วัด มงคลบพิตร

วัด มงคลบพิตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กรุงเก่าของเรานั้น โดยทั่วไปแล้ว ทัศนียภาพของเมือง มักจะรายล้อมไปด้วย ซากโบราณสถาน และ โบราณวัตถุมากมาย และ ด้วยเหตุผลที่เป็นเช่นนี้เอง ที่ทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งดูไปแล้วคล้ายกับ ประเทศอิตาลี ประเทศที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งอารยธรรมเก่าแทบทั้งสิ้น แต่ถึงกระนั้น อยุธยาก็ใช่จะไม่มีโบราณสถานที่มิถูกทำลายจากพม่า ยังมีวัดโบราณบางวัด ที่ดูเหมือนจะคงความสมบูรณ์ไว้ได้ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น วัด มเหยงค์ วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดมงคลบพิตร เป็นต้น วัด มงคลบพิตรนั้น หากเรามองผ่านเฉพาะหน้าวัดอย่างเผินๆ โดยไม่เข้าไปข้างในเสียก่อน อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็น วัดสร้างใหม่ได้ เพราะ อาคารภายนอกนั้นดูราวกับ วัดเพิ่งสร้างนั้น แท้จริงแล้ว วัดนี้มีอายุมากกว่า กรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก จากหลักฐานพระราชพงศาวดารเดิมนั้น วัดมงคลบพิตรเริ่มวางเสา สร้างในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ราวพุทธศักราชที่ 2153 โดยที่พระองค์โปรดเกล้าฯให้ชัก พระมงคลบพิตรที่ กรมศิลปากรสันนิษฐานว่ามีการสร้างมาก่อนหน้านี้ ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช มาประดิษฐานที่วัดนี้ แล้วก่อมณฑปครอบมิดไว้ จากนั้นในอีก 2 ปีให้หลัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ก็รับสั่งให้สร้างโคกหน้าวิหารไว้ใช้สำหรับถวายพระเพลิง มาใน สมัยพระเจ้าเสือ เกิดภัยธรรมชาติคือ ฟ้าผ่ายอดมณฑป จนเศียรพระพุทธรูปหักโค่นลง พระองค์จึงโปรดฯให้ปรับเปลี่ยนมณฑปเสียใหม่ ให้เป็นวิหารจากนั้นวัดนี้ ก็มีการบูรณะอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนกระทั่งเข้ายุคเสียกรุง และ วัดนี้ก็เป็นเช่นวัดอื่นๆ ที่ถูกเผาวอด จนกระทั่งล่วงเข้าสู่ สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ในปีพ.ศ.2463 มีหน่วยงานจากทั้งรัฐ และ เอกชนรวมทั้งจากรัฐบาลพม่าที่ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อใช้ในการปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปมงคลบพิตร และ วิหารอารามทั้งหมดของวัด โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นฝ่ายออกแบบ และ กรมโยธาเทศบาล รับหน้าที่ปฏิสังขรณ์ วัดนี้จึงออกมาเป็นอย่างที่เราพบเห็นดังในปัจจุบัน สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook