นิทรรศการ 10 ตัวพิมพ์ไทย กับสังคมไทย

นิทรรศการ 10 ตัวพิมพ์ไทย กับสังคมไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ย้อนหลังไปครั้ง 500 กว่าปีก่อน เมื่อกูเทนเบิร์ก (Gutenberg) ประดิษฐ์เทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นนั้น เขาคงมิได้คาดคิดว่า ตัวพิมพ์เล็กๆ ที่เรียงรายอยู่บนแท่นพิมพ์ของเขาจะแฝงไว้ด้วยพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ ทางวัฒนธรรม และ การเมือง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกตะวันตก ไปอย่างสิ้นเชิง สำหรับสังคมไทย เมื่อแรกที่เทคโนโลยีการพิมพ์ถูกนำเข้ามาใน สมัยรัชกาลที่ 3 และ 4 นั้น เป็นยุคที่ตัวพิมพ์ไทยกำลังก่อร่างสร้างตัว โดย ยังเป็นเพียงของประดิษฐ์แปลกใหม่ที่จำกัดการใช้อยู่ในวงแคบๆ เช่นในหมู่ มิชชันนารี และเจ้านาย จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ชนชั้นปกครองของ สยามก็ตระหนักถึงศักยภาพของการพิมพ์ในอันที่จะเป็นเครื่องมือรับใช้การ สร้างรัฐแบบรวมศูนย์ จึงเกิดการประมวลวิชาความรู้แล้วตรึงไว้เป็นมาตรฐาน ในรูปตัวพิมพ์ ตลอดจนใช้ตัวพิมพ์เป็นสื่อสร้างบรรทัดฐานของภาษาเขียน สำหรับคนทั่วประเทศ นี่คือยุคที่ตัวพิมพ์ถูกดึงให้เข้าร่วมในการสร้างชาติ10 ตัวพิมพ์ทีเราได้เลือกสรรมา เป็นตัวแทนของ 10 ยุคสังคมไทยนี้ คงพอจะช่วยแสดงให้เห็นว่าตัวพิมพ์มี พัฒนาการที่แนบแน่นกับทั้งความก้าวหน้า และความถดถอยในสังคมของเราบรรดา ตัวพิมพ์มิได้เพียงหล่อหลอมขึ้นมาจาก เทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง หากยังอัดแน่นไปด้วยความทรงจำทางสังคมยาวนานถึง 160 ปี อีกทั้งได้ส่งเสียงและสำเนียงต่างๆ กันตลอดมาบนเส้นทางของประวัติ ศาสตร์ไทยสมัยใหม่ 10 ตัวพิมพ์ที่จะนำมาแสดงในนิทรรศการ "10 ตัวพิมพ์กับ สังคมไทย"นั้นคุณจะได้ทำความรู้จักกับ 1. ตัวพิมพ์บรัดเล, 2.ตัวพิมพ์ ธงสยาม, 3. ตัวพิมพ์ฝรั่งเศส,4. ตัวพิมพ์โป้งไม้, 5. ตัวพิมพ์คณะช่าง, 6. ตัวพิมพ์โมโนไทป์, 7. ตัวพิมพ์มานพติก้า,8.ตัวพิมพ์ทอมไลท์, 9. ตัวพิมพ์ ดีบีเอราวัณ และ 10 ตัวพิมพ์ฟอนต์แห่งชาติสำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถ เข้าชมนิทรรศการนี้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ 19 - 31 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีวันหยุด ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook