พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท

พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในบรรดาพระที่นั่งทั้งหลาย ภายใน พระบรมมหาราชวังนี้ พระที่นั่งแรกสุด ที่พระปฐมบรมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชดำริ ให้สร้างก่อนเป็นอันดับแรกนั้น คือ พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาทนั้น เดิมชื่อว่า พระที่นั่ง อมรินทราภิเษก มาในปี พ.ศ. 2332 เกิดเพลิงไหม้ขึ้น ในพระที่นั่ง รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นใหม่พร้อม พระราชทานนามเสียใหม่ ว่า พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท เป็นพระที่นั่ง องค์ประธานของพระที่นั่งทั้งหมู่ ที่พระปฐมกษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จักรี ทรงโปรดให้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่างๆ รวมไปถึง การจัดให้เป็นที่พัก ของราชทูต และ ข้าราชการที่มารอเฝ้า อีกด้วยเมื่อถึงรัชสมัย รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดให้ พระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท เป็นสถานที่ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ครั้น เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงมีพระชันษาครบ 1 รอบ พระบรมราชชนกนาถ จึงโปรดให้พระราชโอรส ทรงพระราชพิธีโสกันต์ ณ พระที่นั่งนี้ด้วย พุทธศักราช 2408 เป็นปีที่ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงพระชันษาถึงกำหนดโสกันต์ รัชกาลที่ 4 ทรงจัดขบวนแห่ พระราชโอรสเสด็จมาสดับพระพุทธมนต์ที่พระที่นั่งดุสิตฯ เป็นเวลา 3 วัน โดยทรงโปรดให้ ทรงพระราชยานไปยังสรง ณ สระอโนดาตที่ เขาไกรลาศ จากนั้น ก็เสด็จทรง พระเครื่องมาลาแล้ว จึงมีพิธีสมมติว่า ขึ้นไปเฝ้าพระอิศวร แต่เดิมนั้น พราหมณ์ผู้ทำพิธี จะเป็นผู้ถูกสมมติ ให้เป็นพระอิศวร แต่ในครานั้น สมเด็จพระราชบิดา ทรงรับสมมติเป็น พระอิศวรประกอบพิธีโสกัณฑ์ ให้พระราชกุมารเอง เมื่อพิธีเสร็จสิ้น พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ก็โปรดให้แห่ไป สมโภชน์ที่ พระที่นั่งดุสิตฯ ต่ออีก 3 วัน โดยโปรดให้ ทรงพระที่นั่งพุดตาน และ มีกลองชนะทองเงินแห่ เหมือน ขบวนเสด็จพระยุหยาตรา พระที่นั่ง ดุสิตฯ นี้ เป็นพระที่นั่งเพียงแห่งเดียวใน พระบรมมหาราชวังที่ใช้เป็น ที่ประดิษฐานพระบรมศพของ พระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ มาในรัชกาลที่ 9 นั้น ในหลวงของเราโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ พระสยามเทวาธิราช มาประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่ง บุษบกมาลา ซึ่งอยู่ภายใน พระที่นั่งดุสิตฯนี้เอง โสกันต์ แปลว่า โกนจุกสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook