วัง บางขุนพรหม

วัง บางขุนพรหม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นับแต่อดีตนั้น กษัตริย์ไทย นิยมสร้างวังให้กับ พระราชโอรส และ พระราชธิดามานานแล้ว แม้แต่ในยุค รัตนโกสินทร์ก็เช่นกัน กษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่งที่โปรดให้สร้างวังพระราชทานแด่ราชบุตรและราชธิดา มากที่สุด เห็นจะได้แก่ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นี่เอง วัง บางขุนพรหมนี้ เป็นวังแห่งหนึ่งที่ พระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้สร้างรอรับ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ พระราชโอรสองค์ที่ 33 ในสมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี หลังสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารที่เยอรมัน วังใหม่นี้ใช้เวลาในการสร้างนานพอสมควร เนื่องจากติดปัญหาทางศาสนสถาน คือ วัดสารพัดช่าง ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณนั้นมาช้านาน จวบจนกระทั่ง เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2446 จึงทรงขอพระราชทาน จากพระราชบิดา มาดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จเอง และ ตำหนักแรกที่สร้างเสร็จก่อนเป็นตำหนักไม้ 3 ชั้นที่เรียกกันว่า ตำหนักหอ กลับกลายมาเป็นตำหนักที่พระองค์ทรงใช้เพื่ออภิเษกสมรสด้วย เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ ซึ่งภายหลังได้รับพระราชทานยศเป็น กรมพระนครสวรรค์พินิต ทรงประทับอยู่ ณ ตำหนักนี้ล่วงมาจนถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น คณะราษฎร์ได้เนรเทศ พระองค์และทายาทออกนอกประเทศ วัง บางขุนพรหมนี้ จึงตกเป็นของคณะราษฎร์ ซึ่งได้ใช้วังเป็นที่ทำการชั่วคราวของ กรมยุทธการทหารบก จวบจนกระทั่งเข้ายุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ส่วนกรมพระนครสวรรค์พินิตนั้น ถูกเนรเทศไปอยู่ ประเทศอินโดนีเซีย และเสด็จสวรรคตที่นั่นก่อน ที่ราชสกุลที่เหลือจะได้รับอนุญาติให้กลับสู่ไทยในปี พ.ศ.2487 แต่กระนั้นก็ไม่มี สมาชิกองค์ใดเลยที่กลับมาอยู่ยัง วังเดิม นอกจาก ม.จ.ประสงค์สม ซึ่งเป็นเจ้าน้องของพระชายาใน เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ เพียงองค์เดียวที่กลับมาพำนักที่นี่ เพื่อทรงงานในฐานะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นับแต่นั้นมา วัง บางขุนพรหม นี้ก็ตกเป็นของ ธนาคารแห่งประเทศไทย จวบจนถึงทุกวันนี้

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook