เทวสถาน-โบสถ์พราหมณ์

เทวสถาน-โบสถ์พราหมณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : 8 เมษายน 2327(รัชกาลที่ 1)

เป็นที่รู้กันว่าศาสนาฮินดู เป็นศาสนาที่อยู่คู่สยามประเทศมาช้านาน ในสมัยราชวงศ์จักรี ก็เช่นกัน ที่พระปฐมกษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ทรงรักษาประเพณีเดิมของฮินดูไว้มากพอสมควร เพราะหลังจากที่ทรงตั้งพระนครมาได้ 2 ปี พระองค์ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พราหมณ์จาก จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นมาประกอบพระราชพิธีต่างๆ ขึ้นที่กรุงเทพฯ พระราชพิธีที่สำคัญๆ ในสมัยนั้นได้แก่ พระราชพิธีโล้ชิงช้า เป็นต้น พระองค์ จึงทรงดำริให้จัดสร้างโบสถ์เทวสถาน-พราหมณ์ขึ้นพร้อมๆ กับเสาชิงช้า เพื่อให้เป็นที่พำนักพักอยู่ของนักบวชพราหมณ์ และ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาขึ้นในครากัน เทวสถานแห่งนี้เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่ถือ เทพเจ้าสูงสุด 3 องค์คือ พระพรหม พระอิศวร และ พระนารายณ์ จากหน้าประตูโบสถ์ มองตรงไปจะพบกับเทวรูปของ พระพรหมณ์ พระผู้สร้างที่ชาวไทยและฮินดู นิยมไปกราบไหว้ของพรเป็นอันมาก ด้านซ้ายมือเป็นเทวรูปของ พระ คเณศวร ซึ่งเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการ เทวรูปพระคเณศวรนี้ มีการสันนิษฐานว่าเป็นเทวรูปพระคเนศวร ที่เก่าแก่ที่สุด ในประเทศไทย ลึกเข้าไปยังตัวโบสถ์ จะมีเทวประธานเป็น พระศิวะ ปางประทานพร ตั้งไว้พร้อมเทวรูปองค์อื่นๆ แม้ว่าเทวสถานนี้จะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กับเสาชิงช้า และเมื่อหมดยุคของพิธีโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่เทวสถานพราหมณ์แห่งนี้ก็ยังเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้ามาสักการะได้ตามปกติเหมือนเมื่อครั้งรัชกาลที่ 1

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook