ปราสาท พระเทพบิดร

ปราสาท พระเทพบิดร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 1 นับตั้งแต่พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้ย้ายพระนครจากกรุงธนบุรีมาตั้งยังอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา มาจนกระทั่งสร้างพระบรมมหาราชวังและอารามหลวงภายในแห่งใหม่พร้อมกันนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกก็ทรงดำริที่จะจัดระบบของพระนครใหม่ให้คล้ายคลึงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาให้มากที่สุด ครั้นพอถึงคราวสร้างพระที่นั่งต่างๆ ที่พึงจะมีในพระบรมมหาราชวังแล้ว รัชกาลที่ 1 จึงได้สร้างพระที่นั่งเหล่านี้ให้เป็นไปตามผังเดิมของพระราชวังโบราณรวมทั้งรื้อฟื้นพระราชพิธีที่สำคัญๆ ตามแบบอยุธยาไว้ด้วย อาทิพิธีโล้ชิงช้า พิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา นั้นเป็นสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ในสมัยอยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ แต่ก่อนที่จะมีพิธีถือน้ำ ฯ นี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไปสักการะพระเทพบิดรเสียก่อนแล้วจึงจะเริ่มพิธีถือน้ำได้พระเทพบิดรนี้ จากจดหมายเหตุกรุงเก่าเรียกว่า พระเชษฐบิดร เป็นเทพยดาที่เชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางทัหลายต้องไปบูชาพระเทพบิดรที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ก่อนจะเคลื่อนไปทำพิธีถือน้ำฯ พระเทพบิดรองค์นี้กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่ารูปลักษณ์เดิมขององค์พระน่าจะเป็นรูปจำลองของนารายณ์อวตาร และ พระเทพบิดรนี้ก็ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีสรรเพชญ์จนกระทั่งกรุงแตกเมื่อคราวเสียกรุงในครั้งที่ 2 ส่งผลให้องค์พระเหลือเพียงซาก ครั้นมาถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์ก็โปรดให้อัญเชิญซากพระฯมาปฏิสังขรณ์แล้วประดิษฐานไว้ที่ซุ้มปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา จวบจนกระทั่งพระยาจักรีปราบดาภิเษก ตั้งราชวงศ์ใหม่แล้วย้ายราชธานีมายังฝั่งบางกอก พระองค์จึงดำริที่จะอัญเชิญพระเทพบิดรมาไว้ยังพระนครใหม่ เมื่อดำริเช่นนี้แล้ว พระองค์จึงได้รับสั่งให้สร้างพระวิหารขึ้นในบริเวณพระบรมมหาราชวังเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระเทพบิดรนี้โดยเฉพาะ เมื่อพระวิหารสร้างจนแล้วเสร็จ พระองค์ก็ทรงพระราชทานนามว่า ปราสาทพระเทพบิดร เพื่อไว้เป็นที่ประดิษฐานพระเทพบิดรไว้ให้เหล่าขุนนางได้บูชาก่อนเข้าพิธีถือน้ำฯ ดังที่เคยเป็นมาในยุคกรุงเก่า พระเทพบิดรมาประดิษฐานที่วิหารนี้อยู่จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์พระก็อันตรธานไปจากวิหารนี้ และ กรมพระยาดำรงค์ก็ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า รัชกาลที่ 3 น่าจะโปรดให้รื้อพระเทพบิดร และ หอนากเดิมที่ตั้งใกล้ๆกันนั้นออก แล้วสร้างเป็นวิหารใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมเพื่อใช้เป็นที่เก็บอัฐิของเจ้านาย และ หลังจากที่รื้อวิหารทั้ง 2 ออกแล้ว พระองค์จึงจำต้องย้ายองค์พระเทพบิดรและพระนากไปประดิษฐานไว้ที่วิหารพระธาตุแทน พระเทพบิดรจึงได้ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารพระธาตุมาจนถึงทุกวันนี้สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุลทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook