พระที่นั่ง อมรินทราวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน

พระที่นั่ง อมรินทราวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในพระบรมมหาราชวังนั้น นอกจากพระที่นั่ง ดุสิต ที่เป็นสัญลักษณ์ของ พระที่นั่งแห่งพระราชพิธี พระบรมศพแล้ว มีอยู่พระที่นั่งหนึ่งที่เป็น สัญลักษณ์ของการขึ้นสู่ ราชสมบัติ แห่ง กษัตริย์ ในราชวงศ์จักรี พระที่นั่งที่ว่านี้ก็คือ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ตามผังของ พระบรมมหาราชวังนั้น พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยฯ ตั้งอยู่เหนือพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ และ อยู่ข้าง พระที่นั่ง ดุสิดาภิรมย์ แต่เดิมนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างตามแบบพระราชวังเดิม ในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งในสมัยนั้น ท้องพระโรงเป็นตึกแบบเปิดโล่ง ไม่มีฝา และ พระที่นั่งเป็นทรงโค้ง พอล่วงเข้าสู่ ตอนกลางของราชวงศ์ รัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 โปรดให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างฝากั้นพร้อมหลังคาสูง และรัชกาลที่ 6 ก็มาโปรดฯ ให้เติมมุขเพิ่มทางด้าน ทิศตะวันตก และ ตะวันออกให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้ให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ใช้เป็นที่ประทับในขณะที่รอเข้าเฝ้าได้และแม้ว่า พระที่นั่ง อมรินทร์ฯ นี้ จะเป็น พระที่นั่งที่ กษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ทุกพระองค์ ใช้เป็นที่ประทับใน พิธีพระบรมราชาภิเษกก็ตาม แต่พระที่นั่งนี้ ก็เป็นที่พำนักตลอดกาล ของ พระปฐมกษัตริย์ ของราชวงศ์นี้ด้วย เพราะ พระบรมอัฐิ ของพระองค์นั้น ถูกประดิษฐาน ณ. หอพระธาตุมณเฑียร เคียงพระบรมอัฐิ ของ สมเด็จพระอมรินทรา บรมราชินีใน รัชกาลที่ 1 รวมทั้ง พระบรมอัฐิของในหลวง รัชกาลที่ 2 และ 3 พร้อมทั้งพระบรมอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชินีในทั้ง 2 พระองค์ ก็ถูกวางไว้ ณ. หอพระธาตุมณเทียร ในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยฯ นี้ทั้งหมดเช่นกันสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook