ถนนสายวัฒนธรรม ท่าเตียน

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าเตียน

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าเตียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ท่าเตียน พื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นที่ประทับของเชื้อพระ วงศ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในรัชกาลที่ ๔ เกิดไฟ ไหม้ครั้งใหญ่ ไหม้ตั้งแต่วังท่า เตียนตลอดทั้งบ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างบริเวณนั้นจนเลี่ยนเตียนโล่ง ชาวบ้าน จึงเรียกที่บริเวณนี้ว่า "ท่าเตียน" สถานที่สำคัญในบริเวณนี้ สะพานเจริญรัช๓๑ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทอดข้ามคลองคู เมืองเดิม(คลองหลอด) เชื่อมถนนจักรเพชรกับถนนมหาราช หน้าสถานีตำรวจ นครบาลพระราชวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ เท่าพระชนมวาน สร้างในมหามงคลวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ๓๑ พรรษา ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๓ อันเป็นปีแรก ที่ขึ้นครองราชย์ จึงพระราชทานนามสะพานว่า เจริญรัช ๓๑ สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง เดิมคือบริเวณวังท้ายวัด พระเชตุพน เป็นที่ประทับของพระราชโอรส ในรัชกาลที่ ๓ อยู่สืบต่อกันมาจน ถึง สมัยรัชกาลที่ ๖ จึงใช้เป็นสถานที่ราชการ ลักษณะของอาคารเป็นอาคารหลังเล็ก ชั้นเดียวกระทัดรัด อยู่ตรงทางสามแพร่ง ถนนมหาราช ถนนมหาไชยและถนนราชินี บรรจบกัน โรงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนสตรีที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวได้พระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ก่อตั้งโรงเรียนราชินีสมัยแรกโรงเรียนแบ่ง เป็น 2 ภาค ในภาคเรียนที่สองของปีแรกที่ก่อตั้งนั้น โรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ตึกริมแม่น้ำ เจ้าพระยาใกล้ปากคลองคูเมืองเดิม ก่อนจะย้ายมาที่ ณ สถานสุนันทาลัยซึ่งเป็นที่ อยู่ของกระทรวงธรรมการเดิมในปีพ.ศ.2449 วังจักรพงษ์ เดิมเป็นวังของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุล จักรพงษ์ ปัจจุบันเป็นที่พำนักของ ม.ร.ว.นริศรา จักรพงษ์ พระธิดา โดยรอบบริเวณ ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สงบสวยงาม เป็นที่ตั้งสำนักพิมพ์ และมูลนิธิโลกสีเขียว ร้านหนัง สือริเวอร์บุ๊ค วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เรียกกัน ทั่วไปว่าวัดโพธิ์ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยาชื่อว่า วัดโพธาราม ต่อมาในสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ถือเป็นวัดประจำรัชกาล ท่าโรงโม่ หรือท่าคลังสินค้าตั้งอยู่บริเวณท้ายพระบรมมหา ราชวัง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมการค้าภายในเดิม ที่บริเวณนี้เป็นโรงโม่หิน ภาย หลังได้สร้างเป็นท่าไม้แพจนกระทั้งมีการปรับปรุง เป็นท่าคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจ จุบัน ซึ่งใช้เป็นท่าเรือข้ามฟากไปยังท่าน้ำวัดอรุณ ราชวราราม การเดินทาง ถนนสายนี้มีเส้นทางรถประจำทางผ่านหลายสาย ได้แก่ ๓ ,๖, ๙, ๑๕, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๖๕, ๘๒, ปอ.๖, ปอ.๑๑, ปอ.๓๙ และ ปอ.พ.๘
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook