา ปัจจุบันตัวอาคารยังคงสภาพเดิม และมีการดูแลรักษา อย่างดี อาคารสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอฟเอโอ) เป็นอาคารที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวร์วรฤทธิ์เช่นกัน ตัวอาคารสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ เรียกว่า บ้าน มะลิวัลย์ ต่อมาที่ดินและอาคารได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 และให้เช่าอาคารสำนักงานขององค์การ อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในเวลาต่อมา ห้องสมุดพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นห้องสมุดที่มีการรวบ รวมวารสารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หนังสือ กฎหมาย ธรรมะ สารคดีต่างๆ เพื่อศึกษาค้นคว้าและวิจัยสำหรับผู้ที่สนใจ ตั้ง อยู่บนพื้นที่ที่เคยเป็นวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ การพระนเรศวร์วรฎทธิ์ บ้านพระอาทิตย์ อาคารหลังนี้ตั้งอยู่บนที่ดินประมาณ ๒ไร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นที่ตั้งของวังของพระเจ้า ราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นกษัตริย์ ศรีศักดิเดช พระโอรสของวังหน้าในรัชกาลที่ ๒ และในสมัยรัชกาลที่ ๗ ผู้สืบเชื้อ สาย คือ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว. เย็น อิสรเสนา) เสนาบดีกระทรวงวัง บ้านเจ้าพระยา เดิมเป็นวังพระเจ้า ราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นสถิตย์ ธำรงสวัสดิ์พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมารัฐบาล ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ซื้อที่ดินแล้วสร้างที่ทำการกรมตำรวจ เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบเข้ารับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจพระนครบาลและภูธร ป้อมพระสุเมรุ เป็น ๑ ใน ๑๔ ป้อม ที่สร้างพร้อมกับแนวกำแพง พระนครชั้นนอกในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยแนวกำแพงจะรายล้อมแนวคลองรอบกรุง ไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา โดยป้อมทั้ง ๑๔ ได้แก่ จักรเพชร ผีเสื้อ พระจันทร์ พระ อาทิตย์ พระสุเมรุ มหากาฬ มหาชัย มหาปราบ มหายักษ์ มหาฤกษ์ ยุคนธร อิสินธร เสือทยาน และหมูทลวง ปัจจุบันป้อมต่างๆ ทรุดโทรมลงจึงมีการรื้อทิ้งเกือบหมด คงเหลือเพียงป้อมพระสุเมรุ และป้อมมหากาฬเท่านั้นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ เป็นสวนสาธาณะริมแม่น้ำเจ้า พระยาที่ถูกสร้างขึ้นบริเวณป้อมพระสุเมรุ เพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจแห่ง ใหม่ตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ทั้งหมดประ มาณ ๘ ไร่ ครึ่ง อยู่ไนความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ภายในมีการจัดภูมิทัศน์ที่งดงาม ประกอบไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่มากมาย ซึ่งรวม ทั้งต้นลำพูซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของบริเวณย่านบางลำพูซึ่งในปัจจุบันเหลือ อยู่เพียง ๒ ต้นในบริเวณนี้เท่านั้น พระที่นั่งสันติชัยปราการ เป็นพระที่นั่งขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ ภายในบริเวณสวนสันติชัยปราการ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง และมีการแกะสลักไม้ เป็นลวดลายตกแต่งงดงามโดยช่างฝีมือของไทย พระที่นั่งแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อ แสดงถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของประชาชนชาวไทย เปรียบเหมือนของขวัญจากประชาชนชาวไทยในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ อาคารโรงพิมพ์คุรุสภา สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นโรงพิมพ์ตำราของ กระทรวงธรรมการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงเปิดเป็นโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช วิศยารามซึ่งถือเป็นโรงเรียนสอนช่างพิมพ์แห่งแรกของประเทศไทย ซุ้มประตูวังถนนพระสุเมรุ ซุ้มประตูวังนี้เป็นส่วนที่เหลืออยู่ ของวังที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา สมเด็จ พระอนุชาธิราชองค์เล็กของพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บริเวณนี้เป็นพระนิเวศน์สถานเดิมของสมเด็จ พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งทรง ดำรงตำแหน่งวังหน้าสมัยรัชกาลที่ ๑ร้านที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมก็มีอยู่หลายร้าน เช่น ร้านโรตี มะตะบะ บริเวณตรงข้ามสวนสันติชัยปราการ ซึ่งเปิดขายมานาน ร้านอาหารส่วนใหญ่ก็จะ เป็นห้องแถว ๑-๒ ห้อง โดยส่วนใหญ่จะไม่ปรับอากาศ เน้นบรรยากาศที่เป็นกันเอง ราคาก็จะไม่แพงมาก นอกจากร้านอาหารแล้วก็ยังมีร้านกาแฟอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่ จะเป็นร้านที่มีการตกแต่งสวยงาม เน้นการนั่งกิน นั่งคุยกัน บางร้านอาจมีบริการหนัง สือให้อ่านด้วย เช่น ร้านกาแฟบ้านพระอาทิตย์ ซึ่งเป็นร้านที่อยู่ในพื้นที่ของบ้านพระ อาทิตย์ มีบรรยากาศที่ค่อนข้างสงบเป็นส่วนตัว ส่วนทางร้านที่ติดด้านริมแม่น้ำนั้นมี เพียงร้านเดียวบริเวณนี้ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท่าบางลำพู โดยจะเน้นบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าร้านอื่นๆ แต่บรรยากาศที่น่าสนใจกว่าของถนนพระอาทิตย์ก็คือบรรยากาศยามค่ำคืน ซึ่งปัจจุบันก็ดูเหมือนจะกลายเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของย่านนี้ไปแล้ว โดยร้านที่ช่วยสร้างบรรยากาศเหล่านี้ ก็ได้แก่บรรดาร้านอาหารกึ่งผับที่จำหน่ายเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ มีให้เลือกนั่งดื่มกินกันอยู่หลายร้าน โดยส่วนใหญ่จะเป็นร้านขนาด ๑ คูหา เปิดบริการ ๒ ชั้น โดยมากจะเป็นร้านปรับอากาศ มีการตกแต่งร้านที่เป็นเอก ลักษณ์ แตกต่างกันออกไป ส่วนเรื่องของราคาจะมีความใกล้เคียงกันทุกร้านลูกค้า ส่วนใหญ่ก็มีหลากหลายประเภท ตั้งแต่นักศึกษา คนทำงาน ละรวมถึงชาวต่าง ชาติอีกด้วย การเดินทางถนนสายนี้มีเส้นทางรถประจำทางผ่านหลาย สาย ได้แก่ ๓ ,๖, ๙, ๑๕, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๖๕, ๘๒, ปอ.๖, ปอ.๑๑, ปอ.๓๙ และ ปอ.พ.๘ นอกจากนั้นก็มีการสัญจรทางเรืออีกด้วย โดยท่าเรือจะอยู่บริเวณถนนพระ อาทิตย์ ซึ่งมี ๒ ท่าด้วยกัน คือ ท่าพระอาทิตย์ และท่าบางลำพู โดยท่าพระอาทิตย์ นั้นจะเป็นท่าเรือข้ามฟากไปยังท่าปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี และเป็นท่าให้เช่าจอดเรือของ เอกชนด้วย ส่วนอีกท่าคือท่าบางลำพู ซึ่งเป็นท่าจอดเรือด่วนเจ้าพระยา และท่าเรือ ข้ามฟากไปยังท่าวัดดาวดึงษ์ สำหรับที่จอดรถยนต์ส่วนบุคคลก็สามารถจอดได้ บริเวณริมถนนพระอาทิตย์ในเวลาที่กำหนดไว้ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook