พระที่นั่ง อนันตสมาคม

พระที่นั่ง อนันตสมาคม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างใน รัชสมัย : รัชกาลที่ 5 ณ. บริเวณใจกลางมหานครกรุงเทพ มีจัตุรัสที่ขึ้นหน้าขึ้นตา แห่งหนึ่งที่ ชาวต่างชาติหลายคนได้ยลมาแล้วมากมาย เพราะ ที่ที่ว่านี้ล้วนแล้วแต่มี สถานที่ที่เป็นจุดสำคัญ ตั้งอยู่ในละแวกเดียวกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สวนสัตว์ดุสิต พระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 สวนอัมพร หรือแม้แต่พระราชวังมโหฬารที่ชื่อ พระที่นั่ง อนันตสมาคม พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นหนึ่งในพระที่นั่งที่สร้างขึ้นใน รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชวังที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้สร้างขึ้นตามแบบตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น และ ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจากที่รัชกาลที่ 5 เสด็จกลับจาก ประพาสยุโรป พระองค์จะ ทรงโปรดงานสถาปัตยกรรม แบบ อิตาเลี่ยนเป็นพิเศษ และ ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ ก็ถูกสร้างขึ้นตามแบบ เรอเนสซองท์ ซึ่งเป็นแบบที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดปราน เช่นเดียวกันความงามของพระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ แม้ว่าในเบื้องแรกที่ในหลวงรัชกาลที่ 5 จะทรงมีพระดำริให้สร้างคล้ายกับ มหาวิหาร ซานปิเอโตร (San Pietro)ที่ กรุง วาติกัน (Vatican City) แต่ท้ายที่สุดแบบของพระที่นั่งที่สถาปนิกอิตาเลี่ยน ร่างไว้กลับไป คล้ายวิหาร ซูแปร์การ์ (Basilica di Superga) ที่อยู่ทางตอนเหนือของ เขต ตูริน (Turin) ส่วนหินอ่อนอันเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของอาคารก็นำเข้าโดยตรงมาจาก เขต การาร่าร์ (Carrara) ในแคว้น ตุสกานี่ (Tuscany) อันเป็นแคว้นที่มีหินอ่อนอันเลืองชื่อที่ศิลปินระดับโลกอย่าง มิเกลันเจโล (Michelangelo) เลือกหินอ่อนที่นี่มาแกะสลักเป็น ดาวิด (David) มาแล้ว จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า พระที่นั่งอนันต์ฯ เป็น พระที่นั่ง ที่ดูเหมือนจะยุ่งยากซับซ้อนกว่าพระที่นั่งอื่นๆหรือพระราชวังอื่นๆ ด้วยเหตุที่มาจากการคัดสรร อย่างตั้งใจนั้นเอง ดังนั้นพระที่นั่งอนันต์ จึงเป็นที่เดียวในประเทศไทย ที่อาคารมี ยอดโดมแบบเรอเนสซองพระที่นั่งอันวิจิตรตระการตานี้ มีเหตุผลมากพอที่จะทำให้ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี พระดำริห์ให้สร้าง ก็เพื่อใช้เป็นท้องพระโรงว่าราชการในพระราชวังดุสิต เป็นที่รับรองคณะทูตานุทูต และ แขกเมืองต่างๆ และ อีกประการหนึ่งคือ พระองค์ใช้พระที่นั่งอนันต์นี้เป็นที่เฉลิมฉลองการครองราชอันยาวนานที่สุด ในราชวงศ์จักรี ที่ทรงครองนานร่วม 40 ปี ปัจจุบันแม้ว่าพระที่นั่งอนันตสมาคมจะไม่ได้เป็น สถานที่สำหรับว่าราชการงานเมืองของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่พระที่นั่งนี้ก็ยังคงเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบ พระราชพิธีสำคัญสำคัญ อยู่เสมอ โดยเฉพาะพระราชพิธีที่มีสวนสนาม พระที่นั่งนี้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าชมได้เฉพาะ วันนักขัตฤกษ์ที่สำคัญเท่านั้น

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook