สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโโลยีแห่งชาติ 2546

สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโโลยีแห่งชาติ 2546

สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโโลยีแห่งชาติ 2546
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546 4 กระทรวง คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กระทรวงพลังงาน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก ภายใต้แนวคิด เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 24 กันยายน5 ตุลาคม ศกนี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติปีนี้ เราจะได้พบกับ King Pavilion ผลงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย Future Society Zone สังคมแห่งอนาคตคือสังคมแห่งความรู้ ประกอบด้วย การวิจัยและพัฒนา / การถ่ายทอดเทคโนโลยี / การพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ระบบการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 4 เรื่อง โดยยึดหัวข้อปัจจัย 4 เป็นหลัก คือ 1. บ้านน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ 2. บางกอก เมืองแฟชั่น 3. ครัวของโลก และ 4. สมุนไพร องค์ความรู้แบบไทย นำเสนอภาพชีวิตในอนาคต อันเกิดจากการบูรณาการความรู้ด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นรูปแบบชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสะดวกสบาย จากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือกำลังจะมีในเร็วๆ นี้ ผ่านเรื่องราวสมมุติของคนหรือสังคมหนึ่ง เพื่อให้มองเห็นภาพได้ง่าย และรู้สึกหรือสัมผัสได้ โดยนำเสนอเรื่องราวผ่านสื่อรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า SHADOW INTERACTIVE ให้ผู้เข้าชมได้รับรู้ข้อมูลจากการปฏิสัมพันธ์กับเงาของตนเอง Robot Show ประกอบด้วย International Robot Pavilion ได้รับความร่วมมือจากสถาบันโตเกียวเทคโนโลยี จากประเทศญี่ปุ่น (สถาบัน IT) นำหุ่นยนต์มาแสดง 5 ตัว คือ 1. ACM-R3 Serpentine Snake Robot (on ground) : หุ่นยนต์งู 2. Titrus Dinosaur Type (show balance) : หุ่นยนต์ไดโนเสาร์ 2 ขา เพื่อแสดงการทรงตัวของสัตว์ 2 ขา 3. Roller Walker Type : หุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้อและสามารถปรับล้อมาเป็นขาเดินได้ 4. Rescue Robot : หุ่นยนต์ไต่พื้นผิวขรุขระ เพื่อใช้ในการสำรวจตามตึกถล่นหาผู้รอดชีวิต 5. Uni Robot / Planet Explorer : ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการสำรวจดวงดาวต่างๆ และ Aibo หุ่นยนต์สุนัข 2 ตัว Local Robot Pavilion ความภาคภูมิใจของคนไทย 1. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี/ FIBO นำหุ่นมาแสดง 2 ตัวคือ - Snake Robot เป็นหุ่นยนต์งูจำลองการเคลื่อนที่ของงู และสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ - Humanoid เป็นหุ่นยนต์ 2 ขา จำลองการเดินของมนุษย์ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำหุ่นมาแสดง 3 ตัวคือ - หุ่นจำลองแสดงการบังคับขับเคลื่อนจรวด - หุ่นทดสอบการทรงตัว (Parallel Robot) - หุ่น mobile ขนาดเล็ก ซึ่งมีลักษณะคล้ายรถ 4WD ใช้วิ่งบนทางขรุขระเพื่อการสำรวจ หรือเพื่อช่วยชีวิตคนจากตึกถล่ม - หุ่นจำลองเตะฟุตบอล อาจนำมาโชว์ประมาณ 2 3 วันแรกของงาน 3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระนครเหนือ นำหุ่นมาแสดง 4 ตัวคือ - Yuppicide : หุ่นเตะตระกร้อ - Robocup : หุ่นเตะฟุตบอล - Catapult : หุ่นยนต์เรียงกล่องสูง (นั่งบังคับ) - Micee@NB : หุ่นเก็บลูกเทนนิส จุดเด่นอีกส่วนหนึ่งที่จะนำเสนอในงานนี้ คือ การจำลองบรรยากาศทวีปแอนตาร์คติกา พร้อมทั้งจัดแสดงอุกาบาต ชิ้นแร่ และน้ำแข็งขั้วโลกใต้ของจริงที่มีอายุ 350,000 ปี ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก National Institute of Polar Research (NIPR) ประเทศญี่ปุ่น ที่ไปสร้างสถานีวิจัย Syowa Station ที่ขั้วโลกใต้ และในปีนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ของไทยเข้าร่วมในโครงการสำรวจขั้วโลกใต้ด้วย โดยจะประกาศผลการคัดเลือกในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2546 นี้ และจะจัด Teleconference สัมภาษณ์นักวิจัยที่กำลังปฏิบัติการอยู่ที่ขั้วโลกใต้ ในวันที่ 24 25 กันยายน นอกจากนี้ ยังมี การสัมมนาวิชาการงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2546 ระหว่างวันที่ 25 - 30 กันยายน ณ อาคาร Impact Convention Center ซึ่งจะมีการบรรยาย อภิปราย และสัมมนาในหัวข้อต่างๆ กว่า 40 เรื่อง อาทิ นาโนเทคโนโลยี: เทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋วสำหรับประชาชน, โลกของหุ่นยนต์วันนี้และในอนาคต, อาหารปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีอิเล็กตรอนบีม (E-Beam), การใช้โครงการวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นความสนใจของเยาวชนในด้านอวกาศและดาวเทียม เป็นต้น โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: คุณค่าแห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในวันที่ 25 กันยายนด้วย แต่ก่อนที่จะไปร่วมงาน เรามาทำความรู้จักกับ สัญลักษณ์ของงานนี้กันก่อนดีกว่า ในส่วนของสีเหลือง เป็นการประยุกต์เครื่องหมายอัศเจรีย์ให้มีชีวิตชีวา เชิญชวนให้ประชาชนคนไทยหันมาสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ให้คุณประโยชน์มากกว่าที่คิด วงแหวนลายริ้วสีธงชาติไทย สื่อความหมายถึง ประเทศไทย คนไทย ลูกโลก แทนความหมายของ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้โลกเล็กลง อีกทั้งยังสามารถสื่อความหมายถึงความสามารถ และภูมิปัญญาไทยที่ไม่เป็นรองใครในโลก หลอดแก้ว หนึ่งในเครื่องมือที่สื่อให้คนทั่วไปรับรู้ และนึกถึงความเป็นวิทยาศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนไทยจะหลั่งไหลมาชมงานนี้กันอย่างคับคั่ง แต่สำหรับใครที่อยู่ไกล ไม่สามารถมาชมงานที่กรุงเทพฯ ได้ ติดตาม เอ็มเว็บวันว่าง ให้ดี เราจะไปเก็บภาพบรรยากกาศมาให้ชมกันอย่างแน่นอน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook