วัด ราชบูรณะ

วัด ราชบูรณะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) คุณเคยได้ยินนิทานเรื่อง ตาอินกับตานา บ้างหรือไม่ เราเชื่อว่าคุณคงจะเคยได้ยิน และ สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผู้เขียนอดนึกถึง นิทานพื้นบ้านเรื่องนี้ไม่ได้ เพียงแต่เรื่องราวที่จะเล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องของ ตาสีตาสาที่ไหน หากแต่เป็นเรื่องราวของ หน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ใน สมัยอยุธยาตอนต้น ราชวงศ์สุพรรณบุรี เรื่องราวมีอยู่ว่า ในสมัยพระบาทสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1 (พระนครอินทร์) กษัตริย์ผู้ทรงตั้งต้นเป็น กษัตริย์อโยธยาลำดับที่ 6 พร้อมทั้งตั้งราชวงศ์ของพระองค์เองขึ้นใหม่ ว่า ราชวงศ์สุพรรณบุรีนั้น พระองค์มี พระราชโอรสอยู่ 3 พระองค์ คือ เจ้าอ้าย เจ้ายี่ และ เจ้าสาม พระนครอินทร์นั้น โปรดให้พระราชโอรสที่เจริญวัยกันหมดแล้ว ทั้ง 3 พระองค์แบ่งกันไปครองหัวเมืองต่างๆ คือ เจ้าอ้ายไปครองเมือง สุพรรณบุรี เจ้ายี่ครองเมือง แพรกศรีราชา และ เจ้าสามองค์เล็กให้ครองเมือง ชัยนาท ซึ่งพระราชโอรสทั้ง 3 ต่างก็รับสนองพระมราชโองการไปครองหัวเมือง ดั่งที่ พระราชบิดาทรงมอบหมายจวบจนกระทั่งเข้าสู่ พ.ศ. 1967 สมเด็จพระอินทราชาธิราชฯ เสด็จสวรรคตลง พระราชโอรสองค์โต และ องค์กลาง เมื่อทราบข่าวก็พากันกลับอโยธยา หมายจะชิงราชสมบัติ ต่อจากพระราชบิดา พระราชโอรสทั้ง 2 พระองค์จึงได้มีการยกทัพปะทะกันขึ้นที่ เชิงสะพานป่าถ่าน ทรงพระแสงของ้าวของกันและกัน จนพระศอขาดสิ้นพระทัยทั้ง 2 พระองค์ ฝ่ายพระราชบุตรองค์เล็กนั้นเมื่อทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของทั้ง พระราชบิดา และ พระเชษฐาทั้ง 2 แล้ว จึงได้ย้ายทัพจากเมือง ชัยนาท กลับสู่พระนครแล้วขึ้นครองราชสมบัติ แทนพระราชบิดา หลังจากเสร็จพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว พระองค์จึงจัดให้มีการถวายพระเพลิงพระศพของพระเชษฐาทั้ง 2 ขึ้น ณ ที่ดินเปล่าๆ แห่งหนึ่ง และ ที่สถานที่นี้เองที่พระองค์ทรงอุทิศส่วนกุศล แด่พระเชษฐาด้วยการสร้าง พระปรางค์ และ พระวิหารถวาย พร้อมทั้งถวายพระนามให้เป็นวัดใหม่ว่า วัดราชบูรณะ ดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าที่ 2 นั้น พระราชพงศาวดารของ พระเจ้าสามพระยานั้น เปรียบได้กับเรื่องราวของ ตาอินกับตานา และ ตาอยู่ หรือไม่ อย่างไรก็ดี ภายหลังจากนั้นอีกหลายร้อยปี มีการขุดเจอสมบัติโบราณ ที่ใต้ปรางค์แห่งนี้ ที่พบมากเป็นพิเศษคือ พระเครื่องเนื้อต่างๆ แก้วแหวนเงินทอง และ ที่น่าอัศจรรย์ไปกว่านั้นคือขุดพบโต๊ะสัมฤทธิ์ใต้ปรางค์ ซึ่งอยู่ลึกลงไปจากฐานแรกๆ ที่ขุดพบแก้วแหวนเงินทองอีกด้วย ปัจจุบันทรัพย์สมบัติเหล่านี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สามพระยา ในอยุธยานี้เองสิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล LEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook