ประเพณีสงกรานต์พระปะแดง

ประเพณีสงกรานต์พระปะแดง

ประเพณีสงกรานต์พระปะแดง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประเพณีสงกรานต์พระประแดง 

กำหนดจัดงาน  วันที่ 21 - 23 เมษายน 2549

 

ภูมิหลัง/ความเป็นมา/วัตถุประสงค์
      เมืองพระประแดง หรือเมืองนครเขื่อนขันธ์หรือที่ชาวมอญเรียกว่า เมืองปากลัด เป็นเมืองเก่าแก่ มีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เนื่องจากมีพื้นที่เสมือนเมืองหน้าด่านของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ได้ทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ และได้ย้ายครอบครัวมอญจากเมืองสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ ฉะนั้น ประเพณีและศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่จึงเกี่ยวกับชาวมอญทั้งสิ้น

 

กิจกรรมในงาน
     การสรงน้ำพระพุทธรูปในมณฑปวัดโปรดเกตุเชษฐาราม การปล่อยนกปล่อยปลา โดยมีตำนานอยู่ 2 ประการ คือ การช่วยชีวิตปลาที่ตกคลักอยู่ตามหนองบึงที่กำลังแห้งในฤดูแล้ง ชาวบ้านจะช่วยกับจับปลาไปปล่อยในที่มีน้ำ เพื่อให้พ้นความตาย และเป็นการรักษาพันธุ์ปลาในทางอ้อมด้วย การแห่ปลาของชาวพระประแดง ทำกันทุกปีระหว่างเทศกาลสงกรานต์ มีสาวรามัญร่วมขบวนแห่ นำปลาไปปล่อยในที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมเป็นปีๆ ไป ก่อนการแห่นกแห่ปลา ในขบวนแห่ก็มีการละเล่นสลับ ได้แก่ แตรวง ทะแยมอญ เถิดเทิง ร่วมขบวนไปเป็นที่สนุกสนานรื่นเริง เวลามักเป็นเวลาประมาณ 15.00 น. และตอนกลางคืนยังมีการเล่นสะบ้า อันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของชาวรามัญ การเล่นสะบ้ามี 2 ประเภท คือ สะบ้าประเภทเล่นกลางวัน เรียกว่า ทอยสะบ้าหัวช้าง และการเล่นสะบ้าบ่อนในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการประกวดนางสงกรานต์ และที่พิเศษกว่าการจัดงานสงกรานต์ที่อื่นๆ ที่ปัจจุบันนับเป็นเอกลักษณ์ของสงกรานต์เมืองพระประแดง คือการประกวดหนุ่มลอยชาย ที่จะมีการประกวดในคืนวันที่ 22 เมษายน 2549 ด้วย 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  เทศบาลเมืองพระประแดง โทร 0 2463 4841 ต่อ 129, 130

ข้อมูลจาก www.songkran.net

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook